สำหรับพายุลูกอื่นที่มีชื่อเดียวกัน ดูที่
พายุกูโชล
พายุไต้ฝุ่นกูโชล (อักษรโรมัน: Guchol)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นบุตโชย (ตากาล็อก: Butchoy)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ทรงอนุภาพซึ่งส่งผลกระทบกับทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นในเดือนมิถุนายน พายุก่อตัวขึ้นเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำทางตะวันออกเฉียงใต้ของโปห์นเปย์เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน และทวีความรุนแรงขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยทำให้พายุทวีความรุนแรงไปถึงไต้ฝุ่นรุนแรง (typhoon intensity) เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พายุมีความรุนแรงสูงสุดเมื่อช่วงสายของวันที่ 17 มิถุนายน และปกคลุมทั่วประเทศญี่ปุ่นในขณะที่มีความรุนแรงเป็นไต้ฝุ่น เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน
เจ้าหน้าที่ทางการของญี่ปุ่นสั่งอพยพผู้คนกว่า 150,000 คน ในภาคกลาง, ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น สำนักข่าวเคียวโดะมีการประกาศเตือนภัยอันตรายจากดินถล่มเนื่องจากฝนตกหนัก โดยในขณะที่พายุเคลื่อนตัวผ่านมีฝนตกหนักและลมกรรโชกแรงในเกาะฮนชู มีผู้เสียชีวิตหนึ่งคนและสิบห้าคนได้รับบาดเจ็บทั่วประเทศ
กูโชล เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ทำให้เกิดดินถล่มในประเทศญี่ปุ่นในปี 2555 ชื่อนี้เคยถูกใช้ครั้งแรกเมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายน ปี 2547 โดย "กูโชล" (Guchol, Guchoel) หมายถึง ขมิ้น เป็นภาษาถิ่นไมโครนีเชีย
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นกูโชล
- วันที่ 7 มิถุนายน ในช่วงสายมีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นบริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ค่อนใต้ของโปห์นเปย์
- วันที่ 8 มิถุนายน ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้ประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในระบบ แต่ได้ยกเลิกไปในวันที่ 9 มิถุนายน
- วันที่ 10 มิถุนายน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศเพิ่มระดับความรุนแรงของหย่อมความกดอากาศต่ำเป็นดีเปรสชันเขตร้อน
- วันที่ 12 มิถุนายน JTWC และ JMA ได้ประกาศเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อน และ JMA ได้ใช้ชื่อ "กูโชล" (Guchol)
- วันที่ 14 มิถุนายน JMA ได้ประกาศเพิ่มความรุนแรงกูโชล เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้ประกาศใช้ชื่อ "บุตโชย" (Butchoy) เนื่องจากระบบได้เคลื่อนตัวเข้ามาในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ ต่อมา JTWC ได้ประกาศเพิ่มความรุนแรงของกูโชล เป็นไต้ฝุ่น ระดับ 1
- วันที่ 15 มิถุนายน พายุได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นไต้ฝุ่น ระดับ 2 และเริ่มมีการจัดระบบการหมุนเวียนที่ดีขึ้น
- วันที่ 16 มิถุนายน JMA ได้ประกาศเพิ่มความรุนแรงเป็นไต้ฝุ่น ในขณะที่พายุเริ่มมีการปรากฏของตาพายุ JTWC จึงประกาศเพิ่มความรุนแรงของพายุเป็นไต้ฝุ่นระดับ 3 และ ซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 ตามลำดับ
- วันที่ 17 มิถุนายน กูโชลมีความรุนแรงสูงสุด
- วันที่ 18 มิถุนายน กูโชลเริ่มลดระดับความรุนแรงลงเรื่อยๆ
- วันที่ 19 มิถุนายน JTWC ประกาศลดระดับความรุนแรงของกูโชล ลงเป็นพายุโซนร้อน ในขณะที่มันได้สร้างความเสียหายต่อประเทศญี่ปุ่น
- วันที่ 20 มิถุนายน JMA ประกาศลดระดับความรุนแรงของกูโชล ลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงขณะที่มันกำลังเคลื่อนไปทั่วประเทศญี่ปุ่น
การเตรียมการและผลกระทบ
แม้ว่าไต้ฝุ่นกูโชลยังคงอยู่ห่างจากฟิลิปปินส์ เนื่องจากระบบเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ ทำให้เสริมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ให้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้มีฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง
วันที่ 18 มิถุนายน JMA ประกาศในรายงานว่าไต้ฝุ่นอยู่ห่างจากนะฮะไปทางทิศใต้ประมาณ 450 กิโลเมตร ก่อนที่จะปกคลุมทั่วญี่ปุ่น ในวันที่ 19 มิถุนายน[1] ไม่นานหลังจากนั้นบริเวณชายฝั่งของประเทศญี่ปุ่นก็เริ่มมีลมพัดแรงกว่า 144 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (89 ไมล์ต่อชั่วโมง)
เจ้าหน้าที่ทางการของญี่ปุ่นสั่งอพยพผู้คนกว่า 150,000 คน ในภาคกลาง, ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น สำนักข่าวเคียวโดะมีการประกาศเตือนภัยอันตรายจากดินถล่มเนื่องจากฝนตกหนัก กว่า 452 เที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศถูกยกเลิก มีผู้เดือนร้อนกว่า 35,000 คน รถไฟฟ้าความเร็วสูงมีความล่าช้าและถูกยกเลิก ถนนบางสายถูกปิดการจราจร
ในจังหวัดชิซุโอะกะ มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตเป็นชายหนึ่งคนจากเพิงเก็บของถล่ม ในขณะที่ 52 คนได้รับบาดเจ็บในหลายจังหวัด
จากกูโชล ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยสองคน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมากทั่วประเทศญี่ปุ่น ความเสียหายทางเศรษฐกิจตีเป็นเงินกว่า 8 พันล้านเยน (100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[2]
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
- ↑ "กูโชล" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 5 ลำดับที่ 23 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไมโครนีเซีย
- ↑ พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "บุตโชย" (12 ถึง 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
|
TD | |
TD | |
TD | |
TS | |
TD | |
TD | |
STS | |
TY | |
VTY | |
STS | |
TS | |
STS | |
TY | |
TY | |
TY | |
TY | |
STS | |
TD | |
TY | |
TY | |
VSTY | |
TD | |
VTY | |
VTY | |
STS | |
STS | |
STS | |
VSTY | |
STS | |
VSTY | |
TD | |
VTY | |
TS | |
|
|