รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม

รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม
ขบวน คลาส 92 SCS 14 ชุมทางเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของบรรษัทสินทรัพย์การรถไฟมาเลเซีย
ที่ตั้งส่วนกลาง
(จุงมาลิม–ราวัง–กัวลาลัมเปอร์–พอร์ตกลัง;
(บาตูเคฟส์–กัวลาลัมเปอร์–เซอเริมบัน–ปูเลาเซอบัง/ตัมปิน)
ส่วนเหนือ
(บูกิต เมอร์ตาจัม –อีโปะฮ์;
บัตเตอร์เวิร์ท–อีโปะฮ์)
จำนวนสถานี79
สีบนแผนที่1 2 10 (ส่วนกลาง)
 1   2  (ส่วนเหนือ)
เว็บไซต์www.ktmb.com.my/ktmb
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟชานเมือง
ผู้ดำเนินงานเกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู (แผนกชานเมือง)
ขบวนรถKTM Class 81 3 ตู้ต่อขบวน
KTM Class 83 3 ตู้ต่อขบวน
KTM Class 92 6 ตู้ต่อขบวน
ผู้โดยสารต่อวัน85,120 (ไตรมาสสาม 2018)[1]
ผู้โดยสาร37.235 ล้าน (2017) [1]
ประวัติ
เปิดเมื่อ14 สิงหาคม 1995; 29 ปีก่อน (1995-08-14)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง560.8 km
รางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in) มีเตอร์เกจ
ระบบจ่ายไฟ25 kV 50 Hz เหนือหัว
ระบบการนำไฟฟ้าแบบมีคนขับ
แผนที่เส้นทาง

รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม (มลายู: KTM Komuter) เป็นระบบรถไฟฟ้าชานเมืองขนาดใหญ่ในประเทศมาเลเซีย ดำเนินการโดยเกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู (เคทีเอ็ม) เปิดใช้งานครั้งแรกในปี ค.ศ. 1995 ช่วยในการขนส่งระหว่างกัวลาลัมเปอร์กับเขตชานเมืองในหุบเขากลัง ในภายหลังได้ขยายบริการรถไฟชานเมืองไปยังส่วนอื่นๆของประเทศมาเลเซียเช่นการเปิดตัว รถไฟชานเมืองส่วนเหนือรถไฟทุกขบวนเป็นรถไฟฟ้า และติดตั้งระบบปรับอากาศ ทุกสถานีจะมีจุดจอดแล้วจร

รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม เป็นหน่วยงามที่ทำกำไรได้มากที่สุดในกลุ่มเคทีเอ็ม โดยทำกำไรมากถึง 84.63 ล้านริงกิตในปี ค.ศ. 2006 สูงกว่ารถไฟระหว่างเมืองซึ่งทำกำไรได้เพียง 70.94 ล้านริงกิตในปีเดียวกัน[2] สถิติข้อมูลปี ค.ศ. 2008 จากกระทรวงคมนาคมมาเลเซีย มีจำนวนผู้โดยสาร 36.557 ล้านคนต่อปี[3]

โครงสร้างพื้นฐาน

โครงข่ายในปัจจุบัน

สาย เปิดให้บริการ จำนวนสถานี ระยะทาง ปลายทาง
ส่วนกลาง
1 สายบาตูเคฟส์–ปูเลาเซอบัง
14 สิงหาคม 1995 32 135 km บาตูเคฟส์ ปูเลาเซอบัง/ตัมปิน
ส่วนกลาง
2 สายตันจุงมาลิม–พอร์ตกลัง
14 สิงหาคม 1995 27 126 km ตันจุงมาลิม พอร์ตกลัง
ส่วนกลาง
10 สายเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์–เทอมินัล สกายพาร์ก
1 พฤษภาคม 2018 3 26 km เซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ เทอมินัล สกายพาร์ก
ส่วนเหนือ
 1  สายอีโปะฮ์–บัตเตอร์เวิร์ท
11 กันยายน 2015 8 104 km อีโปะฮ์ บัตเตอร์เวิร์ท
ส่วนเหนือ
 2  สายปาดังเบซาร์–บัตเตอร์เวิร์ท
1 มกราคม 2016 13 169.8 km ปาดังเบซาร์ บัตเตอร์เวิร์ท
รวม 79 560.8 km  

ส่วนกลาง

รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม มีระยะทางรวม 175 กิโลเมตร (109 ไมล์) โครงข่ายของรถไฟขานเมืองในส่วนกลางนั้นส่วนใหญ่ครอบคลุมหุบเขากลังจำนวนสถานีทั้งหมด 53 สถานี จำนวนสองสายวิ่งตัดกัน ได้แก่ สายพอร์ตกลัง และสายเซอเริมบัน อีกทั้งยังมีสายย่อยอีกสายหนึ่ง คือ สายราวัง-ตันจุงมาลิม ซึ่งเปิดใช้งานในเดือนเมษายน ค.ศ. 2007.

สถานีเปลี่ยนเส้นทางซึ่งเชื่อมต่อระหว่างสองสาย มีอยู่ 4 สถานี ได้แก่ เคแอลเซ็นทรัล, กัวลาลัมเปอร์, ธนาคารเนอการา และปุตรา ส่วนผู้โดยสารที่เดินทางจากสถานีระหว่างราวัง-ตันจุงมาลิม ต้องเปลี่ยนขบวนรถไฟที่สถานีราวัง บัตรโดยสารรถไฟสามารถซื้อได้ตามเครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารในแต่ละสถานี

สายสกายพาร์คลิงก์ (KL เซ็นตรัล - เทอร์มินัลสกายพาร์ค) คือรถไฟด่วนพิเศษสำหรับผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปสนามบินสุบังโดยเฉพาะ เพื่อการประหยัดเวลาในการเดินทางรถไฟจะหยุดสถานีระหว่างทางเพียงสถานีเดียวคือ สถานีสุบัง จายา รถไฟสายสกายพาร์คลิงก์ถือเป็นรถไฟเชื่อมสนามบินสายที่ 2 ของมาเลเซีย

สถานีรถไฟบางแห่งยังมีศูนย์การค้าอีกด้วย เช่น สถานีมิดเวลเลย์ ซึ่งเปิดในปี ค.ศ. 2004 ตั้งอยู่ถัดจากมิดเวลเลย์เมกะมอลล์, สถานีซูบังจายา ตั้งอยู่ใกล้ห้างซูบังพาเหรดและคาร์ฟูร์, สถานีเซอดัง ตั้งอยู่ใกล้ห้างเดอะมิเนส

ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปยังท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ สามารถนั่งรถไฟชานเมืองไปลงที่สถานีนีไล และเปลี่ยนไปใช้รถโดยสารท่าอากาศยาน หรือลงที่เคแอลเซ็นทรัล และเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าเคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรสก็ได้ การเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟเร็วกัวลาลัมเปอร์ สามารถนั่งรถไฟชานเมืองลงที่ สถานีบันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน (สายอัมปัง) และเคแอลเซ็นทรัล (สายเกอลานาจายา) ได้

เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารที่หนาแน่นในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน เคทีเอ็มจึงได้หาวิธีการบรรเทาความหนาแน่น โดยใช้ระบบต่อคิวแบบใหม่เพื่อให้ผู้โดยสารทราบเวลารถไฟมาถึง สีประจำสายจะถูกลงสีไว้บริเวณพื้น หรือตัวขบวน ระบบนี้เริ่มใช้ครั้งแรกวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2008 โดยเริ่มใช้ที่เคแอลเซ็นทรัลเป็นที่แรก[4] นอกจากนี้ยังได้เพิ่มบริการรถไฟด่วนระหว่างสถานีสุไหงบูโลห์-กาจัง และกัวลาลัมเปอร์-ชาห์อลัมอีกด้วย[5]

ส่วนเหนือ

รถไฟชานเมืองส่วนเหนือ ให้บริการระหว่างสถานีกูรุน ใน เกดาห์ สถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ใน ปีนัง สถานีเกมัตติ้ง ใน เปรัก

เส้นทางถูกเปลี่ยนมาสองครั้ง ในปัจจุบันมีสองสาย คือ

  1. สายปาดังเบซาร์ - บัตเตอร์เวิร์ธ
  2. สายบูกิตเมเตอร์แจม - เปดังเรนกัส

โดยผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนสายได้ที่สถานีบูกิต เมเตอร์แจม

สถานี

สถานีรถไฟชานเมืองของเคทีเอ็ม มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย และยังมีชานชาลาที่สูง เพื่อให้สามารถขึ้น-ลงรถไฟได้สะดวก สถานีรถไฟยุคแรก ๆ ได้แก่ กัวลาลัมเปอร์, กลัง, พอร์ตกลัง และเซอเริมบัน ได้รับการปรับปรุงและพัฒนายกระดับเป็นสถานีรถไฟฟ้าชานเมือง จากเดิมที่เป็นอาคารไม้ ได้สร้างใหม่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ยกเว้นแต่สถานีเซนทัล ที่ยังคงรักษาเค้าโครงเดิมของสถานีไว้อยู่

สถานีรถไฟฟ้า แบ่งตามขนาดได้ 2 ประเภท ดังนี้

  • จุดหยุดรถไฟ มักอยู่บนช่วงที่มีเพียงเส้นทางเดียว ประกอบด้วยอาคารชั้นเดียว ช่องจำหน่ายตั๋ว 1 ช่อง
  • สถานีขนาดกลาง มักอยู่บนช่วงที่มีเส้นทาง 2-3 สาย มีขนาดใหญ่กว่า ประกอบด้วยบริเวณจำหน่ายตั๋วและที่ทำการ สิ่งอำนวยความสะดวก ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟ

ชานชาลาของสถานีรถไฟยุคแรก ๆ จะเป็นชานชาลาอิฐเคลือบเพชร แต่ในสถานีรถไฟยุคปัจจุบันจะเป็นชานชาลาปูน เคลือบกระเบื้องมีแถบสี

นี่คือรายชื่อสถานีรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม

สายพอร์ตกลัง สายเซอเริมบัน สายย่อยราวัง-ตันจงมาลิม
  • พอร์ตกลัง
  • จาลันกัสตัม
  • กัมปงรายาอุดา
  • เตอลักกาดง
  • เตอลักปูไล
  • กลัง
  • บูกิตบาดัก
  • ปาดังชวา
  • ชาห์อลัม บุคคลพิการและผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้สามารถเข้าถึงได้
  • บาตูไทกา
  • ซูบังจายา บุคคลพิการและผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้สามารถเข้าถึงได้
  • เซอเตียจายา
  • เซอรีเซอเตีย
  • กัมปงดาโตฮารัน
  • จาลันเทมเพลอร์
  • เปอตาลิง
  • ปันไตดาลัม
  • อังกาซาปุริ
  • เคแอลเซ็นทรัล บุคคลพิการและผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้สามารถเข้าถึงได้
  • กัวลาลัมเปอร์
  • ธนาคารเนอการา บุคคลพิการและผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้สามารถเข้าถึงได้
  • ปุตรา
  • เซ็นทัล บุคคลพิการและผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้สามารถเข้าถึงได้
  • บาตูเกนตนเมน บุคคลพิการและผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้สามารถเข้าถึงได้
  • กัมปงบาตู บุคคลพิการและผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้สามารถเข้าถึงได้
  • ตามันวาห์ยู บุคคลพิการและผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้สามารถเข้าถึงได้
  • บาตูเคฟส์ บุคคลพิการและผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้สามารถเข้าถึงได้
  • ราวัง บุคคลพิการและผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้สามารถเข้าถึงได้
  • เซอเรนดาห์ บุคคลพิการและผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้สามารถเข้าถึงได้
  • บาตังกาลี บุคคลพิการและผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้สามารถเข้าถึงได้
  • ราซา บุคคลพิการและผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้สามารถเข้าถึงได้
  • กัวลากูบูบาห์รู บุคคลพิการและผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้สามารถเข้าถึงได้
  • ตันจงมาลิม บุคคลพิการและผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้สามารถเข้าถึงได้

ระบบรถไฟ

รถไฟฟ้ารุ่น 83 (EMU 35) ที่สถานีธนาคารเนอการา

รถไฟชานเมืองรุ่นแรก ๆ ใช้รถไฟฟ้า 3 คันต่อขบวนทำการ ถือเป็นระบบรถไฟฟ้าแห่งแรกของเกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู รถไฟฟ้ารับกระแสไฟฟ้าโดยใช้ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว ใน 1 ขบวน จะมีคันที่มีห้องขับ 2 คัน (หัว-ท้าย) และคันที่ไม่มีห้องขับ 1-3 คัน ใช้ระบบประตูเปิด-ปิดอัตโนมัติ

รถไฟฟ้าในรุ่น "8x" จะมีลายสีเหลือง, น้ำเงิน, เทา โดยสีเทาได้มาจากสีของรถจักรและรถโดยสารของเคทีเอ็ม ในบางคันจะมีโฆษณาติดข้างรถด้วย

รถไฟฟ้ารุ่นเริ่มแรกของเคทีเอ็ม ได้แก่

  • รุ่น 81 (หมายเลข EMU 01 - EMU 18) ผลิตโดย ออสเตรีย-ฮังการี เจนบาเชอร์ (ค.ศ. 1994-1995)
  • รุ่น 83 (หมายเลข EMU 19 - EMU 40) ผลิตโดย เกาหลีใต้ ฮุนได (ค.ศ. 1996-1997)
  • รุ่น 82 (หมายเลข EMU 41 - EMU 62) ผลิตโดย แอฟริกาใต้ ยูเนียแคริเอจแอนด์แวกอน (ค.ศ. 1996-1997)

สถิติปี ค.ศ. 2010 มีรถไฟฟ้าที่ใช้การได้ 53 จาก 62 คัน[6] แต่ในปัจจุบัน รถไฟฟ้าอีก 9 คันได้ทำการซ่อมแซมเรียบร้อยแล้ว

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 ได้มีการนำเข้ารถไฟฟ้ารุ่น 92 EMU จำนวน 38 คัน ซึ่งผลิตโดยบริษัทซูโจว[6] นำมาพ่วงเป็น 6 คันต่อขบวน

รถไฟรุ่น 92 ที่สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์

โครงการในอนาคต

การขยายเส้นทางและสถานี

ในช่วงปี ค.ศ. 2000-2010 ได้มีการทยอยเปิดใช้งานสถานีดังต่อไปนี้[7]

  • สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ เปิดให้บริการวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 2001 โดยเปิดใช้งานในฐานะสถานีรถไฟระหว่างเมืองและสถานีรถไฟชานเมืองหลัก แทนที่สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์
  • สถานีมิดเวลเลย์ เปิดให้บริการวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 2004 ตั้งอยู่บริเวณย่านการค้าเมกะมอลล์ และย่านพาณิชยกรรมอื่น ๆ
  • สถานีเกอปงเซ็นทรัล เปิดให้บริการวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 ตั้งอยู่บริเวณถนนวงแหวนกลางสาย 2
  • สถานีเซอเรนดาห์, สถานีบาตัง และสถานีราซา เปิดให้บริการวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 2007 ส่วนหนึ่งของสายย่อยราวัง-ราซา
  • สถานีกัวลากูบูบาห์รู เปิดให้บริการวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 2008 ส่วนต่อขยายของสายย่อยราวัง-ราซา
  • สายย่อยเปิดเดินรถถึงสถานีตันจงมาลิม ในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2009 พร้อมเปลี่ยนชื่อสายจาก สายย่อยราวัง-ราซา เป็น สายย่อยราวัง-ตันจงมาลิม
  • สายพอร์ตกลัง เปิดเดินรถส่วนต่อขยายไปยังสถานีบาตูเคฟส์ ในวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 2010 พร้อมกับสถานีใหม่อีก 4 สถานี
  • สายเซอเริมบัน เปิดเดินรถส่วนต่อขยายไปยังสถานีซูไงกาดุ๊ต ในปี ค.ศ. 2012 และสถานีเริมบอในปี ค.ศ. 2013 พร้อมกับสถานีใหม่อีก 3 สถานี

ส่วนต่อขยายเส้นทางเดิม

  • เคทีเอ็ม มีแผนจะขยายเส้นทางรถไฟชานเมืองไปยังปาเลาเซอบัง, มะละกา และเกมัส ระยะทางส่วนต่อขยายรวม 85 กิโลเมตร (53 ไมล์)[8]
  • ส่วนต่อขยายจากสถานีซูบังจายาไปยังสถานีซูบังสกายปาร์ก (กำลังก่อสร้าง) มีสถานีทั้งหมด 3 สถานี ได้แก่ เกลินมาเรีย, ศรีซูบัง และซูบังสกายปาร์ก[9][10]

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์

  • วันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2004 — ในช่วงเย็น มีรถไฟชานเมืองสายเซอเริมบัน ได้พุ่งชนกับท้ายขบวนรถไฟอีกขบวน ระหว่างสถานีตีโรอี-เซอเริมบัน ผู้โดยสารบาดเจ็บ 40 คน ไม่มีผู้เสียชีวิต สาเหตุของอุบัติเหตุมาจากความผิดพลาดของระบบอาณัติสัญญาณ จากอุบัติเหตุครั้งนี้ ทำให้รถไฟต้องปิดทำการชั่วคราว 1 วัน ถือว่าเป็นอุบัติเหตุที่ร้ายแรงที่สุดของเคทีเอ็ม[11]
  • วันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 2007 — มีรถยกคันหนึ่งตกลงไปในทางรถไฟสายเซอเริมบัน ใกล้กับสถานีชาห์อลัม ทำให้ทางถูกปิดชั่วคราวเพื่อยกรถออก[12]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 —ชายคนหนึ่งชนรถไฟขณะข้ามทางรถไฟอย่างผิดกฎหมาย ส่งผลให้เสียชีวิตในเวลาต่อมา
  • วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 — ลวดรับไฟฟ้าเหนือหัวในสายพอร์ตกลัง ได้รับความเสียหาย ส่งผลให้ไม่สามารถเดินรถได้
  • วันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2009 — ยานพาหนะเอนกประสงค์ ตกลงไปในทางรถไฟ เมื่อรถไฟผ่านมาจึงชนเข้าและได้รับความเสียหาย และใช้เวลา 3 ชั่วโมงในการย้ายพาหนะนั้นออกจากราง[13]
  • วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 — หญิงวัย 50 ปีตกลงไปในรางรถไฟที่สถานีตามันวาห์ยู ก่อนที่จะถูกรถไฟลากไปกว่า 50 เมตรจนเสียชีวิต[14]

เหตุการณ์สำคัญ

  • 3 สิงหาคม ค.ศ. 1995 — ทดลองรถไฟฟ้าช่วงแรก ระหว่างสถานีกัวลาลัมเปอร์–ราวัง
  • 14 สิงหาคม ค.ศ. 1995 — เปิดใช้งานรถไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ ระหว่างสถานีกัวลาลัมเปอร์–ราวัง
  • 28 สิงหาคม ค.ศ. 1995 — เปิดใช้งานช่วงสถานีเซ็นตัล–ชาห์อลัม ก่อนขยายไปกลัง
  • 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 — ขยายเส้นทางกัวลาลัมเปอร์–ราวัง ไปกลัง
  • 18 ธันวาคม ค.ศ. 1995 — เปิดใช้งานส่วนต่อขยายไปเซอเริมบัน
  • 16 เมษายน ค.ศ. 2001 — เปิดใช้งานสถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ ในส่วนของรถไฟฟ้าชานเมือง
  • 3 มีนาคม ค.ศ. 2004 — เกิดอุบัติเหตุรถไฟชนกันในสายเซอเริมบัน
  • 23 สิงหาคม ค.ศ. 2004 — เปิดใช้งานสถานีมิดเวลเลย์
  • 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 — เข้าร่วมระบบบัตรโดยสาร Touch'n Go
  • 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 — เปิดใช้งานสถานีเกอปงเซ็นทรัล
  • 21 เมษายน ค.ศ. 2007 — เปิดใช้งานสายย่อยราวัง–ราซา
  • 5 มกราคม ค.ศ. 2008 — เปิดใช้งานสถานีกัวลากูบูบาห์รู และเปลี่ยนชื่อ สายย่อยราวัง–ราซา เป็น สายย่อยราวัง–กัวลากูบูบาห์รู
  • 1 มิถุนายน ค.ศ. 2009 — เปิดใช้งานสถานีตันจงมาลิม และเปลี่ยนชื่อ สายย่อยราวัง–กัวลากูบูบาห์รู เป็น สายย่อยราวัง–ตันจงมาลิม
  • 28 เมษายน ค.ศ. 2010 — เริ่มพ่วงตู้โดยสารสำหรับสุภาพสตรีเป็นครั้งแรก
  • 29 กรกฎาคม ค.ศ. 2010 — ส่วนต่อขยายสายพอร์ตกลัง ปลายทางสถานีบาตูเคฟส์ เปิดใช้งานครั้งแรก
  • 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 — ส่วนต่อขยายสายเซอเริมบัน ปลายทางสถานีซูไงกะดุ๊ต เปิดใช้งานครั้งแรก

สมุดภาพ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Statistic for Rail Transport" (ภาษามาเลย์ และ อังกฤษ). Ministry of Transport, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-07. สืบค้นเมื่อ 13 December 2018.
  2. Nathan, Darshini M. (6 October 2007). "Back on track: KTMB upgrades to be competitive". Bizweek, The Star. Kuala Lumpur.
  3. "Number of Passengers for Light Rail Transit (LRT) Services, 1999 - 2008" (PDF). Ministry of Transport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-01-13. สืบค้นเมื่อ 2015-05-12.
  4. Michael, Stuart (24 October 2008). "KTM implements new queuing scheme for passengers". The Star. Kuala Lumpur. สืบค้นเมื่อ 26 October 2008.
  5. "Six trains for new services". New Straits Times. Kuala Lumpur. 26 October 2008.
  6. 6.0 6.1 "Chinese trains to expand KL Komuter fleet". Railway Gazette International. 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-04. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "Construction of New Commuter Stations". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2007. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "KTMB spends RM200mil on new intercity and commuter trains". The Star. Kuala Lumpur. 7 February 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-08. สืบค้นเมื่อ 2021-09-28.
  9. priya menon (2014-08-08). "Work on railway line from Subang airport to KL Sentral has begun - Community | The Star Online". Thestar.com.my. สืบค้นเมื่อ 2015-03-17.
  10. "PROJEK LANDASAN KERETAPI DARI SUBANG KE TERMINAL SKYPARK SUBANG | Laman Web Rasmi Suruhanjaya Pengangkutan Awam Darat". S.P.A.D. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2015-03-17.
  11. "Komuter crash". The Star. Kuala Lumpur. 3 มีนาคม ค.ศ. 2004. p. 1. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  12. "Crane Falls On Rail Tracks, 10,000 Passengers Stranded". Bernama. 2 มีนาคม ค.ศ. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2007. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  13. "MPV plunges onto railway tracks". The Star. Kuala Lumpur. 22 October 2009.
  14. "Woman run down by Komuter train". The Malaysian Insider. Kuala Lumpur. 4 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-06. สืบค้นเมื่อ 2015-05-12.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!