ผู้พูดภาษาคีร์กีซในชุดพื้นเมือง บันทึกที่ทุ่งเลี้ยงสัตว์ Chunkurchak แถวชานเมืองบิชเคก
อาซิม ผู้พูดภาษาคีร์กีซ บันทึกที่ประเทศไต้หวัน
ภาษาคีร์กีซ (คีร์กีซ : Кыргыз тили , อักษรโรมัน: Kyrgyz tili , แม่แบบ:IPA-ky ) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ในสาขาเคียปชัก ที่มีผู้พูดในเอเชียกลาง ภาษานี้เป็นภาษาทางการของประเทศคีร์กีซสถาน และเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยในKizilsu Kyrgyz Autonomous Prefecture ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน และGorno-Badakhshan Autonomous Province ในประเทศทาจิกิสถาน โดยมีระดับความเข้าใจร่วมกัน ระหว่างภาษาคีร์กีซ คาซัค และอัลไต สูงมาก นอกจากนี้ ภาษาคีร์กีซยังมีผู้พูดโดยผู้มีเชื้อชาติคีร์กีซหลายที่ทั่วอดีตสหภาพโซเวียต , อัฟกานิสถาน , ตุรกี , ปากีสถาน ตอนเหนือ และรัสเซีย
เดิมทีภาษาคีร์กีซเคยเขียนด้วยอักษรรูนเตอร์กิก [ 2] แล้วเปลี่ยนไปเป็นอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ (จนถึง ค.ศ. 1928 ในสหภาพโซเวียต ยังคงใช้งานในประเทศจีน) ในช่วง ค.ศ. 1928 ถึง 1940 จึงเริ่มมีการใช้อักษรละติน จากนั้น เจ้าหน้าที่โซเวียตได้เปลี่ยนอักษรละตินไปเป็นอักษรซีริลลิก ใน ค.ศ. 1940 หลังจากคีร์กีซสถานได้รับเอกราชหลังโซเวียตล่มสลายใน ค.ศ. 1991 แผนการนำอักษรละตินมาใช้กลายเป็นที่นิยม แม้จะยังไม่ได้ดำเนินการตามแผน แต่ก็ยังคงมีการอภิปรายเป็นครั้งคราว[ 3]
ประวัติ
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
กลุ่มชนกลุ่มแรกที่รู้จักกันในชื่อชาวคีร์กิซได้มีการกล่าวถึงในยุคกลางตอนต้นของเอกสารจีนในฐานะเพื่อนบ้านทางเหนือ และบางครั้งเป็นกลุ่มจักรวรรดิเติร์กในทุ่งหญ้าสเตปที่อยู่ในมองโกเลีย ชาวคีร์กิซเกี่ยวข้องกับเส้นทางการค้านานาชาติในชื่อเส้นทางสายไหม ในยุคจักรวรรดิ์อุยกูร์เมื่อราว 297 ปีก่อนพุทธศักราช ชนกลุ่มนี้พูดภาษากลุ่มเตอร์กิกที่แตกต่างจากภาษาเตอร์กิกโบราณ ไปเล็กน้อย และเขียนด้วยอักษรรูน แบบเดียวกัน หลังจากมีชัยชนะเหนืออุยกูร์ ชาวคีร์กีซไม่ได้ครอบครองทุ่งหญ้าสเตปในมองโกเลีย และประวัติศาสตร์ของพวกเขาในช่วงนี้เป็นที่รู้จักน้อยมาก แต่เชื่อว่าพวกเขาคงอาศัยในบริเวณไม่ไกลจากบริเวณที่อยู่ในปัจจุบันนี้
บรรพบุรุษของชาวเติร์กทุกวันนี้ อาจจะเป็นเผ่าซาโมเยคใต้หรือเผ่าเยนิเซยันที่เข้ามาติดต่อกับวัฒนธรรมเติร์ก หลังจากมีชัยชนะเหนืออุยกูร์และตั้งหลักแหล่งในบริเวณออร์คอน ซึ่งเป็นบริเวณที่พบหลักฐานภาษาเตอร์กิกที่เก่าที่สุดในพุทธศตวรรษที่ 14 เอกสารของชาวจีนและมุสลิมในพุทธศตวรรษที่ 12 - 17 อธิบายว่าชาวคีร์กิซว่าเป็นพวกผมแดง ตาสีเขียว
ลูกหลานของชาวคีร์กิซที่สืบเชื้อสายมาจากชาวไซบีเรียได้รับการยืนยันจากข้อมูลทางพันธุกรรม[ 4] 63% ของชายชาวคีร์กิซในปัจจุบันมี DNA บนโครโมโซม Y Ria1 ซึ่งพบในชาวทาจิก 64% ชาวยูเครน 54% ชาวโปแลนด์ 56% และชาวไอซ์แลนด์ 29%
ถ้าชาวคีร์กิซสืบเชื้อสายมาจากเผ่าซาโมเยคในไซบีเรีย ชาวคีร์กิซจะต้องเคยพูดภาษาในตระกูลภาษายูราลิก มาก่อนที่จะเข้าสู่บริเวณออร์คอน ถ้าเป็นลูกหลานของเผ่าเยนิเซยัน พวกเขาจะเป็นลูกหลานของกลุ่มชนชื่อเดียวกันที่เริ่มเข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศคีร์กีซสถานในปัจจุบันจากบริเวณแม่น้ำเยนิเซย ในไซบีเรียตอนกลางเมื่อพุทธศตวรรษที่ 15 อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีที่มาจากเผ่าเยนิเซยันมีข้อโต้แย้งมาก เพราะความใกล้เคียงทางวัฒนธรรมและภาษาของชาวคีร์กิซและชาวคาซัค คำอธิบายในยุคแรกๆ เกี่ยวกับชาวคีร์กิซในเอกสารจีน กล่าวว่าพวกเขามีผมสีแดงและตาสีเขียวซึ่งเป็นลักษณะของกลุ่มชาวคอเคซอยด์ ที่พูดภาษาในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ในยุคนั้น ซึ่งปัจจุบันยังพบอยู่ในยูเรเชียตอนกลาง ยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อมต่อภาษาคีร์กิซเข้ากับตระกูลภาษายูราลิกหรือเยนิเซยัน จึงไม่แน่นอนว่าชาวคีร์กิซในปัจจุบันเป็นลูกหลานของชาวคีร์กิซในยุคกลาง หรือไม่
ยุคอาณานิคม
ในยุคที่ถูกปกครองโดยตุรกี (พ.ศ. 2419 - 2460) คาซัคและคีร์กิซถูกเรียกรวมกันว่าคีร์กิซ และส่วนที่เป็นคีร์กิซสถานในปัจจุบันเรียกว่าคีร์กิซดำ แม้ว่าภาษาคีร์กิซจะมีที่มาจากสาขาเดียวกับภาษาอัลไต และภาษาอื่นๆที่ใช้พูดทางตะวันออกเฉียงเหนือของคีร์กิซสถาน แต่ภาษาคีร์กิซในปัจจุบันมีความใกล้เคียงกับภาษาคาซัค และบางครั้งจัดอยู่ในภาษากลุ่มโนกาย ของภาษากลุ่มเคียปชัก ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของภาษากลุ่มเตอร์กิก ถ้าตัดอิทธิพลจากภาษาคาซัคออกไปแล้ว ภาษาคีร์กิซยังคงมีความคล้ายคลึงกับภาษาอัลไตอยู่ ภาษาคีร์กิซสมัยใหม่ไม่มีระบบการเขียนที่เป็นมาตรฐานจนกระทั่ง พ.ศ. 2466 จึงมีการเขียนที่ปรับปรุงมาจากอักษรอาหรับ จากนั้นเปลี่ยนเป็นอักษรละตินที่พัฒนาโดยคาซืม ตืย์นืย์สตานอฟ และเปลี่ยนเป็นอักษรอาหรับใน พ.ศ. 2483 ในทันทีที่ได้รับเอกราช มีการอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนตัวอักษรแต่ยังไม่ได้ข้อสรุป
ความเปลี่ยนแปลงในยุคหลังโซเวียต
ความแตกต่างอย่างหนึ่งระหว่างคีร์กิซสถานกับคาซัคสถาน คือชาวคีร์กิซนิยมใช้ภาษาของตนมากกว่า และอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนชัดเจนกว่า หลังได้รับเอกราชจากโซเวียต รัฐลาลของอะกาเยฟเสนอให้ใช้ภาษาคีร์กิซเป็นภาษาราชการและบังคับให้ชาวยุโรปหันมาใช้ภาษาคีร์กิซ ซึ่งชาวยุโรปที่ส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซียต่อต้านนโยบายนี้มาก ใน พ.ศ. 2535 มีการออกกฎหมายบังคับให้ธุรกิจทุกอย่างต้องใช้ภาษาคีร์กิซเท่านั้นภายใน พ.ศ. 2540 แต่ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 รัฐสภาของคีร์กิซสถานยอมให้ใช้ภาษารัสเซีย เป็นภาษาราชการคู่กับภาษาคีร์กิซอีกภาษา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้รับแรงกดดันจากรัสเซีย ด้วย
สัทวิทยา
สระ
/a/ ปรากฏเฉพาะคำยืมจากภาษาเปอร์เซียหรือเมื่อมีคำที่ตามหลังด้วยสระหน้า (การกลืนเสียงย้อนกลับ) เช่น /ajdøʃ/ 'ลาดเอียง' แทน */ɑjdøʃ/ [ 6] หมายเหตุ: ในสำเนียงส่วนใหญ่ สถานะสระจาก /ɑ/ ยังคงเป็นที่สงสัย[ 7]
พยัญชนะ
↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 /f, v, t͡s, x/ ปรากฏเฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย, อาหรับ และอังกฤษ[ 8]
ระบบการเขียน
ภาษาคีร์กีซในประเทศคีร์กีซสถาน ใช้อักษรซีริลลิก ซึ่งใช้อักษรรัสเซียแล้วเพิ่มอักษร ң , ө และ ү ในขณะที่เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ของประเทศจีน ยังคงใช้อักษรอาหรับ
ซีริลลิก
เปอร์เซีย-อาหรับ
ละติน
สัทอักษรสากล
ไทย
Бардык адамдар өз беделинде жана укуктарында эркин жана тең укуктуу болуп жаралат. Алардын аң-сезими менен абийири бар жана бири-бирине бир туугандык мамиле кылууга тийиш.
باردیق ادامدار ۅز بهدهاینده جانا وُقوُقتاریندا هرکین جانا تهڭ ۇقۇقتۇۇ بولۇپ جارالات. الاردین اڭ-سهزیمی مهنهن ابئییری بار جانا بئرى-بئرینه بئر توُوُعاندیق مامئلە قیلوُوُغا تئییش.
Bardıq adamdar öz bedelinde jana uquqtarında erkin jana teŋ uquqtuu bolup jaralat. Alardın aŋ-sezimi menen abiyiri bar jana biri-birine bir tuuğandıq mamile qıluuğa tiyiş.
bɑrdɯq ɑdɑmdɑr øz bedelinde d͡ʒɑnɑ uquqtɑrɯndɑ erkin d͡ʒɑnɑ teŋ uquqtuː boɫup d͡ʒɑrɑɫɑt ‖ ɑɫɑrdɯn ɑɴsezimi menen ɑbijiri bɑr d͡ʒɑnɑ biribirine bir tuːʁɑndɯq mɑmile qɯɫuːʁɑ tijiʃ
มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ
อ้างอิง
บรรณานุกรม
Kara, Dávid Somfai (2003), Kyrgyz , Lincom Europa, ISBN 978-3-89586-843-6
Krippes, Karl A. (1998). Kyrgyz: Kyrgyz-English/English-Kyrgyz: Glossary of Terms . Hippocrene Books, New York. ISBN 978-0-7818-0641-1 .
Library of Congress, Country Studies, Kyrgyzstan.
Comrie, Bernard. 1983. The languages of the Soviet Union . Cambridge: Cambridge University Press.
Beckwith, Christopher I. 1987/1993. "The Tibetan Empire in Central Asia." Princeton: Princeton University Press.
Tchoroev, Tyntchtykbek. 2003. The Kyrgyz.; in: The History of Civilisations of Central Asia, Vol. 5, Development in contrast: from the sixteenth to the mid-nineteenth century /Editors: Ch. Adle and Irfan Habib. Co-editor: Karl M. Baipakov. – UNESCO Publishing. Multiple History Series. Paris. – Chapter 4, p. 109–125. (ISBN 978-92-3-103876-1 ).
Washington, Jonathan North (2006b), Root Vowels and Affix Vowels: Height Effects in Kyrgyz Vowel Harmony (PDF) , คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2007-01-13, สืบค้นเมื่อ 2007-04-12
Washington, Jonathan North (2007), Phonetic and Phonological Problems in Kyrgyz: A Fulbrighter's plans for gathering data in the field (PDF) , คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2016-01-13, สืบค้นเมื่อ 2015-06-29
แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิท่องเที่ยว มีหนังสือรวมวลีสำหรับ
Kyrgyz