มูลนิธิธรรมกาย

มูลนิธิธรรมกาย
ก่อนหน้ามูลนิธิธรรมประสิทธิ์
สถาปนา6 สิงหาคม พ.ศ. 2513; 54 ปีก่อน (2513-08-06)
ประเภทองค์การไม่แสวงหาผลกำไร
องค์การนอกภาครัฐ
สํานักงานใหญ่วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
พื้นที่ให้บริการ
ทุกภูมิภาคทั่วโลก
สมาชิก
สหประชาชาติ องค์การสหประชาชาติ
เว็บไซต์www.dhammakaya.net

มูลนิธิธรรมกาย (อังกฤษ: Dhammakaya Foundation) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2513 ตั้งอยู่ที่เลขที่ 40 หมู่ที่ 8 ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี[1] เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไร (NPO) และองค์การนอกภาครัฐ (NGO) ที่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ[2][3] มีหน้าที่ในการส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ด้านสันติภาพ การศึกษา วัฒนธรรม สังคมสงเคราะห์ การปฏิบัติธรรม ควบคู่กับวัดพระธรรมกายมาตลอด

ประวัติ

มูลนิธิธรรมกาย ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เดิมใช้ชื่อว่า มูลนิธิธรรมประสิทธิ์[4] โดยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2513 เมื่อสร้างวัดพระธรรมกายเสร็จได้ขอแก้ไขเอกสาร เปลี่ยนชื่อเป็น มูลนิธิพระธรรมกาย เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2525 ณ ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี และเพื่อไม่ให้สับสนกับชื่อวัด จึงจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อจาก มูลนิธิพระธรรมกาย เป็น มูลนิธิธรรมกาย โดยได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ตามหนังสือที่ ศธ 1304/6088 ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2528[5]

วัตถุประสงค์

มูลนิธีธรรมกาย มีวัตถุประสงค์ ตามการประกาศในราชกิจจานุเบกษา[6][7]และเผยแพร่[8] ดังนี้

  1. เผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับศาสนิกชนชาวพุทธและบุคคลทั่วไปทั้งไทยและต่างประเทศ ด้วยวิธีใด ๆ ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นที่จำเป็นในการสื่อ[6]
  2. บำรุงส่งเสริมการศึกษาพระธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาของพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ประชาชนทั่วไป ทั้งไทยและต่างประเทศ[6]
  3. ให้การสนับสนุนผู้คนที่อาศัยอยู่ในวัด[8]
  4. สร้างและบำรุงรักษาศูนย์กลางธรรมกายโลก[8]
  5. สร้างและบำรุงรักษาวัดพระธรรมกาย[8]
  6. สร้างและบำรุงสถานศึกษา และการสอนในแขนงและศาสตร์ต่าง ๆ โดยเน้นที่ความรู้คู่คุณธรรม ตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และแก่ประชาชนทั่วไป[7]
  7. ส่งเสริมผู้ที่มีคุณธรรมด้วยการมอบรางวัลธรรมกายสำหรับยกย่องเชิดชูคุณธรรมแก่บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา หรือเผ่าพันธุ์[7]
  8. เผยแผ่ววิธีการในการฝึกทำสมาธิให้แก่บุคคลทั่วไปทุกเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ เพื่อนำมาซึ่งสันติสุข โดยไม่เกี่ยวกับการเมืองทั้งสิ้น[7]
  9. การกุศล สังคมสงเคราะห์สาธารณะ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และการให้ความช่วยเหลือร่วมมือกับหน่วยงานรัฐและองค์กรการกุศลต่าง ๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศ[6]

กรรมการมูลนิธิ

มูลนิธิธรรมกาย ได้แต่งตั้งกรรมการครั้งส่าลุดกับนายทะเบียนเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ประกอบไปด้วย[1]

  1. พระวิเทศธรรมาภรณ์ — ประธานกรรมการ
  2. พระครูวิบูลนิติธรรม — รองประธานกรรมการ
  3. พระวิชิต กิจฺจชโย — กรรมการและเลขานุการ
  4. พระสุรชัย ปัญฺญาธโร — กรรมการ
  5. พระสุพจน์ มหาสกฺโก — กรรมการ
  6. พระมหานพพร ปุญฺญชโย — กรรมการ
  7. พระภาสุระ ทนฺตมโน — กรรมการ
  8. นายปรีชา อุ่นรัศมีวงศ์ — กรรมการ
  9. นายปิยพัฒน์ พินธุพันธ์ — กรรมการ
  10. นายสิทธิศักดิ์ เทพเทพา — กรรมการ
  11. นางสาวบุญจันทร์ บ่อไทย — กรรมการ

การทำงาน

ด้านการคณะสงฆ์

  • วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกายจัดถวายปัจจัยไทยธรรมแด่คณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประจำทุกเดือน โดยเมื่อครบรอบ 10 ปีรวมจตุปัจจัยไทยธรรมมูลค่ากว่า 200 ล้านบาท[9] โดยส่งมอบความช่วยเหลือทั้งปัจจัย, ไทยธรรม, เครื่องอุปโภคบริโภคในทุก ๆ เดือนไม่เคยขาด[10] และยังส่งมอบความช่วยเหลือนี้ไปจนกว่าเหตุการณ์จะสงบ[11]
  • ทอดผ้าป่าช่วยเหลือวัดที่ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2564[12] และมอบเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ประชาชนผู้ประสบภัย[13]

ด้านสาธารณสงเคราะห์

  • วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกายนำข้าวสารอาหารแห้งที่ได้จากโครงการตักบาตรพระ 2 ล้านรูปฯ ไปมอบช่วยเหลือแด่พระ ทหาร ตำรวจ ครู นักเรียน และประชาชนในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มตั้งปี พ.ศ. 2551 – จนถึงปัจจุบันทุก ๆ เดือน[10] (ยกเว้นช่วงน้ำท่วมใหญ่ ปี พ.ศ. 2554 ที่นำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม) โดยเมื่อครบรอบ 10 ปีเมื่อปี 2557 คิดเป็นน้ำหนักรวมข้าวสาร อาหารแห้ง เครื่องอุปโภคบริโภคที่นำไปช่วยภาคใต้กว่า 4,450 ตัน[9]
  • กองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน[10] โดยในครั้งที่ 60 ปี พ.ศ. 2557 ได้มอบทุนไปแล้ว 29,246 กองทุน เป็นเงินกว่า 60,406,000 บาท[14]
  • เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 มูลนิธิธรรมกายบริจาคเงิน 27 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงอาคารหอผู้ป่วยสามัญ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
  • เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554 มูลนิธิธรรมกายมอบเงิน 200,000 บาท ช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติและสึนามิแก่ประเทศญี่ปุ่น ผ่านทางครอบครัวข่าว สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3[15]
  • ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ. 2549 รวม 18 จังหวัด ทั้งหมด 168 อำเภอ จำนวนกว่า 52,000 ครัวเรือน รวม 230,000 คน โดยมอบถุงยังชีพ 50,202 ชุด รวมเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคกว่า 2 ล้านชิ้น[14]
  • ช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยไซโคลนนากีส ประเทศสหภาพพม่า ในปี พ.ศ. 2551 ได้มอบถุงยังชีพเป็นจำนวนกว่า 20,000 ชุด ได้แก่ ยารักษาโรค, น้ำดื่ม, เครื่องอุปโภค และผ้าไตรจีวร รวมมูลค่าว่า 7,000,000 บาท พร้อมทั้งส่งหน่วยแพทย์และพยาบาลช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆของประเทศพม่า[16]
  • ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ. 2553 มอบถุงยังชีพใน 20 จังหวัด เป็นจำนวนกว่า 60 วัด รวมเป็นถุงยังชีพกว่า 40,000 ชุด รวมน้ำหนักกว่า 80 ตัน
  • ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ. 2554 ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 ได้ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยใน 30 จังหวัด จำนวน 400,000 ชุด
  • ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ. 2556 ได้นำถุงยังชีพจำนวนกว่า 15,000 ชุด ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยใน 7 จังหวัด รวมกว่า 9,000 ครัวเรือน
  • ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่ประเทศเนปาล ในปี พ.ศ. 2558 เปิดศูนย์ช่วยเหลือ 2 ศูนย์ ที่เมือง Godawari และศูนย์ที่เมือง Dharmasthali โดยภายในศูนย์ มีการเปิดโรงทานเลี้ยงผู้ประสบภัย

เกียรติคุณ

  • 3 มีนาคม พ.ศ. 2550 : มติรัฐสภา ให้เพื่อเป็นเกียรติ แก่การทำงานเพื่อสังคมของมูลนิธิธรรมกาย มอบโดยนายดันแคน ฮันเตอร์ สมาชิกรัฐสภา โดยสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา
  • 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 : มูลนิธิธรรมกาย ได้รับรางวัลดีเด่น ในฐานะองค์กรที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและสาธารณชน จาก The United Foundation Society of Thailand
  • 10 กันยายน พ.ศ. 2537 : วัดพระธรรมกายแคลิฟอร์เนีย (D.I.S.C.) ได้รับรางวัลดีเด่น ในฐานะองค์กรที่สนับสนุนสวัสดิการแก่สาธารณชน
  • 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 : มูลนิธิธรรมกาย ได้รับเกียรติคุณจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) ในฐานะองค์กรที่ร่วมบริจาคโลหิตแด่สภากาชาดไทยเป็นปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง ติดต่อกัน 3 ปี
  • พ.ศ. 2538 : วารสารกัลยาณมิตร ได้รับรางวัลในฐานะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเยาวชนดีเด่น จากคณะกรรมการสนับสนุนและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ สำนักองค์กรที่ร่วมบริจาคโลหิตแด่สภากาชาดไทยเป็นปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง ติดต่อกัน 3 ปี[17]
  • 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 มูลนิธิธรรมกาย ได้จัดพิธีทำบุญตักบาตรถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 323 วัด ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยปีนี้เป็นปีที่ 10 ครั้งที่ 100
  • ปัจจุบัน​ จัดโครงการบรรพชาและอุปสมบทและฟื้นฟูพระพุทธศาสนาไปทั่วโลก​และจัดกิจกรรมทุกวันอาทิตย์ต้นเดือนและวันสำคัญทางศาสนาและเผยแผ่ความรู้ไปทั่วโลก

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิ จังหวัดปทุมธานี เรื่อง การขอจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการของ "มูลนิธิธรรมกาย" ขึ้นใหม่ทั้งชุด. เล่ม 141 ตอนที่ 51 ง, 20 มิถุนายน 2567. หน้า 126
  2. รองรับสหประชาชาติ
  3. United Nations Civil Society Participation (iCSO). Integrated Civil Society Organizations System. United Nations Department of Economic and Social Affairs, NGO Branch.
  4. "ปปง.สั่งอายัด'อาคาร 100 ปี'วัดธรรมกาย รับเงินทุจริตสหกรณ์คลองจั่นมาก่อสร้าง". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
  5. "ประวัติความเป็นมา :: Dhammakaya Foundation & Wat Phra Dhammakaya : World Peace through Inner Peace using Meditation Practice". www.dhammakaya.net.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิ จังหวัดปทุมธานี เรื่อง การขอจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงกรรมการ และจดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของ "มูลนิธีธรรมกาย". เล่ม 139 ตอนที่ 2 ง, 6 มกราคม 2565. หน้า 102-104
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตราสาร "มูลนิธิธรรมกาย". เล่ม 104 ตอนที่ 5, 13 มกราคม 2530. หน้า 272-273
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "Objectives". Dhammakaya Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2001.
  9. 9.0 9.1 "10 ปี 100 ครั้ง พิธีถวายสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้". SOUTHDEEPOUTLOOK.com (ภาษาอังกฤษ).[ลิงก์เสีย]
  10. 10.0 10.1 10.2 "คณะสงฆ์จังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ..." thainews.prd.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-02. สืบค้นเมื่อ 2022-04-23.
  11. "วัดพระธรรมกายจัดพิธีถวายสังฆทานออนไลน์ แด่คณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนใต้". banmuang.co.th (ภาษาอังกฤษ).
  12. "มอบแล้วหมื่นกว่า!วัด-มูลนิธิธรรมกาย มอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 12 จังหวัด". www.naewna.com. 2021-10-07.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "คณะสงฆ์สุโขทัย วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย มอบถุงยังชีพช่วยน้ำท่วม 300 ชุด". www.naewna.com. 2021-09-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. 14.0 14.1 "44 ปี วัดพระธรรมกาย กว่า 100 โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก :: Dhammakaya Foundation & Wat Phra Dhammakaya : World Peace through Inner Peace using Meditation Practice". www.dhammakaya.net.
  15. "โครงการด้านสาธารณสงเคราะห์". kalyanamitra.org.
  16. "ธรรมกายจัดอีเวนต์ในเมียนมาร์ สานสัมพันธ์ลึกพระวีระธุ". mgronline.com. 2017-12-17.
  17. เกียรติคุณของมูลนิธิธรรมกาย

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

14°05′00″N 100°38′49″E / 14.083301°N 100.646996°E / 14.083301; 100.646996

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!