พลังงานพายุหมุนสะสม

การสะสมพลังงานในพายุหมุน (อังกฤษ: Accumulated cyclone energy หรือย่อว่า ACE) คือมาตราที่ถูกใช้โดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ในการแสดงกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนแต่ละลูก และทั้งมวลในฤดูพายุหมุนเขตร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก ซึ่งใช้การประมาณพลังงานลมของพายุหมุนเขตร้อนตลอดอายุขัยของมัน โดยมีการคำนวณในทุก ๆ หกชั่วโมง ค่าเอซีอีของฤดูกาล คือ ผลรวมของค่าเอซีอีของพายุแต่ละลูก ซึ่งการบันทึกทางประวัติศาสตร์ ค่าเอซีอีที่สูงที่สุดในโลกเป็นของพายุเฮอร์ริเคนโอกในปี พ.ศ. 2549 ที่ 82[1]

การคำนวณ

ค่าเอซีอีของแต่ละฤดูกาลมีการคำนวนโดย ผลรวมของความเร็วลูมสูงสุดโดยประมาณการณ์ของทุกกิจกรรมของพายุโซนร้อน (ความเร็วลม 35 นอต (65 กม./ชม.) ขึ้นไป) ในแต่ละ 6 ชั่วโมงยกกำลังสอง ตั้งแต่มีการคำนวณมีการเริ่มต้นจุดของเวลาหกชั่วโมง คือ 0000, 0600, 1200 และ 1800 ตามเวลาสากลเชิงพิกัด ถ้าพายุลูกใดเคลื่อนข้ามปีไป ค่าเอซีอีของพายุลูกนั้นจะถูกนำไปนับรวมกับของปีก่อน[2] ส่วนตัวเลขที่มักนำมาใช้หารคือ 10,000 เพื่อทำให้จัดการได้ง่ายขึ้น ค่าเอซีอีมีหน่วยเป็น 104 kn2 และสำหรับการใช้ดัชนีนี้ หน่วยคือการสมมติ มีสูตรคำนวณดังสมการ

เมื่อ vmax คือการประมาณการณ์ความเร็วลมต่อเนื่องในหน่วยนอต

พลังงานจลน์ คือ สัดส่วนในการยกกำลังสองของความเร็ว และโดยการเพิ่มขึ้นของพลังงานต่อบางช่วงเวลา ซึ่งการสะสมพลังงานจะพบเป็นระยะเวลาของการเพิ่มขึ้นของพายุ ค่าทั้งหมดจะถูกรวม และเช่นเดียวกันกับค่าเอซีอี เช่นนั้น พายุที่มีระยะเวลามากกว่า อาจมีพลังงานสะสมของพายุมากกว่าพายุที่ทรงพละกำลังแต่มีช่วงเวลาที่สั้นกว่า ถึงแม้ว่าค่าการสะสมพลังงานในพายุหมุน คือ ค่าสัดส่วนต่อพลังงานของระบบ มันไม่ได้ถูกคำนวณโดยตรงจากพลังงาน (มวลของการเคลื่อนตัวของอากาศและขนาดของพายุจะแสดงการคำนวณพลังงานจริง)

ปริมาณสัมพันธ์ คือ ศักยะทำลายล้างของเฮอริเคน (Hurricane destruction potential; HDP) ซึ่งค่าเอซีอีแต่เฉพาะการคำนวณสำหรับเวลา เมื่อระบบเป็นพายุเฮอร์ริเคน[3]

อ้างอิง

  1. Mark Saunders; Adam Lea (2007). "Summary of 2006 NW Pacific Typhoon Season and Verification of Authors' Seasonal Forecasts" (PDF). Tropical Storm Risk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-11-29. สืบค้นเมื่อ 2013-09-01.
  2. Last advisory for T.S. Zeta 2005
  3. Bell GD, Halpert MS, Schnell RC, และคณะ (2000). "Climate Assessment for 1999". Bulletin of the American Meteorological Society. 81 (6): 1328. Bibcode:2000BAMS...81.1328B. doi:10.1175/1520-0477(2000)081<1328:CAF>2.3.CO;2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-08. สืบค้นเมื่อ 2016-07-30.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!