รัฐโกศี

รัฐโกศี

कोशी प्रदेश (เนปาล)
ที่ตั้งรัฐโกศีในประเทศเนปาล
ที่ตั้งรัฐโกศีในประเทศเนปาล
ประเทศ เนปาล
จัดตั้ง20 กันยายน พ.ศ. 2558
เมืองหลวงพิราฏนคร[1]
เมืองใหญ่สุดพิราฏนคร
เขต14
การปกครอง
 • ประเภทรัฐที่ปกครองตนเอง
 • องค์กรรัฐบาลรัฐ
 • ผู้ว่าการรัฐปรรศุราม ขาปุง
 • มุขยมนตรีหิกมัต กุมาร การกี (CPN UML)
 • สภารัฐสภาเดียว (93 ที่นั่ง)
 • เขตเลือกตั้งรัฐสภา28
พื้นที่
 • ทั้งหมด25,905 ตร.กม. (10,002 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 2
ความสูงจุดสูงสุด8,848 เมตร (29,029 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด70 เมตร (230 ฟุต)
ประชากร
 (พ.ศ. 2564)
 • ทั้งหมด4,972,021 คน
 • อันดับที่ 4
 • ความหนาแน่น190 คน/ตร.กม. (500 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นที่ 4
เขตเวลาUTC+5:45 (เวลาเนปาล)
รหัสภูมิศาสตร์NP-ON
เอชดีไอเพิ่มขึ้น 0.553 (ปานกลาง)
อันดับเอชดีไอที่ 2
การรู้หนังสือ71.22%
อัตราส่วนเพศ91.48 /100 (พ.ศ. 2554)
เว็บไซต์p1.gov.np

รัฐโกศี (เนปาล: कोशी प्रदेश, โกศี ปฺรเทศ, ออกเสียง [kosi prʌd̪es]) เป็นหนึ่งในเจ็ดรัฐของประเทศเนปาล จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันซึ่งได้รับการประกาศใช้ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558[2] ครอบคลุมพื้นที่ 25,905 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นประมาณร้อยละ 17.5 ของพื้นที่ประเทศ รัฐนี้เป็นที่ตั้งของภูเขาสูงหลายลูกซึ่งรวมถึงเขาเอเวอเรสต์ เขากันเจนชุงคา และเขาอามาดาบลัม แม่น้ำโกศีซึ่งเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดของเนปาลไหลผ่านเขตแดนด้านตะวันตกของรัฐ

รัฐโกศีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของประเทศ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตปกครองตนเองทิเบตของจีนทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐสิกขิมและรัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดียทางทิศตะวันออก ติดต่อกับรัฐพิหารของอินเดียทางทิศใต้ และติดต่อกับรัฐมเธศและรัฐพาคมตีทางทิศตะวันตก[3][4][5] ตามข้อมูลสำมะโนประชากรเนปาล พ.ศ. 2564 รัฐนี้มีประชากรประมาณ 5 ล้านคน โดยมีความหนาแน่นประชากร 190 คนต่อตารางกิโลเมตร[6] นอกจากพิราฏนครซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมและเมืองหลวงของรัฐแล้ว รัฐโกศียังครอบคลุมเมืองใหญ่ทางตะวันออกเมืองอื่นอย่างพิรตาโมฑ, สุนทรหไรจา, ทมัก, ธราน, อีฏหรี, ตริยุคา และเมจีนครเป็นต้น

อ้างอิง

  1. "प्रदेश १ राजधानी: विराटनगरको पक्षमा दुईतिहाई, नाम टुंगो लागेन" [Province No. 1 Capital: Two third of MLA voated in faviour of Biratnagar]. annapurnapost.com (ภาษาเนปาล). Annapurna Post. 6 May 2019. สืบค้นเมื่อ 7 May 2019.
  2. "Nepal Provinces". statoids.com. สืบค้นเมื่อ 21 March 2016.
  3. "Biratnagar celebrates its status of provincial capital". thehimalayantimes.com. 19 January 2018. สืบค้นเมื่อ 19 January 2018.
  4. "Locals intensify protest in Dhankuta after Biratnagar named as provincial HQ". kathmandupost.ekantipur.com. 19 January 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-18. สืบค้นเมื่อ 19 January 2018.
  5. "Nepal government announces Provincial Capitals and Chiefs". ddinews.gov.in. 17 January 2018. สืบค้นเมื่อ 19 January 2018.
  6. "राष्ट्रिय जनगणना २०७८ प्रारम्भिक नतिजा". www.cbs.gov.np (ภาษาเนปาล). Central Bureau of Statistics, Nepal. January 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-26. สืบค้นเมื่อ 26 January 2022.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!