มิฮามะ (ญี่ปุ่น: 美浜町; โรมาจิ: Mihama-chō) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในจังหวัดฟูกูอิ ประเทศญี่ปุ่น ข้อมูลเมื่อ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2018 (2018 -05-01)[update] เมืองนี้มีประชากรประมาณ 9,643 คน 3,175 หลังคาเรือน มีความหนาแน่นของประชากร 63 คนต่อตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ทั้งหมด 152.35 ตารางกิโลเมตร (58.82 ตารางไมล์)
ภูมิศาสตร์
มิฮามะตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดฟูกูอิ มีอาณาเขตทางทิศใต้ติดกับจังหวัดชิงะ ทางทิศเหนือติดกับอ่าววากาซะของทะเลญี่ปุ่น ส่วนหนึ่งของเมืองมิฮามะอยู่ภายในอาณาเขตของกึ่งอุทยานแห่งชาติวากาซะวัง
เทศบาลข้างเคียง
ภูมิอากาศ
มิฮามะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Köppen Cfa) โดยมีฤดูร้อนที่อบอุ่นและชื้น และฤดูหนาวที่หนาวเย็นและมีหิมะตกหนัก อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในมิฮามะคือ 14.7 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ยอยู่ที่ 2200 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงที่สุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 27.1 องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 3.6 องศาเซลเซียส [1]
สถิติประชากร
จากข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[2] มิฮามะมีจำนวนประชากรที่ลดลงอย่างมาก
ปี
|
ประชากร
|
1970
|
13,157
|
1980
|
13,036
|
1990
|
13,222
|
2000
|
11,630
|
2010
|
10,563
|
ประวัติศาสตร์
มิฮามะเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นวากาซะในอดีต ในยุคเอโดะ พื้นที่แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแคว้นศักดินาโอบามะ ต่อมาหลังจากการฟื้นฟูเมจิ พื้นที่แห่งนี้ได้ถูกจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอมิกาตะในจังหวัดฟูกูอิ เมื่อมีการจัดตั้งระบบเทศบาลสมัยใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 1889 หมู่บ้านคิตะไซโง มินามิไซโง มิมิ และซันโต จึงถูกจัดตั้งขึ้น และได้มีการควบรวมหมู่บ้านทั้งสี่นี้เป็นเมืองมิฮามะเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1954
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2004 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มิฮามะ น้ำและไอระเหยร้อนที่ไม่มีกัมมันตรังสีได้รั่วออกมาจากท่อที่ชำรุด ส่งผลให้คนงานเสียชีวิต 5 คน และได้รับบาดเจ็บอีก 6 คน[3][4][5][6]
เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจของมิฮามะซึ่งก่อนหน้านี้ต้องพึ่งพาการทำประมงเชิงพาณิชย์และการเกษตร แต่ปัจจุบันต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์เป็นอย่างมาก การปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มิฮามะนับตั้งแต่ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะในปี 2011 ถือว่าเป็นการทำลายเศรษฐกิจในท้องถิ่น
การศึกษา
มิฮามะมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลเมือง ได้แก่ โรงเรียนประถม 3 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 1 แห่ง และเมืองนี้ไม่มีโรงเรียนมัธยมปลาย
การขนส่ง
รถไฟ
ทางหลวง
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
สถานที่ท่องเที่ยว
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น