ระดับอุณหภูมิของนิวตรอน (อังกฤษ : neutron temperature ) หรือ พลังงานนิวตรอน (อังกฤษ : neutron energy ) จะแสดง พลังงานจลน์ ของ นิวตรอนอิสระ มีหน่วยเป็น อิเล็กตรอนโวลท์ คำว่า "อุณหภูมิ" ถูกใช้เพราะนิวตรอนร้อน(อังกฤษ : hot neutron ), นิวตรอนความร้อน (อังกฤษ : thermal neutron ) และนิวตรอนเย็น (อังกฤษ : cold neutron ) ถูก หน่วง ในตัวกลางหนึ่งที่มีอุณหภูมิระดับหนึ่ง จากนั้นการกระจายพลังงานของนิวตรอนจะถูกปรับให้เป็นไปตาม การกระจายตัวแบบแมกซ์เวลล์-โบลส์แมนน์ หรือ Maxwellian distribution ที่เรียกว่าการเคลื่อนที่เชิงความร้อน (อังกฤษ : thermal motion ) ในเชิงปริมาณ อุณหภูมิยิ่งสูง พลังงานจลน์ของนิวตรอนอิสระก็ยิ่งมาก พลังงานจลน์, ความเร็ว และ ความยาวคลื่น ของนิวตรอน มีความสัมพันธ์ที่เป็นไปตาม ความสัมพันธ์ของเดอเบรย (อังกฤษ : De Broglie relation )
ช่วงการกระจายพลังงานของนิวตรอน
ชื่อช่วงพลังงานนิวตรอน[ 1]
พลังงานนิวตรอน
ช่วงพลังงาน
0.0–0.025 eV
นิวตรอนเย็น
0.025 eV
นิวตรอนความร้อน
0.025–0.4 eV
นิวตรอนเอพิเทอร์มัล
0.4–0.6 eV
นิวตรอนแคดเมียม
0.6–1 eV
นิวตรอนเอพิแคดเมียม
1–10 eV
นิวตรอนช้า
10–300 eV
นิวตรอนเรโซแนนซ์
300 eV–1 MeV
นิวตรอนกลาง
1–20 MeV
นิวตรอนเร็ว
> 20 MeV
นิวตรอนเร็วยิ่งยวด
แต่ในแหล่งข้อมูลอื่น อาจมีช่วงอุณหภูมิและชื่อนิวตรอนที่แตกต่างไป เช่น
นิวตรอนเอพิความร้อนมีพลังงานระะหว่าง 1 eV ถึง 10 keV แต่มีภาคตัดขวางนิวเคลียสเล็กกว่านิวตรอนความร้อน[ 2]
ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดของคุณสมบัติ:
นิวตรอนความร้อน
Thermal neutron ("Thermal" ไม่ได้หมายถึงอุณหภูมิที่ร้อน (hot) ในความหมายทั่วไป แต่หมายถึงการสมดุลของอุณหภูมิที่มีกับตัวกลางที่มันมีปฏิสัมพันธ์ด้วย เช่นเชื้อเพลิงของเครื่องปฏิกรณ์, ตัวหน่วงปฏิกิริยาและโครงสร้าง ซึ่งมีพลังงานต่ำกว่านิวตรอนเร็วที่เกิดในตอนต้นจากปฏิกิริยาฟิชชั่นมาก) เป็นนิวตรอนอิสระที่มีพลังงานจลน์ประมาณ 0.025 eV (ประมาณ 4.0×10−21 J หรือ 2.4 MJ/kg, นั่นคือความเร็วจะเป็น 2.2 km/s), ซึ่งเป็นพลังงานที่สอดคล้องกับความเร็วที่เป็นไปได้ที่สุดที่อุณหภูมิ 290 K (17 °C or 62 °F), ซึ่งเป็นโหมดของ การกระจายแบบแมกซเวลล์–โบลซ์แมนน์ สำหรับระดับอุณหภูมินี้
หลังจากการชนกันหลายครั้งกับนิวเคลียสต่าง ๆ (การกระเจิง ) ในตัวกลางหนึ่ง (ตัวหน่วงนิวตรอน ) ที่ระดับอุณหภูมินี้. นิวตรอนจะอยู่ที่ระดับอุณหภูมิประมาณนี้ ถ้าพวกมันไม่ถูกดูดซับไปซะก่อน
นิวตรอนความร้อนทั้งหลายสำหรับนิวไคลด์ ชนิดเดียวกันจะมีภาคตัดขวางในการดูดซับนิวตรอนได้อย่างมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันและมักจะมีขนาดที่ใหญ่กว่านิวตรอนเร็วมาก เพราะฉะนั้นพวกมันจึงมักจะสามารถถูกดูดซับได้ง่ายกว่าโดยนิวเคลียส ผลก็คือทำให้เกิดไอโซโทป ที่หนักกว่าและมักจะไม่เสถียรของสารเคมี (การกระตุ้นนิวตรอน )
นิวตรอนเอพิเทอร์มัล
Epithermal neutron เป็นนิวตรอนที่มีพลังงานมากกว่านิวตรอนความร้อน
มากกว่า 0.2 eV
นิวตรอนแคดเมียม
Cadmium neutron เป็นนิวตรอนซึ่งจะถูกแคดเมียมดูดซึมอย่างมาก
น้อยกว่า 0.4 eV
นิวตรอนเอพิแคดเมียม
Epicadmium neutron เป็นนิวตรอนที่แคดเมียมไม่ได้ดูดซึมอย่างมาก
มากกว่า 0.6 eV
นิวตรอนช้า
Slow neutron เป็นนิวตรอนที่มีพลังงานสูงกว่านิวตรอนเอพิแคดเมียมเล็กน้อย
น้อยกว่า 1-10 eV
นิวตรอนเรโซแนนซ์
Resonance neutron หมายถึงนิวตรอนที่มีความอ่อนไหวอย่างยิ่งและถูกจับยึดแบบไม่ใช่ฟิชชันโดย U-238
1 eV ถึง 300 eV
นิวตรอนกลาง
Intermediate neutron เป็นนิวตรอนที่อยู่ระหว่างช้ากับเร็ว
ไม่กี่ร้อย eV จนถึง 0.5 MeV
นิวตรอนเร็ว
Fast neutron เป็นนิวตรอนอิสระที่มีระดับพลังงานจลน์ใกล้กับ 1 MeV (100 TJ/กก.) จึงมีความเร็วที่ 14,000 กม/s หรือสูงกว่า พวกมันถูกตั้งชื่อว่านิวตรอน เร็ว เพื่อให้พวกมันแตกต่างจากนิวตรอนความร้อนที่มีพลังงานต่ำกว่า และนิวตรอนพลังงานสูงที่ผลิตขึ้นในห้องรังสีคอสมิกหรือเครื่องเร่งอนุภาค
นิวตรอนเร็วจะถูกผลิตขึ้นโดยกระบวนการนิวเคลียร์ต่อไปนี้:
นิวตรอนเร็วสามารถทำให้เป็นนิวตรอนความร้อนได้โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่าการหน่วง กระบวนการนี้ถูกกระทำโดย ตัวหน่วงนิวตรอน ในเครื่องปฏิกรณ์โดยทั่วไป น้ำหนัก , น้ำเบา หรือ แกรไฟต์ จะถูกใช้ในการหน่วงนิวตรอน
นิวตรอนเร็วยิ่งยวด
Ultrafast neutron เป็นไปตามทฤษฎีสัมพันธภาพ
มากกว่า 20 MeV
การจำแนกประเภทอื่น ๆ
กอง (อังกฤษ
pile )
นิวตรอนของทุกพลังงานที่มีอยู่ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
0.001 eV ถึง 15 MeV
นิวตรอนเย็นยิ่งยวด
แผนภูมิแสดงฟังก์ชันความหนาแน่นของความน่าจะเป็นแบบความเร็วของระดับความเร็วต่าง ๆ ของ ก๊าซเฉื่อย บางตัวที่อุณหภูมิ 298.15 °K (25 °C) คำอธิบายในแกนแนวตั้งปรากฏอยู่บนหน้าภาพ (คลิกเพื่อดู) นิวตรอน ที่ได้จากการ หน่วง จะมีการกระจายความเร็วที่คล้ายกัน
นิวตรอนเย็นยิ่งยวด (อังกฤษ : ultracold neutron (UCN) ) เป็นนิวตรอนอิสระที่สามารถถูกเก็บไว้ในกับดักที่ทำจากวัสดุบางชนิด[ระบุ ]
อ้างอิง
↑ Carron, N.J. (2007). An Introduction to the Passage of Energetic Particles Through Matter . p. 308.
↑ H. Tomita, C. Shoda, J. Kawarabayashi, T. Matsumoto, J. Hori, S. Uno, M. Shoji, T. Uchida, N. Fukumotoa and T. Iguchia-"Development of epithermal neutron camera based on resonance-energy-filtered imaging with GEM" (2012)
↑ Byrne, J. Neutrons, Nuclei, and Matter , Dover Publications, Mineola, New York, 2011, ISBN 978-0-486-48238-5 (pbk.) p. 259.
แหล่งข้อมูลอื่น