มหาราชา รณชีต สิงห์ เป็นผู้นำของจักรวรรดิซิกข์ ซึ่งปกครองอนุทวีปอินเดีย ตะวันตกเฉียงเหนือ ราวศตวรรศที่ 19 ท่านเกือบเสียชีวิตด้วยโรคฝีดาษ ตั้งแต่ยังเป็นทารก แต่ท่านสามารถรอดมาได้แต่ด้วยพิษฝีดาษทำให้ท่านเสียตาข้างซ้ายไป ท่านเข้าสู่สนามรบตั้งแต่อายุเพียง 10 ปี รบเคียงข้างกับบิดาของท่าน มหา สิงห์ หลังมหา สิงห์ เสียชีวิตลง ท่านได้ยืนหยัดต่อสู้ต่อไปจนสามารถไล่ชาวอัฟกันออกจากบริเวณปัญจาบ และสถาปนาตนเองขึ้นเป็น "มหาราชาแห่งปัญจาบ" ด้วยวัยเพียง 21 ปี[ 4] [ 5]
สภาพสังคมของปัญจาบในขณะนั้นประกอบด้วยแว่นแคว้น (misl; สมาพันธรัฐ) มากมาย 12 misl เป็นของซิกข์ และ 1 misl เป็นของมุสลิม[ 6] ท่านสามารถรวบรวมแว่นแคว้นทั้ง 13 เข้าด้วยกันและก่อตั้งจักรวรรดิซิกข์ อันยิ่งใหญ่ขึ้น และยังสามารถรบชนะผู้รุกรานจากอัฟกานิสถานหลายต่อหลายครั้งในสงครามซิกข์-อัฟกัน หลายครั้ง หลังการเข้ามาของบริทิชอินเดีย ท่านตกลงผูกมิตรกับชาวบริเทนและกลายมาเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน[ 7]
ท่านนำพาการลงทุน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และปฏิรูปกิจการหลายอย่าง รวมทั้งนำสาธารณูปโภคมาสู่ปัญจาบ[ 8] [ 9] กองทัพซิกข์ขาลสา ของท่านนั้นขึ้นชื่อว่าแข็งแกร่ง และท่านยังจัดตั้งรัฐบาลที่ประกอบด้วยทั้งชาวซิกข์ ฮินดู มุสลิม และยุโรป[ 10] นอกจากความเจริญทางด้านการปกครองและสังคมแล้ว สมัยของท่านยังถือเป็นยุคทองของศิลปะและวัฒนธรรม ท่านมีคำสั่งให้สร้างหริมันทิรสาหิบ ในอมฤตสระ ขึ้นใหม่หลังถูกทำลายในสมัยจักรวรรดิมุสลิมและจากชาวอัฟกัน และยังให้มีการสร้างคุรุทวารา มากมาย รวมถึงคุรุทวาราสำคัญหลายแห่ง ประกอบด้วย ตัขตะทั้งห้า จำนวน 2 แห่ง คือ ตัขตะศรีปัฏนาสาหิบ ใน พิหาร และ หซูระสาหิบ ใน มหาราษฏระ ทั้งหมดล้วนได้รับการสนับสนุนด้านการเงงินอย่างดีจากท่าน ทำให้เศรษฐกิจของปัญจาบมีการหมุนเวียนและเจริญขึ้นตามลำดับ[ 11] [ 12]
อ้างอิง
↑ The Sikh Army 1799–1849 By Ian Heath, Michael Perry(Page 3), "...and in April 1801 Ranjit Singh proclaimed himself Sarkar-i-wala or head of state ...
↑ A history of the Sikhs by Kushwant Singh, Volume I(Page 195)
↑ S.R. Bakshi, Rashmi Pathak (2007). "1-Political Condition". ใน S.R. Bakshi, Rashmi Pathak (บ.ก.). Studies in Contemporary Indian History – Punjab Through the Ages Volume 2 . Sarup & Sons, New Delhi. p. 2. ISBN 81-7625-738-9 .
↑ Encyclopædia Britannica Eleventh Edition, (Edition: Volume V22, Date: 1910-1911), Page 892.
↑ Grewal, J. S. (1990). "Chapter 6: The Sikh empire (1799–1849)". The Sikh empire (1799–1849) . The New Cambridge History of India. Vol. The Sikhs of the Punjab. Cambridge University Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-02-16. สืบค้นเมื่อ 2019-04-04 .
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Singh2008p9
↑ Patwant Singh (2008). Empire of the Sikhs: The Life and Times of Maharaja Ranjit Singh . Peter Owen. pp. 113–124. ISBN 978-0-7206-1323-0 .
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ tejasingh65
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ kaushikroyp143
↑ Kaushik Roy (2011). War, Culture and Society in Early Modern South Asia, 1740–1849 . Routledge. pp. 143–147. ISBN 978-1-136-79087-4 .
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ lafontp95
↑ Kerry Brown (2002). Sikh Art and Literature . Routledge. p. 35. ISBN 978-1-134-63136-0 .