ผิวหนังเขียว

เขียว
มือเขียวในผู้ป่วยออกซิเจนต่ำ
สาขาวิชาวิทยาปอด, หทัยวิทยา
ประเภทส่วนกลาง, ส่วนปลาย

ผิวหนังเขียว, อาการเขียว หรือ อาการเขียวคล้ำ (อังกฤษ: Cyanosis) เป็นการเปลี่ยนสีของผิวหนังหรือเยื่อมิวคัสเป็นสีออกน้ำเงินถึงม่วง เกิดจากเนื้อเยื่อใกล้พื้นผิวของผิวหนังมีความเข้มข้นของออกซิเจนต่ำ[1] ข้อมูลอิงจากงานศึกษาของ Lundsgaard และ Van Slyke ระบุว่า[2] โดยดั้งเดิมแล้วถือส่าจะเกิดเมื่อมีความเข้มข้นมากกว่า 5.0 g/dL ของ ดีออกซีเฮโมโกลบิน[3] ค่านี้มาจากค่าประมาณความเข้มข้นในหลอดเลือดฝอย ซึ่งได้ากค่าเฉลี่ยของการวัดในหลอดเลือดแดงเทียบกับหลอดเลือดดำ[4] เนื่องจากการคาดการณ์การเกิดออกซิเจนต่ำในปัจจุบันมักนำมาจากการวัดก๊าซในหลอดเลือดแดงหรือจากการพัลส์ออกซิเมทรี (pulse oximetry) ซึ่งเป็นไปได้ว่าเป็นค่าประมาณมากเกินจริง เพราะปรากฏหลักฐานที่แสดงว่าระดับดีออกซีเฮโมโกลบินที่ 2.0 g/dL สามารถเกิดผิวเขียวได้[5]

ชื่อในภาษาอังกฤษ cyanosis แปลตรงตัวว่า "โรคสีน้ำเงิน" หรือ "อาการน้ำเงิน" มาจากชื่อของสีฟ้า (cyan) ซึ่งมาจากคำภาษากรีกที่แปลง่าสีน้ำเงิน (cyanós (κυανός))[6]

อ้างอิง

  1. Adeyinka, Adebayo; Kondamudi, Noah P. (2019-03-24). "Cyanosis". NCBI Bookshelf. PMID 29489181. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  2. Lundsgaard C, Van Slyke DD. Cyanosis. Medicine. 2(1):1-76.
  3. Mini Oxford Handbook of Clinical Medicine (7th ed.). p. 56.
  4. Cyanosis. Lundsgaard C, Van SD, Abbott ME. Cyanosis. Can Med Assoc J 1923 Aug;13(8):601-4.
  5. Goss GA, Hayes JA, Burdon JG. Deoxyhaemoglobin concentrations in the detection of central cyanosis. Thorax 1988 Mar;43(3):212–13.
  6. Mosby's Medical, Nursing & Allied Health Dictionary. Mosby-Year Book (4th ed.). 1994. p. 425.

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

แม่แบบ:Skin and subcutaneous tissue symptoms and signs

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!