รีดักชัน
ตัวออกซิเดนต์ + e- ⟶ ผลิตภัณฑ์
(ได้รับอิเล็กตรอน; จำนวนออกซิเดชันลดลง)
ออกซิเดชัน
ตัวรีดักชัน ⟶ ผลิตภัณฑ์ + e-
(สูญเสียอิเล็กตรอน; จำนวนออกซิเดชันเพิ่มขึ้น)
ปฏิกิริยารีดอกซ์แบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือปฏิกิริยารีดักชัน (reduction) และปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation)
ปฏิกิริยารีดอกซ์เป็นปฏิกิริยาเกี่ยวกับการรับส่งอิเล็กตรอน แบ่งได้เป็น 2 ครึ่งปฏิกิริยาคือปฏิกิริยาออกซิเดชัน เป็นปฏิกิริยาที่เสียอิเล็กตรอน และปฏิกิริยารีดักชัน เป็นปฏิกิริยาที่รับอิเล็กตรอน
ปฏิกิริยารีดอกซ์ของสารอินทรีย์ในสิ่งมีชีวิต
ไม่ต่างจากสารอนินทรีย์ เพียงแต่ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในสิ่งมีชีวิตจะเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาดีไฮโดรจีเนชั่น (dehydrogenation reaction) โดยสารอินทรีย์ที่เป็นตัวให้อิเล็กตรอน (reduced form) จะมีไฮโดรเจนมากกว่าออกซิเจน ส่วนสารอินทรีย์ที่เป็นตัวรับอิเล็กตรอน (oxidized form) จะมีออกซิเจนมากกว่าไฮโดรเจน ทั้งนี้การเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนจากสารประกอบหนึ่งไปยังสารประกอบหนึ่ง เกิดได้ 4 แบบ คือ
- เคลื่อนย้ายในรูปอิเล็กตรอนโดยตรง
- เคลื่อนย้ายในรูปอะตอมไฮโดรเจน เพราะอะตอมไฮโดรเจนประกอบด้วย H+ และ e-
- เคลื่อนย้ายในรูปไฮไดรด์ ไอออน (hydride ion, :H-) ซึ่งมีอิเล็กตรอน 2 ตัว
- เคลื่อนย้ายในรูปของออกซิเจน ในกรณีที่ออกซิเจนรวมอยู่เป็นส่วนหนึ่งของสารอินทรีย์ เช่นการเปลี่ยนไฮโดรคาร์บอนเป็นแอลกอฮอล์