|
---|
ป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ(ใหม่) ฝั่งสถานีรถไฟน้ำตก |
ข้อมูลทั่วไป |
---|
ที่ตั้ง | บ้านวังโพธิ์ หมู่1 ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 71150 |
---|
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
---|
สาย | |
---|
ชานชาลา | 1 |
---|
โครงสร้าง |
---|
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน |
---|
ระดับชานชาลา | ป้ายหยุดรถไฟ |
---|
ที่จอดรถ | หลังป้ายหยุดรถ |
---|
ข้อมูลอื่น |
---|
รหัสสถานี | 4072 |
---|
ประวัติ |
---|
เริ่มเปิดให้บริการ | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 (35 ปี) |
---|
ผู้โดยสาร |
---|
|
ประมาณ 100 คน /วัน |
|
|
การเชื่อมต่อ |
---|
|
|
|
ถ้ำกระแซ
|
Thamkrasae
|
กิโลเมตรที่ 190.79
|
ลุ่มสุ่ม Lumsum −1.52 กม.
|
วังโพ Wang Pho +4.23 กม.
|
|
|
|
|
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้
|
|
ที่ตั้ง |
---|
|
|
ป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ (อังกฤษ: Thamkrasae Railway Station) เดิมใช้ชื่อ"สะพานถ้ำกระแซ" อยู่ในเส้นทางรถไฟสายใต้ (ช่วงสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก - สถานีรถไฟน้ำตก) หรือทางรถไฟสายตะวันตก ป้ายหยุดรถไฟตั้งอยู่บริเวณสะพานถ้ำกระแซ ซึ่งเป็นสะพานไม้เลียบหน้าผาที่มีความยาวกว่า 450 เมตร เปิดใช้งานเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยปัจจุบันที่นี่เป็นจุดหนึ่ง ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในเส้นทางสายนี้ (ทางรถไฟสายมรณะ)
ประวัติ
ป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ เป็นป้ายหยุดรถไฟสร้างขึ้นมาหลังการเปิดเดินรถไฟช่วงที่ 2( สถานีรถไฟกาญจนบุรี - สถานีรถไฟวังโพ) ของการฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายน้ำตก(หนองปลาดุก-น้ำตก) ระหว่าง ระยะทาง 61 กิโลเมตร โดยเปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 สำหรับการเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว พร้อมกับป้ายหยุดรถวิทยาลัยเกษตร ป้ายหยุดรถบ้านโป่งเสี้ยว และป้ายหยุดรถเกาะมหามงคล
จากป้ายสถานีรถไฟ เดิมป้ายหยุดรถไฟนี้ใช้ชื่อว่า"สะพานถ้ำกระแซ" โดยปัจจุบันเหลือแค่"ถ้ำกระแซ" จากหลักฐานของป้ายป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ(เดิม) ฝั่งกาญจนบุรี ทีภาษาอังกฤษเขียนว่า "Thamkrasae Bridge" ที่แปลว่าสะพานถ้ำกระแซ
ตำแหน่งที่ตั้ง
ตำแหน่งที่ตั้งป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ
แห่งที่
|
ชื่อ
|
ระยะห่างจากสถานีธนบุรี
|
บริเวณที่ตั้ง
|
ฝั่งของสะพาน
|
การเดินรถไฟ
|
1 (เก่า)
|
ถ้ำกระแซ
|
173.87 กม.
|
สวนไทรโยค กับรีสอร์ท
|
ฝั่งทางสถานีรถไฟกาญจนบุรี
|
ยังใช้งานอยู่
|
สะพานถ้ำกระแซ ยาว 450.06 ม.
|
2 (ใหม่)
|
ถ้ำกระแซ
|
174.32กม.
|
ร้านค้า ใกล้ถ้ำกระแซ
|
ฝั่งทางสถานีรถไฟน้ำตก
|
ยังใช้งานอยู่
|
ตารางเดินรถ
*ข้อมูลเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563[1]
เนื่องจากป้ายหยุดรถทั้ง 2 ยังมีการใช้งานอยู่ ตารางเวลาเดินรถป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซนี้อาจเกิดความสับสน จึงมีการอ้างอิงตามตำแหน่งของป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ(ใหม่) ฝั่งสถานีรถไฟน้ำตกเป็นหลัก
เที่ยวไป
มีจำนวน 5 ขบวน หยุดสถานี 4 ขบวน
เที่ยวกลับ
มีจำนวน 4 ขบวน หยุดสถานี 3 ขบวน
แหล่งท่องเที่ยว
สะพานถ้ำกระแซ
เป็นสะพานทางรถไฟสร้างด้วยไม้ ถูกสร้างในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดนเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งบริเวณนี้เป็นจุดที่สร้างทางรถไฟยากที่สุด เนื่องจากเส้นทางโค้งเลียบเขาลัดเลาะหน้าผาสูงชัน ขนานไปกับลำน้ำแควน้อยที่ต้องใช้เวลาสร้างด้วยความรวดเร็ว เพราะต้องใช้เส้นทางขนยุทโธปกรณ์ เสบียง และกำลังพลทหาร ไปเสริมกำลังฝั่งประเมศพม่าให้เสร็จโดยไว จึงทำให้จุดนี้เชลยศึกเสียชีวิตมากที่สุดของการสร้างทางรถไฟสายนี้ ประมาณ 1,000 กว่าคน เป็นสะพานข้ามเหวลึกที่ยาวที่สุดของสายนี้ ตัวสะพานใช้ไม้ในการก่อสร้าง
ปัจจุบันเป็นจุดท่องเที่ยวอันโด่งดังทั่วโลก ที่ชาวต่างชาติและคนไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ที่รู้จักกันในนาม ''สะพานรถไฟมรณะ''
ถ้ำกระแซ
ตั้งอยู่ติดกับเส้นทางรถไฟสายมรณะอันเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และถ้ำนี้เป็นถ้ำที่เคยเป็นที่พักของเชลยศึกเมื่อครั้งสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะจากไทยไปพม่า ภายในถ้ำโปร่ง และมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ มองจากปากถ้ำมาที่บริเวณทางรถไฟจะเห็นทิวทัศน์ที่งดงามและมองเห็นแม่น้ำแควน้อยอยู่เบื้องล่าง
อ้างอิง
- ↑ ตารางเวลาเดินรถ เก็บถาวร 2020-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2563
แหล่งข้อมูลอื่น
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ
14°06′19″N 99°09′56″E / 14.1051498°N 99.1656717°E / 14.1051498; 99.1656717
|
---|
ธนบุรี–สุไหงโกลก | |
---|
กรุงเทพ (หัวลำโพง)–ชุมทางตลิ่งชัน | |
---|
ทางแยกจากชุมทางหนองปลาดุก–สุพรรณบุรี | |
---|
ทางแยกจากชุมทางหนองปลาดุก–น้ำตก | |
---|
ทางแยกจากชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์–คีรีรัฐนิคม | |
---|
ทางแยกจากชุมทางทุ่งสง–กันตัง | |
---|
ทางแยกจากชุมทางเขาชุมทอง–นครศรีธรรมราช | |
---|
ทางแยกจากชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ | |
---|
|