ปรียานุช ปานประดับ ชื่อเล่น นุช (เกิด 18 ธันวาคม พ.ศ. 2506) บุตรสาวคนเล็กของ นายอมร และ นางพรรณเพ็ญ เป็นผู้หญิงไทยคนที่ 2 ที่ได้รับตำแหน่ง มิสเอเชียแปซิฟิก เป็นนักแสดง ผู้จัดละคร ผู้ประพันธ์สร้างสรรค์เรื่อง โดยใช้นามปากกาว่า "นายพันดี" "สิริพิรี" "จังมุ" "เรียมโสฬส" เป็นคู่ชีวิตของศิลปินแห่งชาติ[1] นพพล โกมารชุน
การศึกษา
อนุบาล - ประถม 4 โรงเรียนสตรีบูรณวิทย์
ประถม 5 - มัธยมปลาย โรงเรียนสาธิตฯปทุมวัน
ระดับปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ไปรัสเซีย ปี 1986 ทุนรัฐบาลรัสเซีย 1 ปี
ระดับปริญญาโท มหาบัณฑิตมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช 2566 ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง ศึกษาวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของพระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) ในประเทศไทย “ANALYSIS OF THE METHOD OF PRACTISING VIPASSANA MEDITATION OF PHRA SOPANA MAHATHERA (MAHASI SAYADAW) IN THAILAND.” ได้รับการยกย่องเชิดชูเป็นหนึ่งในผลงานวิทยานิพนธ์ดีเด่น (ระดับปริญญาโท) ปี พ.ศ. 2566
ประกวดนางงาม
ปรียานุชเข้าสู่วงการนางงามโดยการเข้าประกวด มิสไทยแลนด์เวิลด์ ปี พ.ศ. 2529 โดยเข้าถึงรอบ 10 คนสุดท้าย ซึ่ง แสงระวี อัศวรักษ์ได้เป็นมิสไทยแลนด์เวิลด์ปีนั้น
2 ปี ถัดมา ปรียานุช เข้าประกวดนางสาวไทย พ.ศ. 2531 และคว้าตำแหน่งรองอันดับ 1 โดย ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ได้เป็นนางสาวไทยในปีนั้น และต่อมาได้เป็น นางงามจักรวาล 1988
ปรียานุชได้รับสิทธิ์เป็นตัวแทนสาวไทยไปประกวดมิสเอเชียแปซิฟิก ปี 1988 ซึ่งจัดการเก็บตัวที่ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ ในการเก็บตัวที่ฟิลิปปินส์ ปรียานุชได้รับ 2 รางวัลคือ บุคลิกภาพ และขวัญใจช่างภาพ และได้ขึ้นแท่นเป็นตัวเก็งที่จะคว้ามงกุฎ
ในการประกวดรอบสุดท้ายที่ เกาลูน ฮ่องกง ปรียานุช ประเดิมตำแหน่งแรกของการถ่ายทอดสดคือชุดประจำชาติยอดเยี่ยม ซึ่งปีนั้นกงสุลไทยประจำฮ่องกง ลิขสิทธิ์ ปานสมจิตร ได้รับเชิญเป็นผู้มอบรางวัล
ปรียานุชได้รับการประกาศชื่อเข้ารอบ 16 คน และ 8 คนตามลำดับ ในรอบ 8 คนปรียานุชตอบคำถามเป็นภาษาไทยเกี่ยวกับสวรรค์ของประเทศไทย โดยมีล่ามแปลเป็นภาษาอังกฤษ
จาก 8 คน พิธีกรประกาศรองอันดับ 4 - 1 ได้แก่ Miss Korea, Miss Nothern Nicosia (Cyprus) , Miss Israel และ Miss Mexico ตามลำดับ เหลือเพียง คอสตาริกา (ตัวเก็งอีกคนหนึ่ง เคยเข้าประกวดแต่ตกรอบแรกจาก นางงามจักรวาล 1988 ที่ปุ๋ยภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนกได้มงกุฎ) , ปานามา, ไทย และ ตุรกี ซึ่งปรียานุชได้รับการประกาศให้เป็นผู้ครองมงกุฏ “มิสเอเชียแปซิฟิก” (Miss Asia Pacific 1988), และอีก 3 รางวัลสำคัญคือ รางวัล “ชุดแต่งกายประจำชาติดีเด่น (Best in National Costume) รับรางวัลที่ประเทศฮ่องกง รางวัล “นางงามบุคลิกภาพ” (Miss Personality), และ ”ขวัญใจช่างภาพ” รับรางวัลที่ประเทศฟิลิปปินส์
ประวัติการทำงาน
ปี พ.ศ. 2529-2531 บริษัท Y. STUDIO จำกัด ตำแหน่ง A.E.
ปี พ.ศ. 2531 รับตำแหน่ง “รองนางสาวไทย” อันดับ 1
ปี พ.ศ. 2531 รับตำแหน่ง “มิสเอเชียแปซิฟิก” (Miss Asia Pacific 1988), “นางงามบุคลิกภาพ” (Miss Personality), ขวัญใจช่างภาพ และ “ชุดแต่งกาย
ประจำชาติดีเด่น (Best in National Costume)
ปี พ.ศ. 2534-2535 บริษัท การบินไทย จำกัด ตำแหน่ง ประชาสัมพันธ์.
ปี พ.ศ. 2533 รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง “สงครามเงิน”
ปี พ.ศ. 2538 รับรางวัลเมขลา ผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง “คือหัตถาครองพิภพ”
ปี พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เป่า จิน จง จำกัด / ประธานกรรมการ บริษัท ฮั้ง มโนก้า จำกัด
ปี พ.ศ. 2549 กรรมการมูลนิธิสวัสดิการนักแสดงอาวุโส
ปี พ.ศ.2550 รับรางวัลเพชรสยามด้าน “วัฒนธรรมสยาม”
ปี พ.ศ. 2551 ประธานคณะกรรมการมูลนิธิสวัสดิการนักแสดงอาวุโส
ปี พ.ศ. 2552 กรรมการมูลนิธิไทยกรุณา
ปรียานุชได้เผชิญกับโรคกว่า 20 โรค ผ่านการผ่าตัดมา 7 ครั้ง และต้องนั่งวิลแชร์เป็นเวลา 2 ปี แต่ปัจจุบันสามารถเดินได้แล้ว แต่มีอาการปวดข้อบ้างทำให้เดินไม่สะดวก[2]
ละครโทรทัศน์
ผลงานการแสดงของ ปรียานุช ปานประดับ ได้รับการคัดเลือกเป็นผลงานในโครงการสุดยอดละครไทยในรัชกาลที่ 9 จำนวน 8 เรื่องได้แก่
1.เมียหลวง (2532)
2.กนกลายโบตั๋น (2533) (นพพล – ปรียานุช)
3.ลอดลายมังกร (2535) (นพพล – ปรียานุช)
4.น้ำเซาะทราย (2536)
5.ดาวพระศุกร์ (2537)
6. คือหัตถาครองพิภพ รางวัลเมขลา ครั้งที่15 ปี 2538 รางวัลผู้แสดงนำหญิงดีเด่น ได้แก่ ปรียานุช ปานประดับ (2538)
7.ละครเทิดพระเกียรติชุด พ่อ ตอน เพลงของพ่อ (2542) (นพพล – ปรียานุช)
8.เก็บแผ่นดิน รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 16 ปี 2544 รางวัลละครสร้างสรรค์สังคมดีเด่น (ผู้ประพันธ์ + นักแสดง)
ผลงานโฆษณา
- หมากหอมเยาวราช
- ผงซักฟอกแฟ้บ
- ผ้าอนามัยวิสเปอร์
- แชมพูรีจอยส์
- แชมพูแคล์รอล
- แชมฟูแฟซ่า
- เครื่องสำอาง ฮานาโกะ
ผู้จัดละคร
เป็นผู้จัดละครโทรทัศน์และผู้บริหารของ บริษัท เป่า จิน จง จำกัด มีผลงานเป็นเจ้าของบทประพันธ์ละครชื่อดังอาทิเช่น เก็บแผ่นดิน เมืองดาหลา เพลงผ้าฟ้าล้อมดาว พยัคฆ์ร้ายหัวใจจิ๋ว สายน้ำสามชีวิต วิมานมังกร เก็บรักมาบูชา ดินเนื้อทอง มุกเหลี่ยมเพชร สาปพระเพ็ง เพลิงฉิมพลี ดอกไม้ใต้เมฆ ฟากฟ้าคีรีดาว พยัคฆ์ร้ายซ่อนลาย
เป็นผู้ก่อตั้งวงดนตรีไทยจิดอาสา มโหระทึกดนตรีลีลา ในปี พ.ศ. 2550 เพื่อทำการแสดงในโรงพยาบาล ให้เสียงดนตรีเป็นกำลังใจแก่ผู้ป่วย ญาติ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เช่น แพทย์ พยาบาล จนท.สาธารณสุข ทำการแสดงมาแล้วทั้งในและต่างประเทศ
ผลงานด้านการประพันธ์เรื่อง
ปี พ.ศ. 2543 เขียนนวนิยาย “ไปเก็บแผ่นดินที่สิ้นชาติ” นามปากกา “นายพันดี”
ประพันธ์เรื่อง สัญญาเมื่อสายัณห์, จันทน์กะพ้อ,เวียงกาหลง, นามปากกา “นายพันดี”
ปี พ.ศ. 2544 เขียนนวนิยาย “เมืองดาหลา” นามปากกา “นายพันดี”
ปี พ.ศ. 2546 ประพันธ์เรื่อง “เพลงผ้า ฟ้าล้อมดาว” นามปากกา “สิริพิรี”
ปี พ.ศ. 2547 ประพันธ์เรื่อง “พยัคฆ์ร้ายหัวใจจิ๋ว” นามปากกา “จังมุ”
ปี พ.ศ. 2548 ประพันธ์เรื่อง “สายน้ำสามชีวิต” นามปากกา “นายพันดี”
ปี พ.ศ. 2549 ประพันธ์เรื่อง “วิมานมังกร” นามปากกา “สิริพิรี”
ปี พ.ศ. 2550 ประพันธ์เรื่อง “เก็บรักมาบูชา” นามปากกา “นายพันดี”
ประพันธ์เรื่อง “ดินเนื้อทอง” นามปากกา “เรียมโสฬส”
ปี พ.ศ.2558 ประพันธ์เรื่อง "ดอกไม้ใต้เมฆ" นามปากกา "สิริพิรี"
ปี พ.ศ. 2563 ประพันธ์เรื่อง "ฟากฟ้าคีรีดาว" นามปากกา "สิริพิรี"
รางวัล
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
2529–2540 | |
---|
2541–2551 | |
---|
2552–2562 | |
---|
2563–2573 | |
---|