สิบตำรวจตรีหญิง รัชนก อินทนนท์ ชื่อเล่น เมย์ (เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538) เป็นนักกีฬาแบดมินตัน หญิงชาวไทย อดีตนักแบดมินตันหญิงเดี่ยวมือหนึ่งของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2559 และเป็นคนไทยคนแรกที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยก่อนหน้านั้นในปี 2556 เธอได้คว้าแชมป์โลกและสร้างสถิติเป็นแชมป์โลกแบดมินตันอายุน้อยที่สุด[ 5]
รัชนกสังกัดสโมสรโรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด และแข่งขันในนามสโมสรชิงเต่าในลีกระดับโลกที่ประเทศจีน ตั้งแต่ปี 2555 โดยเซ็นสัญญาแบบปีต่อปี ปัจจุบันรับราชการในตำแหน่งผู้บังคับหมู่ ฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์ฝึกอบรม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ประวัติ
รัชนก อินทนนท์เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ที่จังหวัดยโสธร [ 6] เป็นบุตรของวินัสชัย อินทนนท์ ชาวจังหวัดยโสธร และคำผัน สุวรรณศาลา ชาวจังหวัดร้อยเอ็ด (ถึงแก่กรรมแล้ว) มีน้องชาย 1 คนคือ รัชพล อินทนนท์ เมื่ออายุ 3 เดือน รัชนกย้ายเข้ากรุงเทพมหานคร ตามบิดาและมารดา ซึ่งมาทำงานที่โรงงานทำขนมบ้านทองหยอด และได้ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น นับแต่นั้น[ 7] รัชนกยังมีกมลา ทองกร เจ้าของโรงงานบ้านทองหยอด เป็นมารดาบุญธรรมอีกด้วย[ 8]
รัชนกเริ่มเล่นกีฬาแบดมินตัน เมื่ออายุได้ 6 ปี เนื่องจากกมลา ทองกร เกรงว่ารัชนกจะวิ่งเล่นซุกซนภายในโรงงานจนเกิดอุบัติเหตุได้ จึงได้นำเธอมาหัดเล่นแบดมินตันตั้งแต่บัดนั้น หนึ่งปีต่อมาเธอได้ลงแข่งขันเป็นครั้งแรก ในรายการอุดรธานี โอเพ่น และได้รับรางวัลชนะเลิศเป็นครั้งแรก[ต้องการอ้างอิง ]
รัชนกสำเร็จการศึกษา ระดับมัธยมตอนต้นจากโรงเรียนกสิณธรอาคาเดมี่[ 9] มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี และระดับอุดมศึกษาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
ประวัติการเล่นอาชีพ
พ.ศ. 2550 - 2552
ปี พ.ศ. 2550 ด้วยวัยเพียง 12 ปี รัชนกลงแข่งขัน รายการแบดมินตันชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก และได้รับเหรียญทองแดง ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 เธอได้รับเหรียญเงิน[ 10] และปี พ.ศ. 2552 เธอได้รับเหรียญทองเป็นครั้งแรก โดยเอาชนะสลักจิต พลสนะ อดีตแชมป์ประเทศไทย ได้ในรองรอบชนะเลิศ และเอาชนะทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย ได้ในรอบชิงชนะเลิศ[ 11]
ในระดับเยาวชน รัชนกลงแข่งขัน รายการ บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์จูเนียร์แชมเชียนชิพ หรือเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งโลก เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2551 โดยเข้าถึงรอบ 8 คนสุดท้าย ก่อนที่จะพ่ายให้กับหวัง ซื่อเสียน จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ปีต่อมา พ.ศ. 2552 รัชนกลงแข่งขันในรายการนี้อีกครั้ง และได้รับรางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง เป็นครั้งแรก ด้วยการเอาชนะพรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข รุ่นพี่ทีมชาติไทย ในรอบชิงชนะเลิศ โดยเธอถือเป็นนักแบดมินตันหญิงเดี่ยวที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ รวมถึงเป็นนักแบดมินตันไทยคนแรก ที่ได้รับตำแหน่งนี้[ 12]
พ.ศ. 2553
ในปี พ.ศ. 2553 รัชนกเริ่มก้าวเข้าสู่การแข่งขันในระดับทั่วไปในรายการที่ใหญ่ขึ้น และสามารถทำผลงานได้ดีในหลายรายการ ในเดือนตุลาคม ด้วยวัย 15 ปี รัชนกสามารถคว้าแชมป์แรกในระดับกรังด์ปรีซ์ และกรังด์ปรีซ์ โกลด์ ให้กับตัวเอง ได้ที่ประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซียตามลำดับ[ 13] [ 14] และในรอบปีนั้น ยังทำผลงาน เข้ารอบก่อนรองชนะเลิศได้ในรายการไชน่า ซูเปอร์ซีรีส์ พรีเมียร์, ฮ่องกง ซูเปอร์ซีรีส์, ไชนีส ไทเป กรังด์ปรีซ์โกลด์ และโคเรีย กรังด์ปรีซ์โกลด์
ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน รัชนกเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 16 ในนามทีมชาติไทย และได้รับรางวัลเหรียญเงิน ในประเภททีมหญิง โดยในรอบชิงชนะเลิศ เธอลงแข่งขันในฐานะเดี่ยวมือ 1 และพ่ายให้กับหวัง ซิน นักแบดมินตันมือ 1 ของโลกในสมัยนั้นไปอย่างสูสี 1-2 เกม 22-20 17-21 14-21[ 15]
อนึ่ง ในระดับเยาวชน รัชนกยังทำผลงานได้ดีอย่างต่อเนื่อง ด้วยการคว้าเหรียญทอง ประเภทหญิงเดี่ยว รายการแบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลก ได้เป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน[ 16] ส่วนในการแข่งขันแบดมินตันชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2553 รัชนกเข้าถึงรอบรองชนะเลิศ ก่อนจะพ่ายต่อสลักจิต พลสนะ 21-14 21-15[ 17]
พ.ศ. 2554
ในปี พ.ศ. 2554 รัชนกเป็นนักแบดมินตันที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ในรายการ บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์จูเนียร์แชมเชียนชิพ ด้วยการสร้างประวัติศาสตร์ คว้าแชมป์เยาวชนชิงชนะเลิศแห่งโลก ได้เป็นสมัยที่ 3 ติดต่อกัน เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์แบดมินตันโลก[ 18]
เดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน รัชนกเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2011 ในฐานะผู้เล่นทีมชาติไทย โดยลงแข่งขันทั้งในประเภทหญิงเดี่ยว และในประเภททีมหญิง ซึ่งรัชนกสามารถคว้ามาได้ 1 เหรียญทอง และ 1 เหรียญทองแดง จากประเภททีมหญิง และหญิงเดี่ยว ตามลำดับ
ในส่วนของผลงานรายการเก็บคะแนนสะสมในรอบปี รัชนกทำผลงานได้ดีที่สุด ด้วยการคว้าแชมป์ในรายการ อินเดีย โอเพ่น กรังด์ปรีซ์โกลด์ ในเดือนธันวาคม
พ.ศ. 2555
ปี พ.ศ. 2555 รัชนกสามารถทำผลงาน ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้ในรายการ ไทยแลนด์ โอเพ่น กรังด์ปรีซ์ โกลด์ ก่อนที่จะพ่ายต่อไซน่า เนห์วาล ไป 1-2 เซต ทำให้ได้เพียงอันดับสอง ต่อมาในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน รัชนกได้รับสิทธิ์เข้าแข่งขันโอลิมปิก 2012 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นครั้งแรก ในฐานะมือวางอันดับ 11 ของโลก[ 19] โดยเธอสามารถผ่านรอบแรกไปได้ และสามารถเอาชนะจูเลียน เชงค์ จากเยอรมัน ไปได้ในรอบ 16 คนสุดท้าย[ 20] ก่อนที่จะแพ้หวัง ซิน จากจีน ในรอบ 8 คนสุดท้ายไป 1-2 เซต[ 21]
หลังจากนั้น รัชนกสามารถทำผลงานได้ดีอีกครั้ง ด้วยการผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ รายการไชน่า โอเพ่น ซูเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์ ก่อนที่จะพ่ายแก่หลี่ เสวี่ยรุ่ย มืออันดับ 1 ของโลก ไป 0-2 เซต ได้เพียงอันดับ 2[ 22] แต่นั่นก็เพียงพอทำให้รัชนก ได้สิทธิ์ไปแข่งขันรายการซูเปอร์ ซีรีส์ สุดท้ายของปี ที่จะให้สิทธิ์สำหรับนักแบดมินตัน 8 อันดับแรกที่ทำคะแนนสะสมสูงสุดในรอบปี โดยในรายการสุดท้ายนี้ รัชนกสามารถเข้าถึงรอบรองชนะเลิศ ก่อนจะพ่ายต่อหวัง ฉีเซียน จากจีน ไป 0-2 เซต 12-21 19-21[ 23]
รัชนกในปี พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2556
วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 รัชนกสร้างสถิติโลกใหม่เป็นนักแบดมินตันที่อายุน้อยที่สุดที่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ในวัยเพียง 18 ปี หลังคว้าแชมป์ "โยเน็กซ์ ซันไรส์ อินเดีย โอเพ่น"[ 24] และในวันที่ 20 มิถุนายน สหพันธ์แบดมินตันโลก (บีดับเบิลยูเอฟ) ประกาศการจัดอันดับนักแบดมินตันโลก รัชนก อินทนนท์ ขยับขึ้นจากอันดับ 5 ไปเป็นมือ 3 โลก ในประเภทหญิงเดี่ยว[ 25]
วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556 รัชนก อินทนนท์ สามารถคว้าแชมป์การแข่งขันแบดมินตันโลกได้สำเร็จเป็นคนแรกของประเทศไทย และเป็นแชมป์โลกแบดมินตันที่มีอายุน้อยที่สุด รวมถึงในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556 รัชนก อินทนนท์ ได้ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 2 ของโลก จากการจัดอันดับของสหพันธ์แบดมินตันโลก[ 26]
พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน
รัชนกเป็นนักแบตมินตันคนแรกของโลกที่สามารถคว้าแชมป์ซูเปอร์ซีรีส์สามรายการติดต่อกันใน 3 สัปดาห์ ที่ประเทศอินเดีย , มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งยังไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน และทำคะแนนสะสมขึ้นนำเป็นนักแบตมินตันหญิงมือ 1 ของโลกประเภทหญิงเดี่ยว[ 27] โดยอันดับล่าสุด ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2559 รัชนกอยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก
ความสำเร็จ
รายการ
2013
แบดมินตันชิงแชมป์โลก
1 ! ทอง
รายการ
2009
2010
2011
แบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลก
1 ! ทอง
1 ! ทอง
1 ! ทอง
ชนะเลิศ (17)
ปี
สถานที่แข่งขัน
รายการ
คู่ต่อสู้ในรอบชิงชนะเลิศ
ผลคะแนน
2560
เดนมาร์ก
เดนมาร์ก ซุปเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์
อะกะเนะ ยะมะกุชิ
14–21, 21–15, 21-19
2560
นิวซีแลนด์
นิวซีแลนด์ โอเพน กรังด์ปรีซ์ โกลด์
ซะเอะนะ คะวะคะมิ
21–14, 16–21, 21–15
2560
ไทย
ไทยแลนด์ โอเพน กรังด์ปรีซ์ โกลด์
บุศนันท์ อึ๊งบำรุงพันธ์
21–18, 12–21, 21–16
2559
สิงคโปร์
โอยูอี สิงคโปร์ โอเพ่น ซุปเปอร์ ซีรีส์
ซุน หยู่
18-21, 21-11, 21-14
2559
มาเลเซีย
มาเลเซีย โอเพ่น ซุปเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์
ไต้ จือ อิ่ง
21-14, 21-15
2559
อินเดีย
โยเน็กซ์-ซันไรส์ อินเดีย โอเพ่น ซูเปอร์ ซีรีส์
หลี่ เสวี่ยรุ่ย
21-17, 21-18
2559
ไทย
ปริ๊นเซส ศิริวัณณวรี ไทยแลนด์มาสเตอร์
ซุน หยู่
21-19, 18-21, 21-17
2558
อินโดนีเซีย
แบดมินตัน บีซีเอ อินโดนีเซีย ซุปเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์
ยุอิ ฮะชิโมะโตะ
21-11, 21-10
2558
จีน
แบดมินตันชิงแชมป์เอเชีย
หลี่ เสวี่ยรุ่ย
20-22, 23-21, 21-12
2556
จีน
แบดมินตันชิงแชมป์โลก
หลี่ เสวี่ยรุ่ย
22-20, 18-21, 21-14
2556
ไทย
เอสซีจี ไทยแลนด์ โอเพ่น กรังด์ปรีซ์ โกลด์
บุศนันท์ อึ๊งบำรุงพันธ์
20-22, 21-19, 21-13
2556
อินเดีย
โยเน็กซ์-ซันไรส์ อินเดีย โอเพ่น ซูเปอร์ ซีรีส์
จูเลียน เชงค์
22-20, 21-14
2554
อินเดีย
โยเน็กซ์-ซันไรส์ อินเดีย โอเพ่น กรังด์ปรีซ์ โกลด์
พรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข
ถอนตัว
2553
อินโดนีเซีย
อินโดนีเซีย โอเพ่น กรังด์ปรีซ์ โกลด์
เฉา ฉี เฉิง
21-12, 19-21, 21-16
2553
เวียดนาม
โยเน็กซ์-ซันไรส์ เวียดนาม โอเพ่น กรังด์ปรีซ์
โจว หุย
21-17, 22-20
2553
ไทย
สมายลิ่ง ฟิช อินเตอร์เนชั่นแนล ซีรีส์
รวินดา ประจงใจ
21-10, 21-17
2552
เวียดนาม
เวียดนาม อินเตอร์เนชั่นแนล แชลเลนจ์
มาเรีย อัลฟิรา คริสตินา
21-18, 21-14
รายการระดับ ซูเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์ และซูเปอร์ ซีรีส์
รายการระดับ กรังด์ปรีซ์ โกลด์ และกรังด์ปรีซ์
ผลงาน
รายการระดับซูเปอร์ ซีรีส์ และกรังด์ปรีซ์
ความหมาย
การเข้าชิงชนะเลิศ : 10 (5-5)
ผลลัพธ์
ปี (พ.ศ.)
รายการ
ระดับ
คู่แข่งขัน
คะแนน
ชนะเลิศ
2553
เวียดนาม โอเพ่น
กรังด์ปรีซ์
โจว หุย
21-18, 21-14
ชนะเลิศ
2553
อินโดนีเซีย โอเพ่น
กรังด์ปรีซ์ โกลด์
เฉา ฉี เฉิง
21-12, 19-21, 21-16
รองชนะเลิศ
2554
ไชนีส ไทเป โอเพ่น
กรังด์ปรีซ์ โกลด์
ซุง จีฮุน
20–22, 14–21
ชนะเลิศ
2554
อินเดีย โอเพ่น
กรังด์ปรีซ์ โกลด์
พรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข
ถอนตัว
รองชนะเลิศ
2555
ไทยแลนด์ โอเพ่น
กรังด์ปรีซ์ โกลด์
ไซน่า เนวาห์ล
21-19, 15-21, 10-21
รองชนะเลิศ
2555
ไชน่า โอเพ่น
ซูเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์
หลี่ เสวี่ยรุ่ย
12-21, 9-21
รองชนะเลิศ
2556
ออล อิงแลนด์
ซูเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์
ทิเน่ เบาน์
14-21, 21-16, 10-21
รองชนะเลิศ
2556
สวิส โอเพ่น
กรังด์ปรีซ์ โกลด์
หวัง ซื่อเสียน
16-21, 12-21
ชนะเลิศ
2556
อินเดีย โอเพ่น
ซูเปอร์ ซีรีส์
จูเลียน เชงค์
21-1,0-21,29-30
ชนะเลิศ
2556
ไทยแลนด์ โอเพ่น
กรังด์ปรีซ์ โกลด์
บุศนันท์ อึ๊งบำรุงพันธ์
20-22, 21-19, 21-13
รางวัลที่ได้รับ
นักแบดมินตันดาวรุ่งยอดเยี่ยมประจำปี 2552 สหพันธ์แบดมินตันโลก (ฺEDDY CHOONG MOST PROMISING PLAYER OF THE YEAR AWARD 2009 - Badminton World Federation)[ 28]
รางวัลนักกีฬาที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนทั่วโลกปี 2553 จากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (2010 IOC SPORT-INSPIRING YOUNG PEOPLE TROPHY)[ 29] [ 30]
รางวัลนักกีฬาสมัครเล่นยุวชนหญิงยอดเยี่ยม สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2552
รางวัลนักกีฬาสมัครเล่นยุวชนหญิงยอดเยี่ยม สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2553
รางวัลนักกีฬาสมัครเล่นยอดเยี่ยมหญิง สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2554 (ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) [ 31]
รางวัลนักกีฬาสมัครเล่นยอดเยี่ยมหญิง สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2556 (ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) [ 32]
รางวัลนักกีฬาสมัครเล่นยอดเยี่ยมหญิง สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2558 (ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) [ 33]
พ.ศ. 2557 รางวัลนักกีฬาสมัครเล่นยอดเยี่ยมหญิง สยามกีฬาอวอร์ดส์ ครั้งที่ 8 [ 34] [ 35]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น