พระครูอาภัสศีลคุณ
(ทวี แป้นสุวรรณ , อาภสฺสโร) |
---|
ส่วนบุคคล |
---|
เกิด | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2459 (73 ปี) |
---|
มรณภาพ | 1 มีนาคม พ.ศ. 2533 |
---|
นิกาย | มหานิกาย |
---|
การศึกษา | - ชั้นประถมศึกษา - ประกาศนียบัตรครูมูล - พระปริยัติธรรม (นักธรรมชั้นเอก) |
---|
ตำแหน่งชั้นสูง |
---|
ที่อยู่ | วัดบ้านกร่าง ตำบลบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี |
---|
อุปสมบท | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 |
---|
พรรษา | 54 พรรษา |
---|
ตำแหน่ง | - อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์ - อดีตผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์ - อดีตรองเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์ - อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านกร่าง |
---|
พระครูอาภัสศีลคุณ (ทวี อาภสฺสโร) นิยมเรียกว่า “พระปลัดทวี” หรือ "หลวงพ่อทวี วัดบ้านกร่าง" เป็นพระเถราจารย์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุพรรณบุรี อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์ อดีตผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์ อดีตรองเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์ และอดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านกร่าง ตำบลบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติ
ชาติภูมิ
ชื่อ ทวี นามสกุล แป้นสุวรรณ ชาตะ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2459 (วันอังคาร ขึ้น 11 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง) ณ บ้านดอนไร่ ตำบลหนองสะเดา อำเภอนางบวช เมืองสุพรรณบุรี (ปัจจุบันคือ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี)
เป็นบุตรคนที่ 8 ในจำนวน 9 คน ของนายเหม นามสกุล แป้นสุวรรณ กับ นางสมบุญ นามสกุล สุนทรวิภาต (เป็นตระกูลเจ้าเมืองสุพรรณบุรี)[1] ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกร[2]
วัยเยาว์
วัยเยาว์ ได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่วัดดอนไร่ ตำบลหนองสะเดา อำเภอนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี[1]
มีศักดิ์เป็นหลานชายของพระภิกษุมุ่ย พุทฺธรกฺขิโต วัดดอนไร่ (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ เจ้าอาวาสวัดดอนไร่)[3]
อุปสมบท
วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 (วันอังคาร ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 7 ปีชวด) บรรพชาและอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดหนองกระทุ่ม ตำบลหนองสะเดา อำเภอนางบวช (ปัจจุบันคือ อำเภอสามชุก) จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี[1]
พระมหาเผื่อน สุเมโธ เจ้าคณะแขวงนางบวช เจ้าอาวาสวัดวังหิน อำเภอนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูโกมุทสมานคุณ)[4] เป็นพระอุปัชฌาย์
พระเจ้าอธิการมุ่ย พุทฺธรกฺขิโต เจ้าคณะหมวดหนองสะเดา เจ้าอาวาสวัดดอนไร่ อำเภอนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสุวรรณวุฒาจารย์)[3] เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระทอง โสภโณ วัดวังหิน (ภายหลังมีสมณศักดิ์เป็น พระมหาทอง วัดคลองขอม, วัดทุ่งสามัคคีธรรม) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า "อาภสฺสโร" [อา - พัด - สะ - โร]
อุปสมบทแล้วจำวัดอยู่ที่วัดดอนไร่ ต่อมาย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี อันเป็นภูมิลำเนาข้างโยมมารดา ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2479 ในสมัยพระอธิการกลุ่ม และพระเมธีธรรมสาร (ไสว ธมฺมสาโร) เป็นเจ้าอาวาส ตามลำดับ[1]
วิทยฐานะ
ตำแหน่ง
งานปกครอง
- พ.ศ. ยังไม่พบข้อมูล เป็นรองเจ้าอาวาสวัดบ้านกร่าง
- พ.ศ. 2513 - 2522 เป็นรองเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์ (สมัยที่ 1) ในสมัยพระเมธีธรรมสาร (ไสว ธมฺมสาโร) เป็นเจ้าคณะอำเภอ
- พ.ศ. 2513 - 2522 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์
- พ.ศ. 2515 - 2533 เป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2522 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบ้านกร่าง
- พ.ศ. 2522 - 2524 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์
- พ.ศ. 2523 - 2533 เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านกร่าง
- พ.ศ. 2524 - 2532 เป็นรองเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์ (สมัยที่ 2) ในสมัยพระครูศรีคณานุรักษ์ (สม คงฺคสุวณฺโณ) เป็นเจ้าคณะอำเภอ
สมณศักดิ์
- พ.ศ. 2482 เป็นพระใบฎีกา ฐานานุกรมใน พระครูเมธีธรรมสาร (ไสว ธมฺมสาโร) ที่ พระใบฎีกาทวี อาภสฺสโร[1]
- พ.ศ. 2483 เป็นพระปลัด ฐานานุกรมใน พระครูเมธีธรรมสาร (ไสว ธมฺมสาโร) ที่ พระปลัดทวี อาภสฺสโร[1]
- พ.ศ. 2516 เป็นพระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูอาภัสศีลคุณ[5]
อาพาธ - มรณภาพ
พระครูอาภัสศีลคุณ อาพาธเรื้อรังด้วยโรคระบบทางเดินหายใจมาเป็นเวลานาน กระทั่งล้มป่วยหนักและถึงแก่มรณภาพด้วยโรคดังกล่าว ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2533 สิริอายุ 73 ปี 2 เดือน 24 วัน อุปสมบทได้ 54 พรรษา[1]
สิ่งเกี่ยวเนื่อง - อนุสรณ์
- รูปเหมือนหลวงพ่อทวี สร้างภายหลังพระครูอาภัสศีลคุณ (ทวี อาภสฺสโร) มรณภาพแล้ว ปัจจุบันประดิษฐานที่มณฑป วัดบ้านกร่าง
- พระพิมพ์ขุนแผน รุ่นพระปลัดทวี เป็นวัตถุมงคลซึ่งพระครูอาภัสศีลคุณ (ทวี อาภสฺสโร) สร้างครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระปลัดทวี อาภสฺสโร" ได้รับความนิยมในวงการผู้นิยมพระเครื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน[2]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2534). ชวนคิด พินิจธรรม พระครูอาภัสศีลคุณ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
- ↑ 2.0 2.1 มนัส โอภากุล. (2542). พระเครื่องวัดบ้านกร่าง. ใน หลวงพ่อ เพื่อวัด เพื่อบ้าน. พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). หน้า 191. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
- ↑ 3.0 3.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 76, ตอน 115 ง, 16 ธันวาคม พ.ศ. 2502, หน้า 32
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 58 ง, 11 มีนาคม พ.ศ. 2484, หน้า 499
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ , เล่ม 60, ตอน 177 ง, 28 ธันวาคม พ.ศ. 2516, หน้า 11
แหล่งข้อมูลอื่น