ส่วนจัดแสดงผลงานศิลปาชีพภายในอาคารพระมิ่งขวัญ
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมนอกภาคการเกษตร (อังกฤษ : Center for the promotion and development of additional careers outside of agriculture ) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตั้งอยู่ที่ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปัจจุบันศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมนอกภาคการเกษตรอยู่ในความดูแลของ สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 เป็นต้นมา
ประวัติ
ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ได้ปิดให้บริการเยี่ยมชมจากบุคคลภายนอกเนื่องจากเหตุการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2563 และปิดให้บริการมาตลอดหลังจากนั้น
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมนอกภาคการเกษตร
ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ โอนคืนพื้นที่ ทรัพย์สิน และภารกิจของศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ให้กับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม[ 1] ตามหนังสือสำนักพระราชวัง ที่ พว. 0202.2/2154 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ โอนคืนพื้นที่ ทรัพย์สิน และภารกิจของศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้แก่ ส.ป.ก.[ 2]
วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้ดำเนินการทำพิธีลงนามรับมอบทรัพย์สิน ผลิตภัณฑ์ และภารกิจของศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ จากศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเมื่อ ณ หอประชุมหม่อมราชวงศ์หญิงรสลินคัดคณางค์ โดยมีนายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ ส.ป.ก. พร้อมคณะผู้บริหารเป็นผู้รับมอบจาก พลเอก เธียรศักดิ์ พะลายานนท์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ และนายสมจิตต์ โสมวิเศษ หัวหน้าสำนักผู้อำนวยการ[ 1]
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมนอกภาคการเกษตรเปิดให้บริการเยี่ยมชมอีกครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 โดยปรับรูปแบบเป็นการเปิดให้ชมเป็นคณะซึ่งหน่วยงานที่สนใจสามารถทำหนังสือเพื่อขอเข้าชมมายังเลขาธิการ ส.ป.ก. ได้โดยตรง[ 2]
โครงสร้าง
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมนอกภาคการเกษตร ประกอบด้วยบุคลากรจำนวน 118 คน มีโครงสร้างการบริหารงาน[ 3] ดังนี้
งานบริหารทั่วไป
งานบริหารจัดการทรัพย์สินและผลประโยชน์
งานนโยบาย แผนงาน งบประมาณและติดตามประเมินผล
งานฝึกอบรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
งานบำรุงรักษา อาคารสถานที่และยานพาหนะ
การฝึกอบรมศิลปาชีพ
การส่งเสริมพัฒนาอาชีพภายในศูนย์
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมนอกภาคการเกษตร เปิดให้ฝึกอบรมศิลปาชีพในด้านต่าง ๆ รวม 12 แผนก โดยรับสมัครและคัดเลือกนักเรียนผ่านสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดทั้ง 72 จังหวัด แบ่งเป็นการฝึกอบรม 2 รูปแบบ คือ
การฝึกอบรมศิลปาชีพเพื่อวิสาหกิจชุมชน คัดเลือกจากวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้กับสมาชิกในวิสหากิจนอกเหนือจากรายได้ในภาคการเกษตร ฝึกฝนทักษะเกี่ยวกับศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน
การฝึกอบรมศิลปาชีพเพื่อบุคคลทั่วไป คัดเลือกจากบุตรหลานของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน แบ่งเป็นปีละ 2 รุ่น รุ่นละ 6 เดือน (เริ่มต้นฝึกในเดือนตุลาคม และเดือนเมษายน)
แผนกฝึกอบรม
อาคารแผนกฝึกอบรมภายในศูนย์ฯ
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมนอกภาคการเกษตร ประกอบด้วยแผนกฝึกอบรม 12 แผนก 5 ประเภทวิชา[ 4] ดังนี้
ประเภทวิชาศิลปกรรม
แผนกวิชาช่างวาดภาพสีน้ำมัน
แผนกวิชาช่างเขียนภาพลายไทย
ประเภทวิชาศิลปหัถกรรม
แผนกวิชาช่างเครื่องหนังและผลิตภัณฑ์ผ้า
แผนกวิชาช่างประดิษฐ์หัวโขน
แผนกวิชาช่างเป่าแก้ว
แผนกวิชาช่างปั้นตุ๊กตาชาววังและดอกไม้ดินไทย
แผนกวิชาช่างบาติก
ประเภทวิชาคหกรรม
แผนกวิชาช่างศิลปประดิษฐ์
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมศิลป์
แผนกวิชาช่างเครื่องเรือนไม้และบ้านทรงไทย
แผนกวิชาช่างเครื่องเรือนหวายและสานผักตบชวา
แผนกวิชาช่างเครื่องเคลื่อบดินเผา
ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
แผนกวิชาช่างเครื่องยนต์จักรกลทางการเกษตร
ดูเพิ่ม
อ้างอิง