รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2508

รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2508
วันที่3 พฤษภาคม พ.ศ. 2509
สถานที่ตั้งสวนอัมพร อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร
รางวัลมากที่สุดเดือนร้าว (4)
← ครั้งที่ 7 · รางวัลตุ๊กตาทอง · ครั้งที่ 1 →

การประกวดภาพยนตร์ รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2508 จัดโดยหอการค้าไทย มีพิธีประกาศผลอย่างเป็นทางการ ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 โดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน และ พระราชทานรางวัลให้แก่ผู้ได้รับรางวัล [1]

ผู้ได้รับรางวัล

รางวัลตุ๊กตาทอง

สาขา ผู้ได้รับรางวัล ภาพยนตร์เรื่อง
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม สาวเครือฟ้า (แหลมทองภาพยนตร์) สาวเครือฟ้า (2508)
ผู้แสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม สมบัติ เมทะนี ศึกบางระจัน (2509)
ผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม เนาวรัตน์ วัชรา เดือนร้าว (2508)
ผู้แสดงประกอบฝ่ายชายยอดเยี่ยม อดินันท์ สิงห์หิรัญ ฉัตรดาว (2508)
ผู้แสดงประกอบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม น้ำเงิน บุญหนัก กาเหว่า (2509)
ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม วิจิตร คุณาวุฒิ เสน่ห์บางกอก (2509)
บทประพันธ์ยอดเยี่ยม ไม้ เมืองเดิม ศึกบางระจัน
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม สัตตบุศย์ เดือนร้าว
รางวัลถ่ายภาพยอดเยี่ยม เฉลิม ชาติบุรุษ นางพรายคะนอง (2508)
รางวัลลำดับภาพยอดเยี่ยม สัตตบุศย์ เดือนร้าว
รางวัลออกแบบและสร้างฉากยอดเยี่ยม สะอาด คุปตลักษณ์ เดือนร้าว
รางวัลออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม สาวเครือฟ้า
รางวัลเพลงประกอบยอดเยี่ยม เงิน เงิน เงิน (2508)
รางวัลพากย์เสียงยอดเยี่ยม เสน่ห์ โกมารชุน - อัมภาพรรณ - เสนอ - วรรณรักษ์ - สีเทา สาวเครือฟ้า

รางวัลตุ๊กตาเงิน

สาขา ผู้ได้รับรางวัล ภาพยนตร์เรื่อง
รางวัลพิเศษในการแสดงบทบาทประเภทบุคลิกภาพ เชาว์ แคล่วคล่อง น้องนุช (2508)
รางวัลพิเศษในการแสดงบทตลกในตัว กุญชร สุขนิพันธ์ เสน่ห์บางกอก
รางวัลพิเศษสำหรับนักแสดงเด็ก วชิราภรณ์ พึ่งสังข์ ลูกนก (2508) และ ลูกหญิง (2508)
รางวัลเทคนิคพิเศษของการถ่ายภาพ อนุศักดิ์ เจนจรัสสกุล พระรถ-เมรี (2508)

รางวัลพิเศษ

สาขา ผู้ได้รับรางวัล ภาพยนตร์เรื่อง
โล่เกียรตินิยม ในฐานะดารานำชาย-หญิง ที่ทำเงินรายได้มากที่สุด มิตร ชัยบัญชา - เพชรา เชาวราษฎร์ เงิน เงิน เงิน

รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 9

ภายหลังพิธีพระราชทานรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 8 แล้ว ทางหอการค้าไทยได้ดำริว่า จะเป็นผู้จัดการประกวดรางวัลตุ๊กตาครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2509 เป็นครั้งสุดท้าย เนื่องจากเห็นว่าควรให้สถาบันที่น่าเชื่อถือในวงการภาพยนตร์เป็นผู้รับช่วงไปดำเนินการต่อ มากกว่าที่จะให้ทางหอการค้า ซึ่งไม่ได้อยู่ในวงการภาพยนตร์เป็นผู้จัด โดยได้กำหนดจัดงานมอบรางวัลตุ๊กตาทองประจำปี พ.ศ. 2509 ขึ้นในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2510 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เมื่อถึงกำหนดในเดือนกันยายน พ.ศ. 2510 ก็ไม่ได้มีการจัดงาน ในขณะเดียวกันทางกลุ่มผู้สร้างภาพยนตร์ก็ได้มีการรวมตัวของสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์แห่งประเทศไทย ขึ้นอีกครั้ง มีการประชุมของ 4 สมาคมผู้เกี่ยวข้องในวงการธุรกิจบันเทิง คือ สมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ สมาคมโรงภาพยนตร์ สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิง และหอการค้าไทย และกำหนดที่จะจัดพิธีมอบรางวัลตุ๊กตาทองขึ้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 แต่แล้วก็ไม่ได้จัดอีก

ในปีต่อมา มีข่าวว่าจะจัดพิธีมอบรางวัลในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2512 แต่ก็เกิดเหตุขัดข้อง ไม่สามารถจัดงานได้อีกครั้ง

พิธีมอบรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 9 ได้ข้อสรุปในการจัดในเดือนมกราคม พ.ศ. 2516 โดยนายสำเริง เนาวสัยศรี นายกสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทยเป็นประธานจัดงาน มีคุณหญิงจินตนา ยศสุนทร เป็นประธานกรรมการตัดสิน การประกาศผลมีขึ้นในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ณ ห้องบอลรูม โรงแรมนารายณ์

อ้างอิง

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-01-07.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!