วชิรปิลันธิ์ เจ.อิศวเรศ์ (โชคเจริญรัตน์) เป็นที่รู้จักในชื่อ ริค วชิรปิลันธิ์ จันกาลี เดวี หรือ ผู้ได้รับอำนาจใช้เสียงแห่งมนต์ เป็นนักร้องหญิงจากค่ายเบเกอรี่มิวสิคที่มีผลงานการขับร้องและประพันธ์เพลง ในแนวดนตรีและวิธีการร้องที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง ซึ่งแรงขับเคลื่อนในการสร้างงานอัลบั้มปฐมมาจากประสบการณ์อันเป็นความเฉพาะตัวของริค, ทั้งการศึกษาเรียนรู้ฯและความศรัทธาที่มีในทางศาสนาของเธอ ดนตรีในอัลบั้มปรากฏเสียงเครื่องดนตรีอินเดียโอบคลุมอยู่ทั่วไป ที่พบได้ชัดคือเสียงทับลาและซีต้าร์ ผสมกับเครื่องดนตรีไทย เช่น ปี่มอญ, ตะโพน เครื่องดนตรีสมัยใหม่ ประกอบด้วย กีต้าร์ไฟฟ้า ไฟฟ้า เปียโน ไปจนถึงเสียงสังเคราะห์ ภาพโดยรวมเป็น World music ที่นำทั้งดนตรี Rock, Trance, Blue ไปจนถึงวิธีการอ่านทำนองร้อยแก้วแบบไทยผสมผสานเข้ามาได้อย่างลงตัว
ประวัติ
ริค วชิรปิลันธิ์ เธอเคยศึกษาเพียงช่วงสั้น ๆ ที่โรงเรียนนารีวิทยา[1] โรงเรียนประจำในจังหวัดราชบุรี[2] ส่วนตัวเธอนับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน[3] [4] ทั้งนี้เธอกล่าวว่าเธอเพียงแค่เชื่อในพลังของเทพสตรี[3] เธอมีบุตรเพียงคนเดียว ชื่อ รัศมิลักษณ์ อิศวเรศ์ (ชื่อเล่น เลลิณ) ปัจจุบันพอใจกับสถานะเพียงลำพังของตนเอง
ริคเข้าสู่วงการจากการเข้าประกวดเป๊ปซี่มิวสิคอะวอร์ด เมื่อปี พ.ศ. 2536 กับวงดนตรีชื่อ Mad Hot โดยร้องนำในแนวเดธเมตัล[4] เป็นที่สะดุดตาของกมล สุโกศล แคลปป์ ซึ่งชักชวนให้มาเข้าสังกัดเบเกอรี่มิวสิกในปี พ.ศ. 2538 [5]
ริค มีผลงานร้องเพลงร่วมกับศิลปินหลายคนเช่น เพลง "กัด" "แหก" และ "เฉย" [6] ร่วมกับโจอี้ บอย เพลง "รามซิงค์เรดิโอ" ร่วมกับโยคีเพลย์บอย อัลบั้ม Vision ของ Pixyl [7] มีผลงานเดี่ยวชุดแรกชื่อชุด "ปฐม" ในปี พ.ศ. 2542 (ใช้เวลาทำ 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2537) โดยดนตรีของริค วชิรปิลันธิ์ มีกลิ่นอายของวัฒนธรรมอินเดีย[4]
หลังจากหมดสัญญากับเบเกอรี ริคย้ายมาสังกัดหัวลำโพงริดดิม ได้ร่วมงานกับ นรเศรษฐ์ หมัดคง ในอัลบั้ม "สุนทราภรณ์อีเคลกติก" ซึ่งนำเพลงของสุนทราภรณ์มาเรียบเรียงใหม่แบบร่วมสมัย ร้องเพลง "ทะเยอทะยาน" ของ Day Tripper ทำเพลงประกอบโฆษณา และเพลงประกอบภาพยนตร์ "บุปผาราตรี" และ "วิญญาณโลกคนตาย" [8] มีงานแสดงสดชื่อ "เหนืออาณาจักรแห่งสายเสียง" ในปี พ.ศ. 2549 [9][10]
แนวคิด และแรงบันดาลใจ
ริคเคยให้สัมภาษณ์ว่า
หากคุณต้องการฟังดนตรี จงฟังโดยใช้ประสาทสัมผัสแห่งการรับรู้ หากอยากรู้จักดนตรีนั้นคุณต้องฟังเท่านั้น เราไม่อาจที่จะรู้จักดนตรีหรือเสียงนั้นได้เพียงแค่อ่านตัวอักษรพยัญชนะ ดนตรีเป็นภาษาหนึ่ง เช่นเดียวกับการสื่อสารในภาษาต่าง ๆ ต่างกันตรงที่ดนตรีนั้นเป็นภาษาสากลทั้งของโลกนี้และของทั้งจักรวาล ดนตรีไม่มีอดีตปัจจุบันหรืออนาคต ดนตรีคือคลื่น คือสรรพสิ่งที่คงอยู่ในจักรวาลนี้เป็นอมตะ แล้วถ้าคุณต้องการรู้จักดนตรีของฉัน คุณเพียงเปิดใจให้กว้างแล้วปล่อยให้เสียงนำทางหัวใจ
อัลบั้ม ปฐม
อัลบั้มปฐมเป็นอัลบั้มที่มีเนื้อหากล่าวถึงวัฏจักร แห่งการเกิดเป็นหลักใหญ่ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเพลงที่ชื่อ 'สังวาส' ก็จะเป็นการกล่าวถึงการได้มาของการเกิดทางกาย เรียกว่า จุดเริ่มต้นของกายมาจากการถือกำเนิดของวิญญาณที่มาสู่ในธาตุสสาร
หากคุณมองเป็นเพียงภาพร่างที่จับต้องได้ คุณจะเข้าใจแค่ภายนอกว่าเป็นการสังวาส แต่การสังวาสคือวิธีการและเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ในการเลือกคัดสรรวิญญาณที่มีคุณสมบัติดีให้มาเกิดในครรภ์
เพลงสังวาสจึงเป็นเพลงแห่งการเกิดของวิญญาณ
การเกิดมี 3 ลักษณะ ได้แก่ เกิดทางวิญญาณ, เกิดทางกายเนื้อ, และเกิดโดยอารมณ์ความรู้สึกตามแต่กิเลสนำพาไป[11]
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการบูชาเทพศักติ (เทวสตรี) ตามคติฮินดู ปรากฏอยู่ในอัลบั้มปฐมเพียงหนึ่งเพลงชื่อเพลง เดวี (หรือ เทวี ตามการออกเสียงภาษาไทย) ส่วนเพลงสุดท้ายของอัลบั้ม กล่าวถึง พระศรีศากยมุนี ตามคติพุทธ
แม้เป็นโมกษะก็เป็นเพียงโมกษะ แม้นิรวาณก็เป็นเพียงนิรวาณ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือทรรศนะ และการจำได้หมายรู้ถึงปณิธานที่ตนได้เคยตั้งกระทำไว้
นามแฝง
ริคเขียนเพลงโดยใช้นามแฝงที่แบ่งเป็น 3 ภาคในชื่อ วชิรปิลันธิ์, จันกาลี และ ธุมา แทนบุคลิกภาพแห่งการสร้างสรรค์, การทำลายล้าง และความโศกาอาดูรที่ถูกกลืนกิน
ข้อความจากริค วชิรปิลันธิ์
ริคขอขอบคุณทุกท่านที่เมตตา สละเวลาอันมีค่าของทุกท่านเข้ามาช่วยกันเขียนประวัติการทำงานและแนะนำ ริค วชิรปิลันธิ์ จันกาลี เดวี ให้ได้เป็นที่รู้จักแก่บุคคลทั่วไป รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
— Rik's Admin
ผลงาน
อัลบั้ม
ชื่ออัลบั้ม |
ปีที่วางจำหน่าย |
รายชื่อเพลง |
ค่าย
|
ปฐม[12]
|
2542
|
- "ปฐม"
- "สังวาส"
- "เทวี"
- "รำพึง (สามลทัศ)"
- "ทาสาสูตรศิวิไลซ์"
- "ดงดาร"
- "คีตคาถาแห่งนรกานต์"
- "อาณาจักรราหู"
- "ครวญ"
- "ระบำพราย"
- "คุรุ (ปางอุ้มบาตร)"
- "นิทานของคนโกรธแค้น"
- "นางเศียรขาด"
- "ปิ่นฟ้า"
- "วชิระ"
|
เบเกอรี่มิวสิค
|
Rasmalai Chapter 1 ราสมาลัย ภาค ๑
|
พ.ศ. 2547
|
- "ติชิลา"
- "คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์"
- "เหนือใจ"
- "น้ำตาไข่มุก"
- "ไหมมายา"
- "Auto Mata"
|
หัวลำโพงริดดิม
|
Rasmalai Chapter 2 ราสมาลัย ภาค ๒
|
พ.ศ. 2548
|
- "Russian Roulette (ซินดองมา)"
- "ราตรีมรกต"
- "รัศมีเดียว"
- "ทางเฉพาะสีม่วง"
- "ด้วยปีกแห่งฝัน"
- "คืนร้อยมาร (End of Auto Mata)"
|
หัวลำโพงริดดิม
|
Trois ทรัว
|
พ.ศ. 2549[13]
|
- "ไม่ต้องทำอย่างนี้"
- "ไม้ขีดไฟกับดอกทานตะวัน"
- "ความชัดเจนในคืนดาวดับ"
- "รอยยิ้ม (ภาคปฏิบัติ)"
- "ห่วงใย"
- "ที่ว่าง"
- "รอยยิ้ม (ภาคทฤษฎี) "
|
หัวลำโพงริดดิม
|
Pandora แพนโดร่า
|
พ.ศ. 2551[14]
|
- "แสงแห่งความเศร้า"
- "เมืองต้องทัณฑ์"
- "อีเดน"
- "เงาบุหลัน
- "เสี้ยม"
- "อันทรชาติ"
- "แสงแห่งความเศร้า"
|
หัวลำโพงริดดิม
|
Mandala Marionette 777
|
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
|
- "โลกีย์สรวง"
- "ราชินีแมงป่อง"
- "หมื่นเหมันต์"
- "อัมลาน"
- "พิราบดำ"
- "เฟืองวงแหวน"
- "Dark Princes
|
หัวลำโพงริดดิม
|
ซิงเกิล
ซิงเกิล จากชุด ปฐม
- Devi (เด-วี) Radio Edit
- Devi (เด-วี) Album Edit
- ดงดาร
- นางเศียรขาด
ซิงเกิล จากชุด ราสมาลัย Chapter 1
- ติชิลา
- ติชิลา4
- ติชิลา5
ซิงเกิล จากชุด Trois
- ห่วงใย (วงตาวัน cover)
เพลงประกอบหนังสือ รวมเรื่องสั้น : Erotica เสียงครางของวีนัส
- เสียงครางของวีนัส (Venus is Moaning)
เพลงประกอบละคร
ผลงานอื่น ๆ
- รวมเรื่องสั้น : Erotica เสียงครางของวีนัส
หนังสือรวมเรื่องสั้นแนว Erotic โดยนักเขียน 6 ท่าน จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Symphony Of Voice (BookArea)
เรื่องสั้นของริคอยู่ในลำดับที่ 6 (Erotica NO.6) ในชื่อเรื่อง "วงหน้าที่ 2 ราชินีพระจันทร์" ใช้นามปากกาว่า "Rik W.Sindongma"
และยังประพันธ์เพลงประกอบหนังสือเล่มนี้ในชื่อ "เสียงครางของวีนัส" เป็นรูปแบบ Digital mp.3
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
|
อัลบั้ม | |
---|
อัลบั้มพิเศษ | |
---|
อีพี | |
---|
ดูเพิ่มเติม | |
---|