วงศ์เพียงพอน
วงศ์เพียงพอน หรือ วงศ์วีเซล (อังกฤษ : weasel family, mustelid )[ 3] เป็นวงศ์ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อ วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Mustelidae (มาจากภาษาละตินคำว่า Mustela หมายถึง "เพียงพอน ")
ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในวงศ์นี้ คือ มีหัวกลม ใบหูสั้นกลม ขาสั้นเตี้ย ลำตัวเพรียวยาว หางยาว มีขนที่อ่อนนุ่มและหนาทั้งตัวและหาง อุ้งเล็บตีนแหลมคม ในปากมีฟันที่แหลมคม มีฟันตัดเหมาะสมสำหรับการกินเนื้อ ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า
3.1.3.1
3.1.3.2
{\displaystyle {\tfrac {3.1.3.1}{3.1.3.2}}}
ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไว ปราดเปรียว และกินอาหารได้หลากหลายไม่เลือกทั้งพืช และสัตว์ หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพียงพอน จะล่ากระต่าย กินเป็นอาหาร ทั้งที่เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยทำการล่าเป็นฝูงและมุดเข้าไปลากดึงเอาถึงในโพรงจากลำตัวที่เพรียวยาว[ 4]
ลักษณะเด่นคือประการ คือ ส่วนมากยกเว้นนากทะเล [ 5] จะมีต่อมกลิ่นใกล้กับรูทวาร ซึ่งผลิตสารเคมีที่เป็นของเหลวเหมือนน้ำมันสีเหลือง มีกลิ่นฉุนสำหรับใช้ประกาศอาณาเขตและใช้เป็นการประกาศทางเพศ และเมื่อปฏิสนธิ แล้ว ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะยังไม่ฝังตัวเข้ากับผนังมดลูก แต่จะลอยอยู่อย่างนั้น ซึ่งอาจกินเวลานับ 10 เดือน จะฝังตัวเฉพาะเมื่อถึงฤดูกาลที่อาหารอุดมสมบูรณ์เท่านั้น ก่อนที่จะพัฒนาต่อมาเป็นตัวอ่อน และพัฒนาต่อมาจนกระทั่งคลอดออกมาในฤดูที่อาหารอุดมสมบูรณ์ อุณหภูมิอากาศพอเหมาะแก่ลูกอ่อนที่เกิดขึ้นมา ซึ่งตัวแม่จะออกลูกและเลี้ยงดูลูกไว้ในโพรงดินหรือโพรงไม้ ลูกอ่อนจะยังไม่ลืมตา และมีขนบาง ๆ ปกคลุมตัวเท่านั้น จนกระทั่งอายุได้ราว 2-3 เดือน จึงจะเริ่มหย่านม และออกมาใช้ชีวิตเองตามลำพังเมื่ออายุได้ราว 1 ปี[ 6]
พบกระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่รอบโลก ทั้งในป่าทึบ, ที่ราบสูง, พื้นที่ชุ่มน้ำ, ชายฝั่งทะเล ตลอดจนชุมชนเมืองของมนุษย์ จนกระทั่งหลายชนิดเป็นสัตว์รังควาน สร้างความเสียหายให้แก่มนุษย์[ 7]
การจำแนก
แบ่งออกได้เป็น 57 ชนิด ใน 22 สกุล [ 3]
การล่ากระต่ายของสโทธ หรือเออร์มิน
วงศ์ย่อย Lutrinae (นาก)
วงศ์ย่อย Mustelinae (แบดเจอร์ )
สกุล Arctonyx
สกุล Eira
สกุล Galictis
สกุล Gulo
สกุล Ictonyx
สกุล Lyncodon
สกุล Martes (มาร์เทิน, หมาไม้)
สกุล Meles
สกุล Mellivora
สกุล Melogale (หมาหริ่ง)
สกุล Mustela (วีเซล, เพียงพอน)
เพียงพอนอเมซอน , M. africana
เพียงพอนภูเขา , M. altaica
เออร์มิน , M. erminea
โพลแคททุ่งหญ้าสเตปป์ , M. eversmannii
เพียงพอนโคลัมเบีย , M. felipei
เพียงพอนหางยาว , M. frenata
เพียงพอนญี่ปุ่น , M. itatsi
เพียงพอนท้องเหลือง , M. kathiah
เพียงพอนยุโรป , M. lutreola
เพียงพอนภูเขาอินโดนีเซีย , M. lutreolina
เพียงพอนตีนดำ , M. nigripes
เพียงพอนสีน้ำตาล , M. nivalis
เพียงพอนเหลือง , M. nudipes
โพลแคทยุโรป , M. putorius
เพียงพอนไซบีเรีย , M. sibirica
เพียงพอนเส้นหลังขาว , M. strigidorsa
เพียงพอนอียิปต์ , M. subpalmata
สกุล Neovison
สกุล Poecilogale
สกุล Taxidea
สกุล Vormela
สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 10 ชนิด คือ นากเล็กเล็บสั้น, นากยุโรป, นากจมูกขน, นากใหญ่ขนเรียบ, หมูหริ่ง, หมาไม้, หมาหริ่งพม่า, เพียงพอนเหลือง, เพียงพอนไซบีเรีย และเพียงพอนเส้นหลังขาว[ 8] ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองทั้งหมด[ 9]
สูญพันธุ์
มีหลายสกุลที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ความผูกพันกับมนุษย์
รูปวาด "สตรีกับเออร์มิน " (Lady with an ermine) (จริง ๆ แล้วคือ เฟอเรท )
สัตว์ในวงศ์เพียงพอนมีความผูกพันกับมนุษย์อย่างมาก ตั้งแต่อดีตด้วยการไล่ล่าเอาหนังและขนมาทำเป็นเสื้อขนสัตว์ เช่น มิงค์, นาก, เพียงพอน, เออร์มิน หรือหมาไม้ แต่ด้วยความที่เป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก ดังนั้นการทำเสื้อขนสัตว์หนึ่งตัว ต้องใช้จำนวนมิงค์หรือนากถึง 40 ตัว จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1975 กองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) ได้เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ยกเลิกการค้าหนังนาก ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้นากได้รับความคุ้มครอง แต่กระนั้นในบางพื้นที่ก็ยังคงมีการลักลอบกันอยู่จนถึงปัจจุบัน[ 10] [ 11]
ในบางจำพวกอย่าง หมาไม้ หรือเพียงพอน เป็นสัตว์รังควานในพื้นที่ยุโรป และอเมริกาเหนือ ที่สร้างความเสียหายให้แก่เครื่องเรือน และเครื่องยนต์ของรถในบ้านเรือน ด้วยการที่เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มนุษย์อาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี[ 12] [ 13] [ 14] แต่จากการที่เป็นสัตว์กินเนื้อ และชอบล่าสัตว์เล็ก ๆ เช่น หนู หรือกระต่าย ทำให้มีการใช้เฟอเรท สำหรับล่าหนูที่สร้างความเสียหายแก่พื้นที่ทางการเกษตรในบางพื้นที่ เช่น สหรัฐอเมริกา สำหรับในประเทศไทย ของเหลวคล้ายน้ำมันกลิ่นฉุนจากต่อมใกล้ทวารของหมูหริ่ง หรือ หมาหริ่งใช้ทำยา ในการแพทย์แผนไทย ได้ด้วย[ 15]
ที่นิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นดินแดนห่างไกลจากแผ่นดินใหญ่ เป็นที่ ๆ มีสิ่งมีชีวิตถิ่นเดียว อยู่อย่างหลากหลาย โดยที่ไม่มีสัตว์ผู้ล่าอยู่เลย แต่ทว่าเมื่อชาวตะวันตกเข้าไปบุกเบิก เออร์มิน หรือสโทธก็ได้ติดเข้าไปด้วย และกลายมาเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานการขยายพันธุ์ของนกที่บินไม่ได้หลายชนิดที่นั่น เช่น นกกีวี ทำให้อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ในปัจจุบัน[ 16]
ที่เวียดนาม มีการให้เพียงพอนกินเมล็ดกาแฟ แล้วให้เอนไซม์ ในกระบวนการย่อยของเพียงพอนถ่ายมูลออกมา เพื่อเก็บขายในราคาที่สูงมาก เรียกว่า "กาแฟขี้เพียงพอน" เช่นเดียวกับกาแฟขี้ชะมด ที่ได้จากอีเห็น [ 17]
อีกทั้งยังมีการนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง โดยการศึกษาทางดีเอ็นเอ พบว่ามีการเลี้ยงเฟอเรทเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์มานานกว่า 2,500 ปีมาแล้ว และมีเฟอเรทปรากฏในหน้าประวัติศาสตร์โลกมาตั้งแต่อดีต เช่น เป็นสัตว์เลี้ยงของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ และปรากฏในภาพวาดของลีโอนาร์โด ดา วินชี ที่ชื่อ "สตรีกับเออร์มิน " (Lady with an Ermine) เป็นต้น [ 18]
See also
อ้างอิง
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Paterson2020
↑ Heptner, V. G.; Sludskii, A. A. (2002). Mammals of the Soviet Union. Vol. II, part 1b, Carnivores (Mustelidae) . Washington, D.C.: Smithsonian Institution Libraries and National Science Foundation. ISBN 90-04-08876-8 .
↑ 3.0 3.1 3.2 จาก itis.gov
↑ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน หน้า 64 โดย กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย (กรุงเทพมหานคร, 2543) ISBN 974-87081-5-2
↑ Kenyon, Karl W. (1969). The Sea Otter in the Eastern Pacific Ocean . Washington, D.C.: U.S. Bureau of Sport Fisheries and Wildlife.
↑ เพียงพอน โดย จารุจินต์ นภีตะภัฏ [ลิงก์เสีย ]
↑ King, Carolyn (1984). Macdonald, D.. ed. The Encyclopedia of Mammals . New York: Facts on File. pp. 108–109. ISBN 0-87196-871-1 .
↑ หน้า 158-183, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน (กรุงเทพมหานคร, 2543) โดย กองทุนสัตว์ป่าโลก ISBN 974-87081-5-2
↑ บัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง 2546
↑ นาก หน้า 114-118, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518)
↑ Heptner, V. G.; Sludskii, A. A. (2002). Mammals of the Soviet Union. Vol. II, part 1b, Carnivores (Mustelidae and Procyonidae) . Washington, D.C. : Smithsonian Institution Libraries and National Science Foundation. ISBN 90-04-08876-8
↑ ตัวสโทท์
↑ คู่มือสัตว์รบกวน
↑ Lachat, N. 1991. Stone martens and cars: a beginning war? เก็บถาวร 2012-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Small Carnivore Conservation 5: 4-6
↑ หมูหริ่ง จากพจนานุกรมฉบับ อ.เปลื้อง ณ นคร จากสนุกดอตคอม
↑ New Zealand ดินแดนแห่งนก , "Mutant Planet", ทางแอนิมอลแพลนเน็ต. สารคดีทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 22 ธันวาคม 2555
↑ " "กาแฟขี้เพียงพอน" สินค้าราคาแพงจากเวียดนาม จากผู้จัดการออนไลน์" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-05-05. สืบค้นเมื่อ 2013-01-11 .
↑ Pets 101 : Pet Guide , สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2556
แหล่งข้อมูลอื่น
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Mustelidae ที่วิกิสปีชีส์