ม้ง ประชากรทั้งหมด 11.247 ล้านคน[ 1] ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ จีน 9.426 ล้านคน เวียดนาม 1,068,189 คน (2009) ลาว 595,028 คน (2015) สหรัฐ 260,073 คน (2010) ไทย 250,000 คน ฝรั่งเศส 16,000 คน ออสเตรเลีย 2,190[ 2] เฟรนช์เกียนา 1,500 แคนาดา 800 เยอรมนี 700 ภาษา ม้ง ศาสนา ชาแมน , พระพุทธศาสนา , คริสต์ศาสนา , อื่น ๆ
ม้ง (อังกฤษ : Hmong , Nyiakeng Puachue : 𞄀𞄩𞄰, พ่าเฮ่า : 𖬌𖬣𖬵) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ในภูเขาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ชาวม้งอพยพลงมาทางใต้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่สงบทางการเมืองและหาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ปัจจุบันมีชาวม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีน ประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศลาว และสหรัฐอเมริกา โดยชุมชนชาวม้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ [ 3]
สำหรับในประเทศไทยคำว่า "แม้ว" เป็นคำเรียกที่ไม่สุภาพในการเรียกกลุ่มคนม้ง ชาวม้งโดยส่วนใหญ่ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว โดยถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยาม[ต้องการอ้างอิง ]
ระหว่างสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง ชาวม้งในลาว ได้ต่อสู้ขบวนการปะเทดลาว ชาวม้งหลายคนอพยพมาประเทศไทย และชาติตะวันตก [ต้องการอ้างอิง ]
ประวัติศาสตร์
มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจ
ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาด
แหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{
ละเมิดลิขสิทธิ์ }} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐาน
ในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป
ประวัติศาสตร์การอพยพของชาวม้ง
ดร.ลิ ติ่ง กุย (Dr.Li Ting Gui) อ้างโดยเลอภพ (2536) ได้สรุปว่าการอพยพครั้งใหญ่ ๆ ในอดีตของชนชาติม้งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 4 ครั้งด้วยกันคือ
ครั้งที่ 1 อพยพออกจากบริเวณทางใต้ของสองฝั่งแม่น้ำเหลืองหรือแม่น้ำฮวงโห (Southern Poition of the Yellow River)
ราว ๆ 5,000 ปีที่ผ่านมา ม้งได้อาศัยอยู่ 2 ฝั่งทางตอนใต้ของแม่น้ำเหลือง ในขณะนั้นม้งมีชื่เรียกว่า จู่ลี่ (Tyuj Liv) ชนกลุ่มจู่ลี่นี้เป็นชนกลุ่มแรกที่รู้จักใช้ทองสัมฤทธิ์ (Brouze) รู้จักปลูกข้าว และการเลี้ยงปลาในนาข้าว ประชากรทุกคนมีความผาสุขภายใต้การปกครองของกษัตริย์ “ชิยู” (Chiyou ) ในขณะเดียวกันได้มีชนกลุ่มหนึ่งคือ “ชาวฮั่น ” (Huaj) ได้อพยพมาจากทางทิศตะวันตกเข้ามาอยู่ในบริเวณของชนชาติจู่ลี่ ผู้นำของชนกลุ่มฮั่นคือ ฮั่นหย่า (Hran Yuan) ทั้งสองกลุ่มนี้อยู่ด้วยกันไม่นานเกิดความขัดแย้งกันจนถึงขั้นสู้รบกัน ผลสุดท้ายชนชาติจู่ลี่พ่ายแพ้แก่ชนชาติฮั่น ทั้งนี้เพราะชนชาติฮั่นมีประชากรเยอะกว่า ในขณะที่ชนชาติจู่ลี่เป็นเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา จึงได้ถอยร่นลงมาทางใต้ใกล้กับแม่น้ำแยงซี (Tangrse River)
ครั้งที่ 2 อพยพออกจากบริเวณปกครองม้ง (San Miao )
หลังจากที่ชาวจู่ลี่ได้อพยพลงมาทางตอนใต้ ได้มีการรวมกับชนพื้นเมือง “ซานเมียว” (San Miao ) ขึ้น ชาวม้งและชนพื้นเมืองมีความรักใคร่อย่างแน่นแฟ้น ชาวม้งจึงเรียกกลุ่มนี้ว่า “จีน ” (Suay) แต่กลุ่มฮั่นยังคงติดตามมารุกรานคอยทำร้ายฆ่าฟันชาวม้งหรือจู่ลี่อยู่เรื่อย ๆ ชาวม้งจึงได้แตกออกเป็น 3 กลุ่ม หนีลงทางใต้ ในปัจจุบันนี้คือ มณฑลกวางสี (Guang – ti) มณฑลกวางโจและมณฑลยูนาน (Yunnan ) อีกส่วนหนึ่งหนีร่นลงมาทางตะวันตกมุ่งหน้าไปยังซานเหวย (San Wei) ซึ่งกลับกับประเทศมองโกเลีย และตอนหลังก็ได้อพยพลงมาอยู่ในมณฑลยูนาน (Yunnan )
ครั้งที่ 3 อพยพออกจากการปกครองของกษัตริย์จู (Chou Kingdom/Chou State )
ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาลประชาชนได้แก่กลุ่มชน 7 กลุ่ม ซึ่งแยกตัวเองออกเป็นประเทศปกครองและในจำนวน 1 ใน 7 ประเทศเหล่านั้น มีม้งเป็นประเทศหนึ่ง มีกษัตริย์ชื่อว่า “จู” ซึ่งมีอยู่สองคนในตระกูลซังหรือแซ่โซ้ง คนที่หนึ่งชื่อ “ชงยี่” คนที่สองชื่อ “ซงจี” ปีค.ศ. 221 ได้มีชนกลุ่มชิน (Chin) ได้เข้ามาต่อสู้แย่งชิงประเทศของกษัตริย์จูจนพ่ายแพ้ ชาวม้งได้แตกระส่ำระสายไปตามที่ต่าง ๆ มีกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นต่อสู้ อีกกลุ่มหนึ่งถอยร่นลงไปอยู่กับกลุ่มม้งในมณฑลกวางโจ เสฉวน และมณฑลยูนาน ต่อมาในปี ค.ศ. 1640 – 1919 ได้มีชาวม้งกลุ่มหนึ่งอพยพลงมาอยู่ในกลุ่มประเทศอินโดจีน (Indochina) ทางตอนใต้ของจีนซึ่งก็ได้แก่กลุ่มประเทศเวียดนาม ลาว และไทย
ครั้งที่ 4 ค.ศ. 1970 – 1975 การอพยพออกจากประเทศลาว
ระบบการปกครองคอมมิวนิสต์ได้แผ่ขยายสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน ทำให้กลุ่มม้งในลาวต้องแตกกระจายไปทั่วโลก การอพยพของชนชาติม้งในครั้งนี้นับได้ว่ามากที่สุดและอพยพไปไกลที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ของชนชาติม้ง ชาวม้งมากมายได้อพยพย้ายไปอาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา อาร์เจนตินา ฝรั่งเศส และอิตาลี
การอพยพเข้าสู่ประเทศไทย
ชนชาติม้งกลุ่มแรกที่อพยพเข้าสู่ประเทศไทยนั้นไม่มีหลักฐานใด ๆ บ่งชี้ได้ชัดเจนแต่จากเอกสารของสถาบ้นวิจัยชาวเขาคาดว่าเริ่มต้นอพยพเข้ามาทางตอนเหนือของประเทศไทย ในราวปี พ.ศ. 2387 – 2417 จุดที่ชนเผ่าม้งเข้ามามีอยู่ด้วยกัน 3 จุดคือ
1.1 เข้ามาทางห้วยทราย – เชียงของ อำเภอ เชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือสุด เป็นจุดที่เข้ามาก่อน และเข้ามามากที่สุด หลังจากนั้นแยกย้ากระจัดกระจายไปตามแนวทองของเส้นเขามุ่งไปทางทิศตะวันตกสู่จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตากและสุโขทัย
1.2 เข้ามาทางไชยบุรี ปัว และทุ่งช้าง เขตอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน แล้วบางกลุ่มได้อพยพลงสู่ทางใต้และทางตะวันตกเข้าสู่จังหวัดแพร่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และจังหวัดตาก
1.3 เข้าทางภูคา – นาแห้ว และด่านซ้าย อำเภอนาแห้ว และอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย แล้วบางกลุ่มได้เข้ามาสู่จังหวัดเพชรบูรณ์ในที่สุด (สุนทรี, 2524 : อ้างโดยประสิทธิ์, 2531)
นอกจากทั้งสามจุดนี้แล้ว จุดหนึ่งที่ชาวม้งได้อพยพผ่านมาแต่ไม่มีใครกล่าวถึงคือ เข้ามาทางอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยผ่านมาทางประเทศพม่า ช่องดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นที่กล่าวขันกันว่า ม้งกลุ่มนี้คือกลุ่มที่หลงทางจากการอพยพจากจุดที่ 1
อ้างอิง
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
Edkins, The Miau-tsi Tribes . Foochow: 1870.
Henry, Lingnam . London: 1886.
Bourne, Journey in Southwest China . London: 1888.
A. H. Keaw, Man: Past and Present . Cambridge: 1900.
Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Miaotsze" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์.
Johnson, Charles. Dab Neeg Hmoob: Myths, Legends and Folk Tales from the Hmong of Laos . St. Paul, Minnesota : Macalester College , 1983. – bilingual oral literature anthology, includes introduction and explanatory notes from a language professor who had sponsored the first Hmong family to arrive in Minnesota
Lee, Mai Na M. "The Thousand-Year Myth: Construction and Characterization of Hmong เก็บถาวร 2012-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ." () Hmong Studies Journal . v2n2. Northern hemisphere Spring 1998.
Meneses, Rashaan. "Hmong: An Endangered People ." UCLA International Institute.
Merritt, Tragic Mountains: The Hmong, the Americans, and the Secret Wars for Laos, 1942–1992 . Indiana: 1999.
Mottin, Father Jean. History of the Hmong . Bangkok : Odeon Store, 1980. written in Khek Noi, a Hmong village in northern Thailand, Translated into English by an Irish nun, printed in Bangkok.
Quincy, Keith. Hmong: History of a People . Cheney, Wash. : Eastern Washington University Press , 1988.
Savina, F.M. Histoire des Miao . 2nd Edition. Hong Kong : Impremerie de la Société des Missions-Etrangères de Paris, 1930. Written by a French missionary who worked in Laos and Tonkin .
George, William Lloyd. "Hmong Refugees Live in Fear in Laos and Thailand เก็บถาวร 2013-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ." TIME . Saturday July 24, 2010.
Hookaway, James. "Thai Army Forces Out Refugees ." The Wall Street Journal . December 28, 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
(Lao Veterans of America, Inc.) Laotian and Hmong veterans and refugee families of the Lao Veterans of America, Inc.
Center for Public Policy Analysis (CPPA) in Washington, D.C. Hmong human rights, religious persecution/ religious freedom violations and refugee issues
Hmong-related web sites เก็บถาวร 2012-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน edited by Mark Pfeifer of the Hmong Cultural Center.
Laos & Hmong Refugee Crisis & human rights violations against Hmong people in Southeast Asia, Centre for Public Policy Analysis, Washington, D.C.
Publications list เก็บถาวร 2012-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
Hmong Studies Internet Resource Center เก็บถาวร 2013-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
Hmong culture studies เก็บถาวร 2012-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน multimedia educational content
Hmong history and culture articles by Hmong Australian anthropologist, Dr. Gary Yia Lee
Hmong Contemporary Issues by Hmong French anthropologist and linguist, Dr. Kao-Ly Yang (English, French, and Hmong languages)
Being Hmong Means Being Free เก็บถาวร 2018-04-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Wisconsin Public Television
Hmong-American cast in 2008 US drama film Gran Torino set in Detroit by Clint Eastwood (his 2nd top) Gran Torino
Learn about Hmong People & Culture เก็บถาวร 2023-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน