ปี่ภูไท หรือ ปี่ลูกแคน หรือ ปี่ผู้ไท เป็นเครื่องดนตรีของชาติพันธุ์ภูไท (ผู้ไท) จังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม อุดรธานี มุกดาหาร ในภาคอีสานของประเทศไทย และในแขวงสุวรรณเขต แขวงเชียงขวาง และแขวงคำม่วนในประเทศลาว[1] ทำจากไม้ไผ่เฮี้ย[2] หรือไม้กู่แคน หรือไผ่ลูกแคน แต่เริ่มมีจำนวนน้อยลงเนื่องจากไม้ไผ่เฮี้ยเริ่มหายาก ปี่ภูไทมีลักษณะคล้ายปี่จุมของภาคเหนือ คือมีลิ้นที่ทำจากโลหะจำพวก ทอง ทองแดง เงิน[3] และมีเสียงวิธีการเป่าที่คล้ายกัน ปี่ภูไทเสียงแหลมกังวาน[2] ใช้บรรเลงกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ได้ เช่น แคน พิณ ซอบั้ง และกระจับปี่[4] ใช้บรรเลงประกอบพิธีเลี้ยงผีปู่ตา พิธีหมอเหยา การลำผู้ไท (รำผู้ไท) และการฟ้อนผู้ไท[4] ปราชญ์ชาวบ้านผู้เชี่ยวชาญการเป่าปี่ภูไท อยู่ที่บ้านกุดหว้า ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ คือ เมฆ ศรีกำพล ศิลปินมรดกอีสาน สาขาปี่ภูไท มหาวิทยาลัยขอนแก่น[1] นอกจากนี้ยังประยุกต์เล่นกับวงดนตรีพื้นบ้านอีสาน เช่น วงโปงลาง ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ลายเพลงที่นิยมเล่นคือ ลายภูไทใหญ่ และลายภูไทน้อย[4]
วิธีการทำปี่ภูไท
วิธีการทำปี่ภูไทมี 4 ขั้นตอน ดังนี้
- ตัดไม้ไผ่ลูกแคนให้มีความยาวเท่ากับ 1 ปล้อง และเจาะรูสี่เหลี่ยมผืนผ้าไว้สอดลิ้น
- สอดลิ้นปี่ (ลิ้นปี่ตามขนาดของปี่) เข้าไปในรูสี่เหลี่ยมผืนผ้าและนำเปลือกหอยทะเลฝนกับหินผสมน้ำมาทาที่ลิ้น
- เจาะรูชนิดพิเศษให้ห่างจากลิ้น 8-10 เซนติเมตร เรียกว่า รูเยี่อซึ่งทำมาจากขี้สูด (ชันโรง) และเยื่อพลาสติกหรือเยื่อไผ่ ซึ่งมีหน้าที่ตกแต่งเสียงให้เกิดความไพเราะพริ้วไหว
- เจาะรูนับห่างจากรูเยื่อ 3-5 เซนติเมตร เจาะ 5-6 รู (ตามคีย์ของปี่ ปี่ใหญ่เจาะ 6 รู ปี่เล็ก 5 รู)
อ้างอิง
|
---|
เครื่องดีด | |
---|
เครื่องสี | |
---|
เครื่องตี | เครื่องไม้ | |
---|
เครื่องโลหะ | |
---|
เครื่องหนัง | |
---|
|
---|
เครื่องเป่า | |
---|
เครื่องดนตรีอื่น ๆ | |
---|
แบ่งตามภาค | ภาคเหนือ | |
---|
ภาคอีสาน | |
---|
ภาคกลาง | |
---|
ภาคใต้ | |
---|
|
---|