ประเทศไทยมีการเดินรถไฟซึ่งใช้ไฟฟ้าเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนหรือ รถไฟฟ้า ตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2492 ในเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ โดยใช้รถไฟฟ้าจากบริษัทนิปปอนชาเรียวแทนการใช้รถจักรไอน้ำ โดยเส้นทางสายนี้ยกเลิกการเดินรถไปใน พ.ศ. 2503 ในรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์[1] แม้ในปี พ.ศ. 2533 กระทรวงคมนาคมได้มีการลงนามสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าลาวาลินกับ บริษัท เอสเอ็นซี-ลาวาลิน จำกัด และลงนามสัมปทานโครงการโฮปเวลล์กับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อดำเนินการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร [2] แต่ก็มิได้มีการดำเนินการจนสามารถเปิดเดินรถได้แต่อย่างใด
จนกระทั่งพ.ศ. 2535 กรุงเทพมหานครลงนามสัมปทานกับบริษัท ธนายง จำกัด ให้ดำเนินการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ต่อมาคือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS) โดยได้เปิดการเดินรถไฟฟ้า "รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา" ประกอบด้วย สายสุขุมวิท (จากสถานีหมอชิต ถึงสถานีอ่อนนุช) และสายสีลม (จากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ถึงสถานีสะพานตากสิน) เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542[3] และในปี พ.ศ. 2547 เปิดเดินรถในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล[4] ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรก โดยมีบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ต่อมาคือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM)) เป็นผู้รับสัมปทาน จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หลังจากนั้นมีการขยายเส้นทางต่าง ๆ เรื่อยมา
มีอุบัติเหตุเกี่ยวกับรถไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในไทย ดังนี้
อุบัติเหตุจากรถไฟฟ้าในประเทศไทย
บทความหลัก : รายการอุบัติเหตุทางรถไฟในประเทศไทย
อุบัติเหตุในระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้า
ระหว่างปี พ.ศ. 2555 - 2565 มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในพื้นที่ก่อสร้าง 417 ครั้ง (พ.ศ. 2559 สูงสุดคือ 71 ครั้ง) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น[15] โดยมีควาเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ ปัจจัยเสี่ยงจากการทำงาน เช่น อันตรายจากการใช้นั่งร้าน และมีปัจจัยย่อยอื่น ๆ เนื่องจากคนงานมักไม่ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตตนเอง เพราะต้องการหาเงินในการดำรงชีวิตและครอบครัวมากกว่า[16]
รายการต่อไปนี้เป็นตัวอย่างอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า เช่น จากโครงสร้าง อุปกรณ์ค้ำยัน
วันที่
|
ขบวนรถไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง
|
สายรถไฟฟ้า
|
ลักษณะอุบัติเหตุ
|
สถานที่
|
ความเสียหาย
|
อ้างอิง
|
6 มิถุนายน พ.ศ. 2556
|
รถไฟฟ้าสายสีม่วง
|
สายสีม่วง
|
คานเหล็กยาว 10 เมตร จำนวน 6 ท่อน หล่นทีบรถยนต์
|
สถานีเตาปูน
|
รถยนต์ ที่จอดติดไฟแดงอยู่ที่บริเวณแยกเตาปูน เสียหาย 4 คัน และมีผู้บาดเจ็บ 1 คน
|
[17]
|
20 มกราคม พ.ศ. 2558
|
รถไฟฟ้าสายสีแดง
|
สายสีแดงเข้ม
|
ตอม่อ และนั่งร้านคนงานก่อสร้างถล่ม
|
บริเวณหน้าห้างไอทีสแควร์ เขตหลักสี่
|
คนงานหล่นจากนั่งร้าน ถูกเหล็กทับบาดเจ็บ 7 คน
|
[17]
|
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
|
รถไฟฟ้าสายสีแดง
|
สายสีแดงเข้ม
|
รถเครนล้มพลิกคว่ำ
|
สถานีรถไฟดอนเมือง
|
ทับรถยนต์ 2 คันพังเสียหายหลังคายุบ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นชาย 1 คน
|
[17]
|
17 มีนาคม พ.ศ. 2560
|
รถไฟฟ้าสายสีเขียว
|
สายสุขุมวิท
|
โครงเหล็กก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ขนาด 3×3 เมตร หนักกว่า 1 ตัน หล่นทับรถ
|
ถนนพหลโยธินก่อนถึงเมเจอร์รัชโยธิน
|
รถเก๋งนิสสัน มาร์ช สีเขียว จำนวน 1 คัน ห้องเครื่องถูกโครงเหล็กทับ เสียหาย
|
[17]
|
22 มีนาคม พ.ศ. 2560
|
รถไฟฟ้าสายสีเขียว
|
สายสุขุมวิท
|
น้ำปูนเทถูกรถยนต์
|
ช่วงสถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
|
รถยนต์ที่สัญจรได้รับความเสียหาย
|
[17]
|
28 เมษายน พ.ศ. 2560
|
รถไฟฟ้าสายสีแดง
|
สายสีแดงเข้ม
|
คานเหล็กยึดปูนก่อสร้างรถไฟฟ้า หล่นทับคนงาน
|
ใกล้วัดดอนเมือง สถานีดอนเมือง
|
คนงานเสียชีวิต 3 ราย
|
[17]
|
18 มิถุนายน พ.ศ. 2560
|
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
|
สายสีน้ำเงิน
|
เหล็กนั่งร้าน หล่นกลางถนนจรัญสนิทวงศ์
|
ช่วงแยกบางขุนนนท์มุ่งหน้าท่าพระ
|
ไม่มีผู้บาดเจ็บ และไม่มีความเสียหาย
|
[17]
|
24 ธันวาคม 2566
|
รถไฟฟ้าสายสีม่วง (ม่วงใต้)
|
สายสีม่วง
|
แผ่นเหล็กเส้นกำแพงกันดิน (D -Wall) ตกลงมา
|
สถานีวงเวียนใหญ่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ
|
คนคุมงาน (โฟร์แมน) เสียชีวิต 1 ราย
|
[18]
|
30 มีนาคม พ.ศ. 2567
|
รถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีชมพู
|
สายสีชมพู
|
ปูนคอนกรีตเหลวร่วงหล่นลงมาใส่รถ
|
สถานีอิมแพ็คเมืองทองธานี (MT01)
|
ปูนคอนกรีตเหลวร่วงหล่นลงมาใส่รถเก๋งทำให้เปรอะเปื้อนทั่วทั้งคัน นอกจากนี้บริเวณมุมกระจกหลังขวาถูกก้อนหินกระแทกจนแตกเป็นรูโหว่ เศษกระจกกระเด็นไปใส่ศีรษะคนในรถแต่ไม่ได้รับบาดเจ็บ
|
[19]
|
12 กันยายน พ.ศ. 2567
|
รถไฟฟ้าสายสีม่วง (ม่วงใต้)
|
สายสีม่วง
|
รถเครนก่อสร้างล้ม
|
ปากซอยตากสิน 9/3 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงสำเหร่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
|
ผู้ขี่รถจักรยานยนต์ บาดเจ็บ 1 ราย
|
[20][21]
|
อุบัติการณ์ (Incident)
อุบัติการณ์ (Incident) คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าและไม่ได้คิดว่าจะเกิด และไม่ได้ส่งผลกระทบร้ายแรง แต่มีผลต่อความปลอดภัย[22]
รายการต่อไปนี้เป็นอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นกับรถไฟฟ้าในประกาศไทย
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ โรม บุนนาค. ชุดบันทึกแผ่นดิน ตอน เรื่องเก่าเล่าสนุก ๒. กรุงเทพฯ:สยามบันทึก. 2552, หน้า 103-105
- ↑ "History of Thailand's Infrastructure". SkyscraperCity Forum (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-12-29.
- ↑ Doe, John. "รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Skytrain)". รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Skytrain).
- ↑ "วันประวัติศาสตร์... พิธีเปิดเดินรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมลคล | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย". web.archive.org. 2023-02-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-08. สืบค้นเมื่อ 2024-04-01.
- ↑ ข่าวส่องอดีตย้อนวันวาน รถไฟฟ้าใต้ดิน 2548 ชนสนั่นศูนย์วัฒนธรรมฯ บาดเจ็บนับร้อยคน, สืบค้นเมื่อ 2024-04-01
- ↑ "แอร์พอร์ตลิงก์แถลงเสียใจ-สุดวิสัย เหตุหญิงตกลงในราง ยัน จนท.ช่วยตามขั้นตอน". Thai PBS.
- ↑ สามี สาวถูกรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ทับ เผยเมียแพ้ท้องหนัก ชอบยืนรอคนเดียว กลัวโดนชนท้อง , มติชนออนไลน์
- ↑ "บีทีเอสแจง รถไฟฟ้าชนคนงานเมียนมา เร่งสอบหลังพบฝ่าฝืนเข้าไปในระบบราง". www.thairath.co.th. 2020-06-27.
- ↑ "BTS แจงเหตุรถไฟฟ้าเฉี่ยวชนคนงานก่อสร้าง เข้าพื้นที่ก่อนเวลาอนุญาต". Thai PBS.
- ↑ "รถไฟฟ้าสายสีแดงทับชายนิรนามร่างขาด ดับอนาถ ตร.ยังไม่ฟันธงสาเหตุ". www.thairath.co.th. 2022-01-16.
- ↑ ""รถไฟฟ้าสายสีแดง" แถลงฯ ชนคนเสียชีวิตบนรางช่วงสถานีหลักหก - ดอนเมือง". bangkokbiznews. 2022-06-21.
- ↑ "ไม่ใช่มะม่วงก็ร่วงได้ ย้อนอุบัติเหตุโครงการรถไฟฟ้า สีใดเกิดเหตุบ่อยสุด". เนชั่นทีวี. 2023-12-24.
- ↑ ""คีรี" เปิดศูนย์ซ่อม 'สีเหลือง' แจงปมล้อหลุด ยันโมโนเรลใช้ทั่วโลก เร่งเปลี่ยนของใหม่เรียกคืนเชื่อมั่น". mgronline.com. 2024-01-04.
- ↑ "'รถไฟฟ้าสายสีเหลือง' หยุดบริการ เหตุชิ้นส่วนรางนำจ่ายไฟชำรุด". bangkokbiznews. 2024-03-28.
- ↑ "รถไฟฟ้าสายสีชมพู: สร้างรถไฟฟ้า 10 ปีย้อนหลัง อุบัติเหตุ 417 ครั้ง สาเหตุหลักโครงการไม่สนการจัดการหน้างาน-คนงานต้องฝืนทำงานทำให้เกิดอุบัติเหตุ". BBC News ไทย. 2023-12-25.
- ↑ ตรีวงศ์, ฐิติวัฒน์; หฤทัยพันธ์, จำรูญ; แสงสุข, ปภาวี แสงสุข; ทับทิมเหล้า, ธนาคาร; ศรีสุพล, ศรัณย์ (2023-07-07). "การประเมินปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยโดยรูปแบบสภาพการณ์ดัชนี". การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28. 28: CEM04–CEM04.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 17.5 17.6 "ไม่ใช่มะม่วงก็ร่วงได้ ย้อนอุบัติเหตุโครงการรถไฟฟ้า สีใดเกิดเหตุบ่อยสุด". เนชั่นทีวี. 2023-12-24.
- ↑ "แผ่นเหล็กเส้นกำแพงกันดินหล่นทับคนงาน ขณะก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง". Thai PBS.
- ↑ "ผวาสายสีชมพู น้ำปูนหล่นใส่รถ กระจกแตกโดนหัวเด็กเจ็บ ขณะสร้างสถานี "เมืองทอง"". www.thairath.co.th. 2024-04-01.
- ↑ "เครนล้มทับรถจักรยานยนต์ย่านธนบุรี เจ็บ 1 คน คาดดินยุบตัว". Thai PBS.
- ↑ "รฟม. ชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีอุบัติเหตุรถขุดเจาะดินล้มในพื้นที่ก่อสร้างอาคารปล่องระบายอากาศ (IVS06) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)". www.mrta.co.th.
- ↑ EcoOnline. "What is an Accident and Incidents?". www.mangolive.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Legendary Channel : เลเจ้นดารี่ ชาแนล (2023-08-07), ตำนานคดีดัง (2548) อุบัติภัยใต้ภิภพ รถไฟใต้ดินชนกัน 200 ชีวิตร้องระงม, สืบค้นเมื่อ 2024-10-15
- ↑ "นกยักษ์ชนแอร์พอร์ตลิงก์! กระจกแตก เหลือวิ่ง 6 ขบวน". mgronline.com. 2018-06-27.
- ↑ "รถไฟฟ้า BTS แจงประตูเปิดเองเหตุขัดข้อง แก้ไขใน 2 นาที ย้ำไม่ให้เกิดอีก". อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34 - AMARIN TV HD. 2018-08-03. สืบค้นเมื่อ 2024-07-05.
- ↑ "ผู้โดยสารเป็นลมตกรางบีทีเอสราชเทวี ล่าสุดปลอดภัยแล้ว". Thai PBS.
- ↑ "ซ่อมแล้ว! BTS แจงเหตุน้ำรั่ว มาจากเครื่องปรับอากาศ เร่งหาสาเหตุ". www.thairath.co.th. 2018-08-23.
- ↑ "BTS แจงเหตุประตูขัดข้อง ระหว่างบางจาก-ปุณณวิถี (คลิป)". www.thairath.co.th. 2023-09-22.
- ↑ "เร่งตรวจสอบสาเหตุ น้ำรั่วในขบวนรถไฟฟ้า MRT ผู้โดยสารเอาร่มออกมากาง". www.thairath.co.th. 2024-05-22.
- ↑ "BEM แจงปมน้ำรั่วในขบวนรถไฟฟ้าใต้ดิน เหตุท่อแอร์มีปัญหาไม่เกี่ยวกับฝน". bangkokbiznews. 2024-05-23.
- ↑ "NBM แจงประตูรถไฟฟ้าสายสีชมพูเปิด กระเป๋าติด-สื่อสารคลาดเคลื่อน". www.thairath.co.th. 2024-07-05.