พระพิมลธรรม นามเดิม นาค ฉายา สุมนนาโค เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองหนเหนือ เจ้าคณะมณฑลชุมพร เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร นอกจากนี้ท่านยังเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงจากการทำตะกรุดหนังหน้าผากเสือ
ประวัติ
พระพิมลธรรม มีนามเดิมว่า นาค เป็นชาวบ้านบางพูน จังหวัดปทุมธานี เกิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือนยี่ ปีวอก จ.ศ. 1234 ตรงกับวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2415 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2416) เมื่ออายุ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่กับเจ้าอธิการหว่าง วัดสารพัดช่าง (ภายหลังเป็นพระครูธรรมานุสารี วัดเทียนถวาย) ได้เข้าสอบครั้งแรกในปีขาล พ.ศ. 2433 ได้เปรียญธรรม 4 ประโยค เมื่ออายุครบอุปสมบท อาจารย์จึงนำมาฝากกับพระธรรมวโรดม (แดง สีลวฑฺฒโน) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร[1]
พ.ศ. 2435 ปีมะโรง ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระอุปัชฌาย์บ้าง กับพระยาธรรมปรีชา (ทิม) บ้าง แล้วเข้าสอบเป็นครั้งที่สองในปีมะเมีย พ.ศ. 2437 ได้อีก 2 ประโยคเป็นเปรียญธรรม 6 ประโยค และเข้าสอบครั้งสุดท้ายในปีจอ พ.ศ. 2441 เป็นเปรียญธรรม 7 ประโยค[1]
วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2453 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรสถาปนาเป็นเจ้าคณะมณฑลชุมพร[2]
สมณศักดิ์
- 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีสมโพธิ มีนิตยภัตราคาเดือนละ 4 ตำลึง[3]
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2461 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเวที ตรีปิฎกภูษิต ธรรมบัณฑิตยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
- 24 กันยายน พ.ศ. 2464 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสุธี ธรรมปรีชาประยุต สุทธปริยัติธร ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
- 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมดิลก ศากยบุตติยนายก[6] ตรีปิฎกบัณฑิต ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
- 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายอรัณยวาสี (ชั้นธรรมพิเศษ)[8] ที่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ญาณวิสุทธิจริยาปริณายก ตรีปิฎกคุณาลังการ นานาสถานราชคมนีย์ สาธุการีธรรมากร สุนทรศีลาทิขันธ์[9]
- 19 กันยายน พ.ศ. 2482 เป็นพระราชาคณะรองเจ้าคณะหนเหนือที่ พระพิมลธรรม มหันตคุณ วิบุลยปรีชาญาณนายก ตรีปิฎกคุณาลังการภูษิต อุดรทิศคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]
มรณภาพ
พระพิมลธรรม ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2488[11] สิริอายุได้ 72 ปี 193 วัน
อ้างอิง
- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, 250
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรเจ้าคณะมณฑล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 568. 3 กรกฎาคม ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2560.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งตำแหน่งพระสงฆ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 (34): 487. 19 พฤศจิกายน ร.ศ. 118. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2560.
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 35 (0 ง): 1, 831. 5 มกราคม 2461. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2560.
- ↑ "ประกาศสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ง): 1, 831. 2 ตุลาคม 2464. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2560.
- ↑ "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๓ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ หน้า ๓๐๔๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ง): 3, 241. 5 ธันวาคม 2469. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2560.
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ง): 3, 046. 26 พฤศจิกายน 2469. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2560.
- ↑ เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, หน้า 196
- ↑ "แจ้งความ พระราชทานสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 50 (0 ง): 2, 397. 26 พฤศจิกายน 2476. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2560.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 1, 786–1, 787. 25 กันยายน 2482. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2560.
- ↑ ประวัติวัดอรุณราชวราราม, หน้า 85
- บรรณานุกรม
- กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 195-196. ISBN 974-417-530-3
- วัดอรุณราชวราราม. ประวัติวัดอรุณราชวราราม. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่, 2552. 260 หน้า. หน้า 84-85. [จัดพิมพ์ในงานออกเมรุพระราชทานเพลิงศพ (พระธรรมสิริชัย (บุญเลิศ โฆสโก)]
- สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. หน้า 250. ISBN 974-417-530-3