พานาเวีย ทอร์นาโด (อังกฤษ: Panavia Tornado) ทอร์นาโด เป็นเครื่องบินระหว่างชาติ โดยความร่วมมือทางเทคโนโลยี จากบริษัท 3 บริษัท คือ บริษัท บีเอซี ของอังกฤษ บริษัทเมสเซอร์สมิทท์ เบอลโกว์ โบลห์ม แห่งเยอรมัน และ บริษัทแอลิตาเลีย ของอิตาลี รวมกันทางด้านเทคโนโลยีตั้งเป็นบริษัท พานาเวีย โดยทั้ง 3 บริษัทได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลทั้ง 3 ประเทศ เพื่อพัฒนาและสร้างเครื่องบินรบเอนกประสงค์สองที่นั่งและสามารถทำงานได้หลายรูปแบบเพื่อใช้สำหรับกองทัพนาโต
ระบบเครื่องยนต์ไอพ่นมีระบบสันดาปท้ายช่วยให้สามารถทำความเร็วได้ถึง 2.2 มัค หรือ 2,335 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นเครื่องบินขับไล่แบบแรกที่ใช้ระบบเทคโนโลยี ฟลาย-บาย-ไวร์ และติดตั้งเรดาร์แบบที่สามารถช่วยให้บินต่ำได้ด้วยความเร็วระดับสูง สามารถบรรทุกระเบิดได้สูงสุดถึง 18,000 ปอนด์
[1] [2]
ภารกิจและบทบาท
เทอร์นาโด เป็นเครื่องบินรบเอนกประสงค์ มีความสามารถ 6 ภารกิจสำคัญ
- การสนับสนุนหน่วยกำลังภาคพื้นดิน
- การบินขัดขวาง
- การครองอากาศ
- การบินสกัดกั้น
- การโจมตีทางทะเล
- การลาดตระเวนทางอากาศ
[1]
ประเทศผู้ใช้งาน
รายละเอียด พานาเวีย เทอร์นาโด
- ผู้สร้าง บริษัทพานาเวีย แอร์คารฟท์ จีเอ็มบีเอช (โครงการร่วมมือระหว่างชาติ เยอรมัน/อังกฤษ/อิตาลี)
- ประเภท เครื่องบินรบเอนกประสงค์ 2 ที่นั่งเรียงกัน
- เครื่องยนต์ เทอร์โบแฟน เทอร์โบ-ยูเนียน อาร์บี 199-34 อาร์-4 ให้แรงขับเครื่องละ 9,800 ปอนด์ และ 17,300 ปอนด์ เมื่อใช้สันดาปท้าย 2 เครื่อง
- กางปีก 13.9 เมตร เมื่อกางเต็มที่
- 8.6 เมตร เมื่อลู่ปีกไปข้างหลัง
- ยาว 16.7 เมตร
- สูง 5.7 เมตร
- พื้นที่ปีก 30 ตารางเมตร
- น้ำหนักเปล่า 12,700 กิโลกรัม
- น้ำหนักรวม 18,145 กิโลกรัม
- น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 25,000 กิโลกรัม
- อัตราเร็วสูงสุด 2.2 มัค (2,235 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ที่ระยะสูง 11,000
- 1.1 มัค (1,350 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ที่ระยะสูง 150 เมตร
- รัศมีทำการรบ 1,200 กิโลเมตร เมื่อบิน สูง-ต่ำ-สูง
- 725 กิโลเมตร เมื่อบิน ต่ำ-ต่ำ-ต่ำ
- พิสัยบินไกลสุด กว่า 4,830 กิโลเมตร
- อาวุธ ปืนใหญ่อากาศเมาเซอร์ ขนาด 27 มม 2 กระบอกที่ใต้ลำตัวส่วนหน้า
- อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ ไซด์ไวน์เดอร์ ที่ใต้ปีกจำนวน 4 นัด
- จรวดนำวิถีสกายแฟลช พิสัยปานกลางที่ใต้ลำตัว 4 นัด
- จรวดสแปร์โรว์ หรือ แอสไปด์ 1 เอ
- อาวุธปล่อยอากาศสู่พื้น เอเอส 30 มาร์เตล คอร์โมรัน หรือ จัมโบ เมื่อปฏิบัติการโจมตี
[1]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522
- ↑ แทงโก นิตยสารเพื่อคนรักการบินและเทคโนโลยี,มูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์,กรุงเทพฯ,ปีที่ 15 ฉบับที่ 175 เมษายน 2550,หน้า 67