กราฟของฟังก์ชั่นการบริโภคโดยที่ a คือการบริโภคแบบอิสระ (ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย ความคาดหวังของผู้บริโภค ฯลฯ ) b คือความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายที่จะบริโภคและ Yd เป็นรายได้ที่จับจ่ายได้
ในเศรษฐศาสตร์ ฟังก์ชั่นการบริโภค อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภค และรายได้ที่จับจ่ายได้ [ 1] โดยแนวคิดนี้เชื่อกันว่าได้รับการเสนอในเศรษฐศาสตร์มหภาค โดยจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ในปี 1936 ซึ่งใช้มันเพื่อพัฒนาแนวคิดตัวทวีของการใช้จ่ายภาครัฐ
รายละเอียด
รูปแบบที่ง่ายที่สุดคือ ฟังก์ชั่นการใช้แบบเส้นตรง ที่ใช้บ่อยในแบบจำลองของเคนส์:
C
=
a
+
b
× × -->
Y
d
{\displaystyle C=a+b\times Y_{d}}
โดยที่
a
{\displaystyle a}
คือ การบริโภคอิสระ ที่เป็นอิสระจากรายได้ที่จับจ่ายได้ นั่นคือการบริโภคเมื่อรายได้เป็นศูนย์ พจน์
b
× × -->
Y
d
{\displaystyle b\times Y_{d}}
คือ การบริโภคเหนี่ยวนำ ที่ได้รับอิทธิพลจากระดับรายได้ของเศรษฐกิจ ฟังก์ชันสมมติสำหรับข้อสมมติฐานที่ว่าไม่มี สหสัมพันธ์และความเกี่ยวเนื่อง ระหว่าง
Y
d
{\displaystyle Y_{d}}
และ C , และทั้งนี้ความสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถแสดงได้โดยสมการปฏิสัมพันธ์บน ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน .
พารามิเตอร์
b
{\displaystyle b}
รู้จักกันในนาม ความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายที่จะบริโภค หรือการเพิ่มขึ้นของการบริโภคอันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในรายได้ที่จับจ่ายได้ เนื่องจาก
∂ ∂ -->
C
/
∂ ∂ -->
Y
d
=
b
{\displaystyle \partial C/\partial Y_{d}=b}
. ในเชิงเรขาคณิต,
b
{\displaystyle b}
คือ ความชัน ของฟังก์ชันการบริโภค หนึ่งในข้อสมมติฐานหลักของ เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ คือพารามิเตอร์นี้เป็นบวกแต่มีค่าต่ำกว่าหนึ่ง หรือก็คือ
b
∈ ∈ -->
(
0
,
1
)
{\displaystyle b\in (0,1)}
.
เคนส์ยังอธิบายถึงแนวโน้มของความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายในการบริโภคว่าจะลดลงเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น หรือก็คือ
∂ ∂ -->
2
C
/
∂ ∂ -->
Y
d
2
<
0
{\displaystyle \partial ^{2}C/\partial Y_{d}^{2}<0}
. ถ้าข้อสมมติฐานนี้ได้ถูกใช้ มันจะนำไปสู่ฟังก์ชันการบริโภคที่ไม่เป็นเส้นตรงและมีความชันลดลงเรื่อยๆ ทฤษฎีใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับรูปของฟังก์ชันการบริโภคประกอบไปด้วยการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเชิงสัมพัทธ์ของ เจมส์ ดูว์เซนเบอร์รี่(1949) สมมติฐานวัฏจักรชีวิต ของ ฟรังโก โมดิจานี่ และริชาร์ด บรัมเบิร์ก (1954) และสมมติฐานรายได้ถาวร ของ มิลตัน ฟรีดแมน (1957)
ผลงานทางทฤษฎีใหม่ ๆ บางภายหลังงานของดูว์เซนเบอร์รี่ และอิงจากเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเสนอว่าหลักทางพฤติกรรมจำนวนหนึ่งสามารถนำมาใช้เป็นรากฐานทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคสำหรับฟังก์ชั่นการบริโภคมวลรวมเชิงพฤติกรรมได้
ดูเพิ่มเติม
อุปสงค์มวลรวม
สมมติฐานรายได้สัมบูรณ์
สมมติฐานวัฏจักรชีวิต
การวัดรายได้ประชาชาติและผลผลิต
สมมติฐานรายได้ถาวร
เชิงอรรถ
↑ Algebraically, this means
C
=
f
(
Y
d
)
{\displaystyle C=f(Y_{d})}
where
f
: : -->
R
+
→ → -->
R
+
{\displaystyle f\colon \mathbb {R} ^{+}\to \mathbb {R} ^{+}}
is a function that maps levels of disposable income
Y
d
{\displaystyle Y_{d}}
—income after government intervention, such as taxes or transfer payments—into levels of consumption
C
{\displaystyle C}
.