ฟรันทซ์ เพเทอร์ ชูเบิร์ท (เยอรมัน: Franz Peter Schubert; 31 มกราคม พ.ศ. 2340 — 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2371) คีตกวีชาวออสเตรีย
ประวัติ
ฟรันทซ์-เพเทอร์ เกิดที่เมืองลิชเทินทาล (Lichtenthal) ใกล้กับกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อปี พ.ศ. 2340 (ค.ศ. 1797) บิดาของเขา ฟรันทซ์-เทโอดอร์ เป็นครูโรงเรียนมัธยม ได้สอนให้เขาเล่นไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรก ในขณะที่อิกนาทซ์ (Ignaz) พี่ชายได้สอนเปียโนให้แก่เขา ระหว่างปี พ.ศ. 2351 ถึง พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1808 - 1813) เขาได้เป็นนักร้องในวงประสานเสียงประจำวิหารหลวงแห่งกรุงเวียนนา และได้เข้าเรียนที่ค็อนวิคท์ (Konvikt, โรงเรียนฝึกหัดนักร้องเพื่อวิหารและราชสำนัก) เขาจึงได้เป็นศิษย์ของอันโตนีโอ ซาลีเอรี ผู้อำนวยการวงดนตรีประจำราชสำนัก
ระหว่างช่วงเวลาที่เขาศึกษาอยู่ที่นี่ เขาเริ่มประพันธ์เพลง โดยเริ่มจากบทเพลงสำหรับเปียโนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2353 (ค.ศ. 1810) ต่อมาก็แต่งเพลงสำหรับวงสตริงควอเท็ตที่ใช้เครื่องสายอย่างน้อยแปดชิ้น รวมถึงเพลงโหมโรง รวมทั้งบทเพลงประเภทอื่น ๆ ในปี พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) เขาได้รับอิทธิพลอย่างมากจากว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท ในการประพันธ์ซิมโฟนี สองปีต่อมาได้ประพันธ์อุปรากรเรื่องแรก เพลงสวดบทแรก และผลงานชิ้นเอกของเขาที่เป็นเพลงร้อง (Lied) ชื่อเพลง Marguerite au rouet จาก Gretchen am Spinnrade
ไม่กี่ปีต่อมาที่ประเทศฮังการี เขาเป็นพ่อทูนหัวให้กับบุตรของเคานต์แห่งแอ็สแตร์ฮาซี ได้พบกับรักที่ไม่สมหวัง และกลับมาใช้ชีวิตที่กรุงเวียนนาอีกครั้ง ทั้งชีวิตของเขาได้อุทิศให้กับดนตรี, การแต่งเพลง และการสังสรรค์กับเพื่อนฝูง (กลุ่มสหายของชูเบิร์ท) ในร้านทำขนมที่กรุงเวียนนา
ในปี พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822) ชูเบิร์ทป่วยด้วยโรคซิฟิลิส บางคนเชื่อว่าเขาเป็นพวกรักร่วมเพศ สุขภาพของเขาทรุดโทรมลงเป็นอันมาก แต่เขาก็สามารถประพันธ์บทเพลงอันไพเราะออกมาได้จากการเฉียดตายและความทรมานจากความตาย (การเดินทางในฤดูหนาว ควอร์เต็ตหมายเลข 14 ชื่อ หญิงสาวกับความตาย) ชูเบิร์ทเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) เพื่อตอบสนองคำขอร้องสุดท้ายขอเขา ชูเบิร์ทได้ถูกฝังใกล้กับหลุมฝังศพของลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน ผู้ที่ชูเบิร์ททั้งรู้สึกดึงดูดมาตลอดชีวิต
ผลงาน
ผลงานชิ้นสำคัญ
สำหรับวงออร์เคสตรา
- 8e symphonie dite « L'inachevée » D.759 ;
- 9e symphonie dite « La grande » D.944
สำหรับเปียโน
- Huit impromptus
- Les six moments musicaux
- 21 Sonates pour piano, dont
- 21ème sonate en Si bémol majeur D960
- 20ème sonate en La majeur D959
- 19ème sonate en Ut mineur D958
- 18ème sonate en Sol majeur (Fantaisie) D 894
- 17ème sonate en en Ré majeur D850
- 16ème sonate en La mineur D845
- 15ème sonate en Ut majeur D894
- 14ème sonate en La mineur D784
- 13ème sonate en La majeur D664
- 11ème sonate en Fa mineur D625
- 9ème sonate en Si bémol majeur D575
- 8ème sonate en Mi bémol majeur D 568
- 6ème sonate en Mi majeur D566
- 5ème sonate en Mi bémol majeur D557
- 4ème sonate en La mineur D537
- 1ère sonate en Mi majeur D157
- Fantaisie à 4 mains en fa mineur D940
เชมเบอร์มิวสิก
ดนตรีขับร้อง
สื่อ
ผู้เล่นผลงานของชูเบิร์ทที่มีชื่อเสียง
ผลงานที่มีแรงบันดาลใจจากชูเบิร์ท
แหล่งข้อมูลอื่น