ผู้บรรยายเรื่อง (อังกฤษ: narrator) ในงานวรรณกรรม, ภาพยนตร์, ละคร, การเล่าเรื่องโดยตรง และอื่น ๆ หมายถึงผู้สื่อหรือถ่ายทอดเรื่องราวแก่ผู้อ่าน/ผู้ฟัง/ผู้ดู เมื่อผู้บรรยายเรื่องเป็นทั้งผู้มีบทบาทในเรื่องด้วย ผู้บรรยายก็อาจจะเรียกว่า “viewpoint character” ผู้บรรยายเรื่องคือองค์ประกอบหนึ่งในสามของการบรรยายเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องชนิดใน องค์ประกอบอีกสองอย่างคือนักเขียน และ “ผู้อ่าน/ผู้ฟัง/ผู้ดู”
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานกำหนดว่าคำว่า “narrator” แปลว่า “ผู้เล่าเรื่อง”[1] แต่ในภาษาอังกฤษคำว่า “narrator” มีความหมายที่แคบกว่าคำว่า “storyteller” หรือ “ผู้เล่าเรื่อง” ฉะนั้นคำว่า “narrator” จึงมาแปลว่า “ผู้บรรยายเรื่อง”
ทั้งผู้ประพันธ์และผู้อ่านอยู่ในโลกของความเป็นจริง หน้าที่ของผู้ประพันธ์คือการสร้างจักรวาล ตัวละคร และเหตุการณ์ภายในเรื่อง หน้าที่ของผู้อ่านคือการทำความเข้าใจและการตีความหมายของเรื่อง ผู้บรรยายเรื่องเท่านั้นที่เป็นผู้เดียวที่อยู่ในโลกที่สร้างขึ้นโดยผู้ประพันธ์ผู้มีหน้าที่เสนอเรื่องที่เกิดขึ้นที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจ
ผู้บรรยายเรื่องอาจจะบรรยายเรื่องจากมุมมองของตนเอง หรือจากมุมมองของตัวละครตัวใดตัวหนึ่งในเรื่อง การบรรยายเรื่องหรือกระบวนการของบรรยายเรื่องเรียกว่า “การบรรยายเรื่อง” (narration)
การอรรถาธิบาย (exposition), การโต้แย้ง (argumentation), การบรรยาย (description) และการบรรยายเรื่องเป็นวิธีสี่วจนิพนธ์ (rhetorical modes) ในความหมายที่แคบลงของ “ผู้บรรยายเรื่อง” ในนวนิยายหมายถึงการบรรยายเรื่องราวที่เกิดขึ้นโดยผู้บรรยายเรื่องโดยตรงต่อผู้อ่าน
ส่วนแนวคิดของ “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” (unreliable narrator) (ตรงกันข้ามกับผู้ประพันธ์) มามีความสำคัญขึ้นในการเขียนนวนิยายในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนกระทั่งเมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 การวิพากษ์วรรณกรรมเกิดขึ้นเฉพาะงานกวีนิพนธ์ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มี “ผู้บรรยายเรื่อง” ที่ต่างไปจากผู้ประพันธ์ แต่นวนิยายที่มีโลกที่สร้างขึ้นก่อให้เกิดปัญหา โดยเฉพาะเมื่อ “ผู้บรรยายเรื่อง” มีความเห็นที่แตกต่างจากผู้ประพันธ์เป็นอันมาก
อ้างอิง
ดูเพิ่ม