วัดทรงศิลา

วัดทรงศิลา พระอารามหลวง
แผนที่
ชื่อสามัญวัดทรงศิลา พระอารามหลวง
ที่ตั้ง179 ถนนราชทัณฑ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
ประเภทพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ
นิกายมหานิกาย
พระประธานหลวงพ่อโต พระประธานในพระอุโบสถ
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อโต
เจ้าอาวาสพระวัชรชัยโสภณ (ธงชาติ สิริจนฺโท)
เวลาทำการทุกวัน 05.00 น. - 20.00 น.
กิจกรรมทำบุญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดทรงศิลา พระอารามหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวง เมื่อ 27 ธันวาคม 2525[1]

ที่ตั้งวัด

ตั้งอยู่เลขที่ 179 ถนนราชทัณฑ์ หมู่ที่ 1 บ้านหินตั้ง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ รหัสไปรษณีย์ 36000 โทรศัพท์ 0 4482 1844, 0 4481 2999, 08 1660 4792 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ทั้งหมด 8 ไร่ 2 งาน 70 ตารางวา

ประวัติการก่อตั้ง

วัดทรงศิลา พระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่บ้านหินตั้ง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ เป็นวัดราษฎร์มาแต่เดิม จากประวัติจังหวัดชัยภูมิ และตามพงศาวดารกรุงเทพฯ จ.ศ. 1225 กล่าวถึงบ้านหินตั้งไว้ว่า "...เมื่อ พ.ศ. 2406 (จ.ศ.1225) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงวิเศษภักดี (ที) บุตรพระยาภักดีชุมพล (แล) เป็นพระภักดีชุมพล ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองชัยภูมิ ให้หลวงยกกระบัตร (บุญจันทร์) เป็นหลวงปลัด ให้หลวงขจรนพคุณ เป็นหลวงยกกระบัตร ประกาศให้ราษฎรที่อพยพโยกย้ายไปประกอบอาชีพในถิ่นต่างๆ กลับคืนสู่ถิ่นเดิม..."

ในสมัยพระภักดีชุมพล (ที) เป็นเจ้าเมืองชัยภูมินั้น พิจารณาเห็นได้ว่า บ้านหินตั้ง (ที่ตั้งเมืองชัยภูมิปัจจุบัน) เป็นที่ทำเลกว้างขวางมีชัยภูมิดี จึงได้ย้ายเมืองจากโนนปอปิด (บริเวณปรางค์กู่กับหนองบัวเมืองเก่า) มาตั้งเมืองใหม่ที่บ้านหินตั้ง และอยู่มาจนทุกวันนี้ พระภักดีชุมพล (ที) รับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความเรียบร้อยเป็นเวลาได้ 12 ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อถือตามคตินี้ ถือได้ว่าบ้านหินตั้งมีมานานแล้ว วัดทรงศิลา เดิมเรียกชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้านว่า วัดหินตั้ง สันนิษฐานว่าได้สร้างในสมัยของพระภักดีชุมพล (ที) ในระหว่างปี พ.ศ. 2402 - 2418 ต่อมา พ.ศ. 2440 พระหฤทัย (บัว) เจ้าเมืองชัยภูมิ ได้เปลี่ยนชื่อวัดหินตั้งเป็นภาษาทันสมัยว่า วัดทรงศิลา ซึ่งแปลตามตัวอักษร ก็แปลว่า "หินตั้ง" นั่นเอง นี้เป็นการสันนิษฐานจากเรื่องราวในพงศาวดาร และปัจจุบันก็ได้ยึดเอาปี พ.ศ. 2414 เป็นปี พ.ศ. ตั้งวัดทรงศิลา เพื่อประกอบการขึ้นทะเบียนวัดสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ [2][3]

ศาสนวัตถุที่สำคัญภายในวัด

หลวงพ่อโต

พระประธานภายในพระอุโบสถ มีขนาดหน้าตักกว้าง 150 นิ้ว สูง 200 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยปูนซีเมนต์ลงรักปิดทอง ก่อสร้างระหว่างปี พ.ศ. 2467 - 2516 เมื่อพระราชชัยมุนี (พรม ญาณวโร) รื้อถอนพระอุโบสถหลังเดิมเพื่อก่อสร้างขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ. 2516 นั้น ชาวชัยภูมิได้ชะลอไปประดิษฐานไว้หน้าพระอุโบสถเป็นการชั่วคราวก่อน ต่อเมื่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่เสร็จแล้ว จึงอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ภายในพระอุโบสถตามเดิม

พระอุโบสถ

พระอุโบสถหลังใหม่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2516 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2522 กว้าง 7 เมตร ยาว 10 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องลอนคู่

พระวิหาร

มณฑปครอบรอยพระพุทธบาท

ศาลาการเปรียญ

เป็นอาคารไม้เนื้อแข็งทั้งหลัง หลังคามุงกรเบื้องเคลือบ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2503

หอพระสุริยมุนี

ลำดับเจ้าอาวาส

พ.ศ. (ไม่ทราบ พ.ศ.) - พ.ศ. 2438 พระอาจารย์โห

พ.ศ. 2438 - พ.ศ. 2458 พระครูจรูญนิโรธกิจ (จูม)

พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2461 พระปลัดคลี่

พ.ศ. 2461 - พ.ศ. 2468 พระครูวิจิตรนิโรธคุณ (โพธิ์)

พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2480 พระครูวิจิตรนิโรธคุณ (โชติ)

พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2484 พระมหาศิริ เขมโก

พ.ศ. 2484 - พ.ศ. 2497 พระครูวิจิตรนิโรธคุณ (พระมหาจันทร์)

พ.ศ. 2497 - พ.ศ. 2519 พระราชชัยมุนี (พรม ญาณวโร)

พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2537 พระราชพรหมจริยคุณ (ชาลี อตฺถกาโม)[4]

พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2553 พระสิทธิชัยมุนี (ประสิทธิ วรคุโณ)[5]

พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน พระวัชรชัยโสภณ (ธงชาติ สิริจนฺโท)[6][7]

หมายเหตุ พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2542 พระสิทธิชัยมุนี (ประสิทธิ วรคุโณ) เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส

อ้างอิง

  1. "กรมศิลปากรถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี พ.ศ. 2562 ณ วัดทรงศิลา จังหวัดชัยภูมิ". ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน.
  2. https://www.m-culture.go.th/chaiyaphum/ewt_news.php?nid=643&filename=index[ลิงก์เสีย]
  3. https://web.facebook.com/pg/teawwat/photos/?tab=album&album_id=787970871409256
  4. https://sangkhatikan.com/monk_view.php?ID=15515
  5. https://sangkhatikan.com/monk_view.php?ID=17506
  6. http://mahathera.onab.go.th/index.php?url=mati&id=5690
  7. https://sangkhatikan.com/monk_view.php?ID=1692

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!