ผู้วินิจฉัยคนหนึ่งของอิสราเอล
ในหนังสือผู้วินิจฉัยของคัมภีร์ฮีบรู ยาอีร์ (อังกฤษ: Jair หรือ Yair ;ฮีบรู: יָאִיר Yā’īr, "เขาให้ความกระจ่าง") คนกิเลอาด เป็นชาวเผ่ามนัสเสห์และยังสืบเชื้อสายมาจากเผ่ายูดาห์ด้วย (กันดารวิถี 32:39-41, 1 พงศาวดาร 2:21-23) ยาอีร์วินิจฉัยอิสราเอลเป็นเวลา 22 ปีหลังการเสียชีวิตของโทลาผู้วินิจฉัยอิสราเอลเป็นเวลา 23 ปี มรดกของยาอีร์อยู่ในกิเลอาดผ่านเชื้อสายของมาคีร์บุตรมนัสเสห์
ผู้วินิจฉัย 10:3–5 ระบุว่ายาอีร์มีบุตรชาย 30 คนผู้ขี่ลาหนุ่ม 30 ตัว และปกครองเมือง 30 เมืองในกิเลอาดซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในชื่อฮาวโวทยาอีร์ (ผู้วินิจฉัย 10:4; เปรียบเทียบกับ 23 เมืองใน 1 พงศาวดาร 2:22) คำว่า ฮาวโวท ('ค่ายเต็นท์') ปรากฏเฉพาะในบริบทนี้ (กันดารวิถี 32:41; เฉลยธรรมบัญญัติ 3:14; ผู้วินิจฉัย 10:4) ยาอีร์เสียชีวิตและถูกฝังในคาโมน W. Ewing ให้ความเห็นว่าคามอนนี้น่าจะสอดคล้องกับ Kamun ซึ่งแอนทิโอคัสที่ 3 กษัตริย์แห่งซิลูซิดยึดครองในการเดินทัพจากเพลลาไปยัง Gephrun (Polybius Book V.70:12) หลังการเสียชีวิตของยาอีร์ ชาวอิสราเอลก็ไม่เชื่อฟังพระเจ้าอีกเป็นเวลา 18 ปี จึงถูกกดขี่ด้วยมือของชาวฟีลิสเตียและชาวอัมโมน[1]
กษัตริย์ดาวิดแต่งตั้งให้คนในตระกูลยาอีร์ชื่ออิราเป็นหัวหน้าปุโรหิตหลังการกบฏของเชบา[2]
ลำดับพงศ์พันธุ์
บิดาของยาอีร์คือเสกุบ[3] บิดาของเสกุบคือเฮสโรน[4] บิดาของเฮสโรนคือเปเรศ[5] บิดาของเปเรศคือยูดาห์[6] มารดาของเสเกบเป็นบุตรสาวของมาคีร์[7] มาคีร์เป็นบุตรชายของมนัสเสห์[8]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น