ปฏิกิริยานิวเคลียร์

ตามแบบจำลองแสดงปฏิกิริยานิวเคลียร์นี้ lithium-6 (6
3
Li
) และ ดิวเทอเรียม (2
1
H
) ทำปฏิกิริยากันทำให้เกิดนิวเคลียส 8
4
Be
ที่มีแรงกระตุ้นขนาดกลางอย่างสูง จากนั้นมันจะสลายทันทีกลายเป็นอนุภาคแอลฟาของ helium-4 (4
2
He
) 2 ตัว โปรตอนถูกแสดงด้วยลูกกลมสีแดง และนิวตรอนถูกแสดงด้วยลูกกลมสีน้ำเงิน

ปฏิกิริยานิวเคลียร์ (อังกฤษ: Nuclear reaction) ในสาขาฟิสิกส์นิวเคลียร์และเคมีนิวเคลียร์ หมายถึงกระบวนการที่นิวเคลียส 2 ตัวของอะตอมเดียวกัน หรือนิวเคลียสของอะตอมหนึ่งและอนุภาคย่อย ของอีกอะตอมหนึ่งจากภายนอกอะตอมนั้น ชนกัน ทำให้เกิดนิวเคลียสใหม่หนึ่งตัวหรือมากกว่าหนึ่งตัวที่มีจำนวนอนุภาคย่อยแตกต่างจากนิวเคลียสที่เริ่มต้นกระบวนการ ดังนั้นปฏิกิริยานิวเคลียร์จะต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอย่างน้อยหนึ่งนิวไคลด์ ไปเป็นอย่างอื่น หากนิวเคลียสหนึ่งมีปฏิกิริยากับอีกนิวเคลียสหนึ่งหรืออนุภาคอื่นและพวกมันก็แยกออกจากกันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของนิวไคลด์ใด ๆ กระบวนการนี้เป็นแต่เพียงประเภทหนึ่งของการกระเจิงของนิวเคลียสเท่านั้น ไม่ใช่ปฏิกิริยานิวเคลียร์

ในหลักการ ปฏิกิริยาสามารถเกิดขึ้นจากการชนกันของอนุภาคมากกว่าสองอนุภาค แต่เป็นไปได้น้อยมากที่นิวเคลียสมากกว่าสองตัวจะมาชนกันในเวลาเดียวกันและสถานที่เดียวกัน เหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นของหายากเป็นพิเศษ (ดูกระบวนการสามอัลฟา ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ใกล้เคียงกับการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์สามเส้า) "ปฏิกิริยานิวเคลียร์" เป็นคำที่หมายความถึงการเปลี่ยนแปลงที่"ถูกเหนี่ยวนำให้เกิด"ในนิวไคลด์ ดังนั้นมันจึงไม่สามารถนำไปใช้กับการสลายกัมมันตรังสีชนิดใด ๆ ได้ (เพราะโดยคำจำกัดความแล้ว การสลายกัมมันตรังสีเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเอง)

ปฏิกิริยานิวเคลียร์ในธรรมชาติจะเกิดขึ้นจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างรังสีคอสมิกและสสาร และปฏิกิริยานิวเคลียร์สามารถถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้ได้พลังงานนิวเคลียร์ในอัตราที่ปรับได้ตามความต้องการ บางทีปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่โดดเด่นมากที่สุดจะเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ในวัสดุที่แตกตัวได้ (อังกฤษ: fissionable material) เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่นและปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันต่างๆขององค์ประกอบเบาที่ผลิตพลังงานให้กับดวงอาทิตย์และดวงดาวทั้งหลาย ทั้งสองประเภทในการเกิดปฏิกิริยานี้ถูกใช้ในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์

สัญลักษณ์

ปฏิกิริยานิวเคลียร์อาจจะแสดงในรูปแบบที่คล้ายกับสมการเคมี ซึ่งมวลนิ่งจะต้องสมดุลกันสำหรับแต่ละด้านของสมการ และการแปลงของอนุภาคจะต้องเป็นไปตามกฎของการอนุรักษ์ที่แน่นอน เช่นการอนุรักษ์ของประจุและจำนวนแบริออน (จำนวนมวลอะตอมรวม) ตัวอย่างของสัญลักษณ์หนึ่งจะเป็นดังต่อไปนี้:

6
3
Li
 
2
1
H
 
→  4
2
He
 
?

เพื่อความสมดุลของสมการข้างต้นสำหรับมวล ประจุและเลขมวล นิวเคลียสตัวที่สองด้านขวาจะต้องมีเลขอะตอมเป็น 2 และเลขมวลเป็น 4; ดังนั้น มันจึงยังคงเป็นฮีเลียม-4 ดังนั้นสมการที่สมบูรณ์จึงเป็น:

6
3
Li
 
2
1
H
 
→  4
2
He
 
4
2
He

หรือเพียงแค่:

6
3
Li
 
2
1
H
 
→  4
2
He

แทนที่จะใช้สมการเต็มรูปแบบดังกล่าวข้างต้น ในหลาย ๆ สถานการณ์ สัญลักษณ์ที่มีขนาดกะทัดรัดจะถูกใช้เพื่ออธิบายปฏิกิริยานิวเคลียร์ต่างๆ รูปแบบของแบบฟอร์มนี้คือ A(b,c)D เทียบเท่ากับ A + b ได้ c + D. อนุภาคเบาทั่วไปมักจะถูกย่อให้สั้นแบบนี้ โดย p สำหรับโปรตอน n สำหรับนิวตรอน d สำหรับ ดิวเทอเรียม, α แทนอนุภาคแอลฟา หรือฮีเลียม-4, β สำหรับอนุภาคบีตาหรืออิเล็กตรอน, γ สำหรับรังสีแกมมา ฯลฯ ปฏิกิริยาดังกล่าวข้างต้นจะถูกเขียนเป็น Li-6(d,α)α[1][2]

ประวัติ

ในปี 1917, เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ดก็สามารถประสบความสำเร็จในการแปลงร่างของไนโตรเจนให้เป็นแก๊สออกซิเจนที่มหาวิทยาลัยแห่งแมนเชสเตอร์ โดยการใช้อนุภาคแอลฟายิงไปที่ไนโตรเจน 14N + α → 17O + p นี่เป็นการสังเกตครั้งแรกของปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้น, นั่นคือ, ปฏิกิริยาที่อนุภาคจากการสลายตัวหนึ่งถูกใช้ในการแปลงให้เป็นอีกนิวเคลียสหนึ่ง ในที่สุดในปี 1932 ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, ปฏิกิริยานิวเคลียร์และการแปลงพันธ์ทางนิวเคลียร์ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นอย่างสมบูรณ์ถูกทำได้สำเร็จโดยเพื่อนร่วมงานของรัทเธอร์ฟอร์ด นายจอห์น Cockcroft และนายเออร์เนส วอลตัน พวกเขาใช้โปรตอนที่ถูกเร่งความเร็วแบบประดิษฐ์ยิงเข้าใส่ลิเธียม-7 เพื่อแยกนิวเคลียสออกเป็นสองอนุภาคแอลฟา การทดลองนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายว่าเป็น "การแยกอะตอม" แม้ว่ามันจะไม่ใช่ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่นแบบทันสมัยที่มีการค้นพบภายหลังในปี 1938 ในองค์ประกอบหนักโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน นายอ็อตโต ฮาห์นและนายฟริตซ์ Straßmann[3]

การอนุรักษ์พลังงาน

พลังงานจลน์อาจถูกปล่อยออกมาในระหว่างการเกิดปฏิกิริยา (หรือปฏิกิริยาคายความร้อน (อังกฤษ: exothermic reaction)) หรือพลังงานจลน์อาจจะต้องมีการใส่เข้าไปเพื่อให้เกิดปฏิกิริยา (หรือปฏิกิริยาดูดความร้อน (อังกฤษ: endothermic reaction)) ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยการอ้างอิงไปยังตารางของ'มวลนิ่งของอนุภาค' (อังกฤษ: particle rest mass) ที่แม่นยำมากต่อไปนี้[4] ตามตารางที่อ้างอิงถึง นิวเคลียสของ 6
3
Li
มีมวลอะตอมสัมพันธ์ที่ 6.015 หน่วยมวลอะตอม (ตัวย่อ u), ดิวเทอเรียมมี 2.014 u และนิวเคลียสของฮีเลียม-4 มี 4.0026 u ดังนั้น:

  • มวลนิ่งรวมด้านซ้าย = 6.015 + 2.014 = 8.029 u
  • มวลนิ่งรวมด้านขวา = 2 × 4.0026 = 8.0052 u
  • มวลนิ่งขาดหายไป = 8.029 – 8.0052 = 0.0238 u

ในปฏิกิริยานิวเคลียร์หนึ่ง พลังงานสัมพันธ์ (อังกฤษ: relativistic energy) รวมจะถูกอนุรักษ์ เพราะฉะนั้น มวลนิ่ง "ที่ขาดหายไป" จึงต้องเกิดขึ้นอีกครั้งในรูปของพลังงานจลน์ที่ถูกปล่อยออกไปในระหว่างปฏิกิริยา; แหล่งที่มาของมันคือพลังงานยึดเหนี่ยวนิวเคลียส (อังกฤษ: nuclear binding energy) (พลังงานยึดเหนี่ยว, พลังงานยึดเหนี่ยวของโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียส มีค่าเท่ากับพลังงานที่น้อยที่สุดสำหรับการแยกนิวเคลียสออกเป็นโปรตอนและนิวตรอน นอกจากนี้ยังหมายถึง พลังงานยึดเหนี่ยวของอิเล็กตรอนด้วย ซึ่งมีค่าเท่ากับพลังงานที่ต้องใช้เพื่อแยกอิเล็กตรอนออกมาจากอะตอมหรือโมเลกุล [นิวเคลียร์]) เมื่อใช้สูตรสมดุลมวล-พลังงาน E = mc² ของ Einstein ปริมาณของพลังงานที่ปล่อยออกมาก็จะสามารถกำหนดได้ ก่อนอื่นเราต้องรู้พลังงานเทียบเท่าของหนึ่งหน่วยมวลอะตอม:

1 u  = (1.66054 × 10−27 kg) × (2.99792 × 108 m/s)² 
= 1.49242 × 10−10 kg (m/s)² = 1.49242 × 10−10 J (Joule)
× (1 MeV / 1.60218 × 10−13 J)
= 931.49 MeV,

ดังนั้น 1 u  = 931.49 MeV.

ดังนั้นพลังงานที่ปล่อยออกมาจะเท่ากับ 0.0238 × 931 MeV = 22.2 MeV

พูดอีกอย่างคือ: มวลจะลดลง 0.3% ซึ่งสอดคล้องกับ 0.3% ของ 90 PJ/กก. เท่ากับ 270 TJ/kg

นี้เป็นจำนวนที่มากของพลังงานสำหรับปฏิกิริยานิวเคลียร์หนึ่ง จำนวนที่สูงมากนี้เป็นเพราะพลังงานยึดเหนี่ยวต่อ'นิวคลีออน'ของนิวเคลียสของฮีเลียม-4 ที่สูงผิดปกติ เพราะนิวเคลียสของ He-4 เป็น "วิเศษสองเท่า" (นิวเคลียสของ He-4 จะเสถียรแบบที่ไม่ปกติและถูกผูกมัดกันไว้อย่างแน่นหนาด้วยเหตุผลเดียวกันกับที่อะตอมของฮีเลียมเป็นก๊าซเฉื่อย นั่นคือ แต่ละคู่ของโปรตอนและนิวตรอนใน He-4 ครอบครองวงโคจรนิวเคลียร์เต็ม 1s ในลักษณะเดียวกับที่คู่ของอิเล็กตรอนในอะตอมของฮีเลียมครอบครองวงโคจรอิเล็กตรอนเต็ม 1s) ด้วยเหตุนี้อนุภาคแอลฟาจะปรากฏขึ้นบ่อยครั้งทางด้านขวามือของปฏิกิริยานิวเคลียร์

พลังงานที่ปล่อยออกมาในปฏิกิริยานิวเคลียร์จะปรากฏขึ้นส่วนใหญ่ในหนึ่งในสามวิธีต่อไปนี้:

  • พลังงานจลน์ของอนุภาคของผลิตภัณฑ์
  • การปล่อยโฟตอนพลังงานสูงมากที่เรียกว่ารังสีแกมมา
  • พลังงานบางอย่างอาจยังคงอยู่ในนิวเคลียสที่เรียกว่าระดับพลังงาน metastable

เมื่อนิวเคลียสของผลิตภัณฑ์อยู่ในสภาวะ metastable สถานะสามารถบ่งชี้ได้โดยการวางเครื่องหมายดอกจัน ("*") ถัดจากหมายเลขอะตอมของมัน พลังงานนี้จะถูกปล่อยออกในที่สุดผ่านการสลายตัวของนิวเคลียร์ (อังกฤษ: nuclear decay) ซึ่งเป็นการสลายให้กัมมันตรังสี

นอกจากนี้จำนวนเล็กน้อยของพลังงานยังอาจเกิดขึ้นในรูปแบบของรังสีเอกซ์ โดยทั่วไปนิวเคลียสของผลิตภัณฑ์ที่มีเลขอะตอมที่แตกต่างกัน และทำให้รูปแบบของเปลือกของอิเล็กตรอนผิดไป ในขณะที่อิเล็กตรอนจัดเรียงตัวมันเองและลดระดับพลังงานลง รังสีเอกซ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงภายใน (รังสีเอกซ์ที่มีเส้นการแผ่ (อังกฤษ: emission line) ที่ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน) อาจจะถูกปลดปล่อยออกมา

ค่า Q และความสมดุลของพลังงาน

ในการเขียนสมการการเกิดปฏิกิริยา คล้ายกับสมการทางเคมี สารหนึ่งอาจบวกเข้าไปและให้พลังงานจากปฏิกิริยาทางด้านขวา เช่น:

นิวเคลียสเป้าหมาย + วัตถุยิงเข้าไป → นิวเคลียสสุดท้าย + วัตถุปล่อยทิ้ง + ค่า Q

สำหรับกรณีเฉพาะที่กล่าวถึงข้างต้น พลังงานปฏิกิริยาได้ถูกคำนวณเป็นค่า Q = 22.2 MeV ดังนั้น:

6
3
Li
 
2
1
H
 
→  4
2
He
 
22.2 MeV

พลังงานปฏิกิริยา ("ค่า Q") จะเป็นบวกสำหรับปฏิกิริยา exothermal และเป็นลบสำหรับปฏิกิริยา endothermal ในทางตรงกันข้าม มันมีความแตกต่างระหว่างผลรวมของพลังงานจลน์ในด้านสุดท้ายกับในด้านเริ่มต้น แต่ในทางกลับกัน มันก็ยังมีความแตกต่างเช่นกันระหว่างมวลนิ่งนิวเคลียร์ในด้านเริ่มต้นกับในด้านสุดท้าย (เราได้คำนวณค่า Q ข้างต้นในวิธีนี้)

อัตราการเกิดปฏิกิริยา

ถ้าสมการของการเกิดปฏิกิริยามีความสมดุล มันไม่ได้หมายความว่าปฏิกิริยาได้เกิดขึ้นจริง อัตราการเกิดปฏิกิริยาขึ้นอยู่กับพลังงานของอนุภาคและฟลักซ์ของอนุภาคและภาคตัดขวางของปฏิกิริยา ตัวอย่างหนึ่งของพื้นที่เก็บขนาดใหญ่ของอัตราการเกิดปฏิกิริยาคือฐานข้อมูล REACLIB ที่ได้รับการดูแลรักษาโดยสถาบันร่วมสำหรับดาราศาสตร์ฟิสิกส์นิวเคลียร์

นิวตรอนเมื่อเทียบกับไอออน

ในการกระทบกันครั้งแรกซึ่งจะเริ่มปฏิกิริยา อนุภาคต้องวิ่งเข้าหากันอย่างใกล้ชิดพอเพื่อให้แรงช่วงสั้นสามารถจะส่งผลต่อกัน เนื่องจากอนุภาคนิวเคลียร์ที่พบมากที่สุดจะมีประจุเป็นบวก ซึ่งหมายความว่าพวกมันจะต้องเอาชนะแรงผลักไฟฟ้าสถิตแรงสูงก่อนที่ปฏิกิริยาจะสามารถเริ่มต้นขึ้น แม้ว่านิวเคลียสเป้าหมายเป็นส่วนหนึ่งของอะตอมที่เป็นกลาง อนุภาคอื่น ๆ จะต้องเจาะลึกไปไกลกว่าเมฆอิเล็กตรอนและเข้าไปใกล้กับนิวเคลียสซึ่งมีประจุบวก ดังนั้นอนุภาคดังกล่าวจะต้องถูกเร่งความเร็วตั้งแต่แรกให้มีพลังงานที่สูง ตัวอย่างเช่น โดย:

  • เครื่องเร่งอนุภาค
  • การสลายของนิวเคลียสหรือการสลายให้กัมมันตรังสี (อนุภาคแอลฟาเป็นชนิดหลักที่น่าสนใจที่นี่ เนื่องจากรังสีบีตาและแกมมายากที่จะมีส่วนร่วมในปฏิกิริยานิวเคลียร์)
  • อุณหภูมิที่สูงอย่างมาก เป็นหลักล้านองศาเพื่อสร้างปฏิกิริยาเทอโมนิวเคลียร์
  • รังสีคอสมิก

นอกจากนี้ เนื่องจากแรงผลักเป็นสัดส่วนกับผลผลิตของทั้งสองประจุ ปฏิกิริยาระหว่างนิวเคลียสที่หนักด้วยกันจะหาได้ยากกว่าปฏิกิริยาระหว่างนิวเคลียสหนักและนิวเคลียสเบา และจำเป็นต้องมีระดับพลังงานเริ่มต้นที่สูงกว่าอีกด้วย ในขณะที่ปฏิกิริยาระหว่างสองนิวเคลียสเบาเป็นสิ่งที่พบมากที่สุด

นิวตรอน ในทางตรงกันข้าม ไม่มีประจุไฟฟ้าที่จะทำให้เกิดแรงผลัก และสามารถที่จะเริ่มต้นปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่พลังงานต่ำมาก ในความเป็นจริง ที่พลังงานอนุภาคที่ต่ำอย่างมาก (ที่สอดคล้องกับการสมดุลความร้อนที่อุณหภูมิห้อง) ความยาวคลื่นแบบ de Broglie ของนิวตรอนจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก อาจจะเพิ่มภาคตัดขวางการดักจับของมันให้สูงขี้นอย่างมาก ที่ระดับพลังงานใกล้กับค่า resonances ของนิวเคลียสที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นนิวตรอนพลังงานต่ำอาจจะทำให้เกิดปฏิกิริยามากกว่านิวตรอนพลังงานสูงด้วยซ้ำ

ประเภทของปฏิกิริยาที่โดดเด่น

ในขณะที่ปฏิกิริยานิวเคลียร์สามารถเกิดขึ้นได้หลายวิธี มีหลายชนิดที่พบบ่อย หรือโดดเด่นไปเลย ตัวอย่างได้แก่ :

  • ปฏิกิริยาฟิวชั่น - นิวเคลียสเบาสองตัวรวมตัวเข้าด้วยกันเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่า ด้วยอนุภาคที่เพิ่มเข้าไป (ปกติเป็นโปรตอนหรือนิวตรอน) ถูกโยนออกมาเพื่อการอนุรักษ์โมเมนตัม
  • ปฏิกิริยาฟิชชั่น - นิวเคลียสหนึ่งถูกชนโดยอนุภาคหนึ่งที่มีพลังงานและโมเมนตัมเพียงพอที่จะเคาะให้แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยจำนวนมาก
  • การปล่อยรังสีแกมมาโดยการเหนี่ยวนำ มีเพียงโฟตอนเท่านั้นที่มีส่วนร่วมในการสร้างและทำลายสถานะของการกระตุ้นนิวเคลียส
  • การสลายให้อนุภาคแอลฟา - ถึงแม้ว่าจะถูกขับเคลื่อนโดยแรงพื้นฐานเช่นเดียวกันกับฟิชชันเกิดเอง การสลาย α ก็มักจะถือว่าแยกออกจากการเหนี่ยวนำ ความคิดที่มักจะอ้างบ่อยๆว่า "ปฏิกิริยานิวเคลียร์" จะถูกกักบริเวณให้อยู่ในกระบวนการที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง "การสลายกัมมันตรังสี" เป็นกลุ่มย่อยของ "ปฏิกิริยานิวเคลียร์" ที่เกิดขึ้นเองมากกว่าที่จะถูกเหนี่ยวนำให้เกิด ยกตัวอย่าง ที่เรียกว่า "อนุภาคแอลฟาร้อน" ที่มีพลังงานสูงผิดปกติอาจมีการผลิตจริงในฟิชชันที่เกิดโดยการเหนี่ยวนำแบบสามชิ้นแตกที่มีประจุ (อังกฤษ: induced ternary fission) ซึ่งเป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบเหนี่ยวนำ (ตรงข้ามกับฟิชชันเกิดเอง) อนุภาคแอลฟาดังกล่าวเกิดขึ้นจากฟิวชั่นสามชิ้นแตกที่เกิดขึ้นเองเช่นกัน
  • ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่นที่เหนี่ยวนำโดยนิวตรอน - นิวเคลียสที่หนักมากตัวหนึ่ง เกิดขึ้นเองหรือหลังจากการดูดซับอนุภาคเบาเพิ่มเติม (ปกติจะเป็นนิวตรอน) แยกออกเป็นสองหรือสามชิ้นในบางครั้ง นี่คือปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิด การฟิชชั่นที่เกิดชึ้นเอง ซึ่งเกิดขึ้นโดยปราศจากความช่วยเหลือของนิวตรอน มักจะไม่ถือว่าเป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ ที่ส่วนใหญ่ มันก็ไม่ได้เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิด

ปฏิกิริยาโดยตรง

การยิงด้วยพลังงานปานกลางจะถ่ายเทพลังงานหรือได้รับนิวคลีออนหรือสูญเสียนิวคลีออนให้กับนิวเคลียสในการกระทบกันอย่างรวดเร็วเพียงครั้งเดียว (10−21 วินาที) การถ่ายเทพลังงานและโมเมนตัมมีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่ก็เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการทดลองฟิสิกส์นิวเคลียร์ เพราะกลไกการเกิดปฏิกิริยามักจะง่ายพอที่จะคำนวณด้วยความถูกต้องเพียงพอที่จะตรวจสอบโครงสร้างของนิวเคลียสเป้าหมาย

การกระเจิงที่ไม่ยืดหยุ่น

บทความหลัก: Inelastic scattering

จะมีการถ่ายโอนเฉพาะพลังงานและโมเมนตัมเท่านั้น

  • (p,p') มีการทดสอบถึงความแตกต่างระหว่างสถานะต่าง ๆ ของนิวเคลียร์
  • (α,α') มีการวัดรูปทรงและขนาดของพื้นผิวนิวเคลียร์ เนื่องจากอนุภาค α ที่กระทบกับนิวเคลียสมีปฏิกิริยาที่รุนแรงมากกว่า การกระเจิงของอนุภาค α ที่ตื้นและไม่ยืดหยุ่นและแบบยืดหยุ่นจะมีความไวต่อรูปร่างและขนาดของเป้าหมาย เช่นแสงที่กระจายจากวัตถ​​ุสีดำขนาดเล็ก
  • (e,e') จะเป็นประโยชน์สำหรับการทดสอบโครงสร้างภายใน เนื่องจากอิเล็กตรอนทั้งหลายจะมีปฏิสัมพันธ์ที่รุนแรงน้อยกว่าที่โปรตอนและนิวตรอนทำ พวกมันเข้าไปถึงศูนย์กลางของเป้าหมายและฟังก์ชันคลื่นของพวกมันจะมีการบิดเบือนน้อยกว่าโดยการผ่านทะลุนิวเคลียส

ปฏิกิริยาการถ่ายโอน

ปกติที่พลังงานต่ำปานกลาง นิวคลีออนหนึ่งตัวหรือมากกว่าจะถูกถ่ายโอนระหว่างกระสุนและเป้าหมาย สิ่งเหล่านี้มีประโยชน์ในการศึกษาโครงสร้างเปลือกนอกของนิวเคลียส

  • ปฏิกิริยา (α,n) และ (α,p). บางส่วนของการศึกษด้านปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เก่าแก่ที่สุดจะเกี่ยวข้องกับอนุภาคแอลฟาที่ผลิตโดยการสลายให้อนุภาคแอลฟา มีการกระเทาะนิวคลีออนออกจากนิวเคลียสเป้าหมาย
  • ปฏิกิริยา (d,n) และ (d,p). ลำแสงดิวเทอรอนปะทะเข้ากับเป้าหมาย; นิวเคลียสของเป้าหมายทำการดูดซับนิวตรอนหรือโปรตอนอย่างใดอย่างหนึ่งจากดิวเทอรอน สารดืวเทอรอนมีการผูกติดกันอย่างหลวมเสียจนกระทั่งการดักจับเป็นไปเกือบจะเหมือนกับเป็นการดักจับโปรตอนหรือนิวตรอน นิวเคลียสของสารประกอบอาจก่อตัวขึ้น ทำให้นิวตรอนที่เกิดเพิ่มเติมถูกปล่อยออกมาอย่างช้า ๆ ปฏิกิริยา (d,n) จะถูกใช้ในการสร้างนิวตรอนที่มีพลังงาน
  • ปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนแบบประหลาด (Kaon(K), Pion(π)) ถูกใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับ hypernucleus
  • ปฏิกิริยา 14N(α,p)17O ที่ดำเนินการโดยรัทเธอร์ฟอร์ดในปี 1917 (ถูกรายงานในปี 1919) โดยทั่วไปถือว่าเป็นการทดลองเกี่ยวกับการแปลงพันธ์นิวเคลียร์ครั้งแรก

ปฏิกิริยากับนิวตรอน

T 7Li 14C
(n,α) 6Li + n → T + α 10B + n → 7Li + α 17O + n → 14C + α 21Ne + n → 18O + α 37Ar + n → 34S + α
(n,p) 3He + n → T + p 7Be + n → 7Li + p 14N + n → 14C + p 22Na + n → 22Ne + p

ปฏิกิริยาทั้งหลายที่เกิดกับนิวตรอนต่างๆมีความสำคัญในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และอาวุธนิวเคลียร์ ในขณะที่ปฏิกิริยานิวตรอนที่รู้จักกันดีคือการกระเจิงของนิวตรอน (อังกฤษ: neutron scattering), การจับยึดนิวตรอนและนิวเคลียร์ฟิชชั่น สำหรับบางนิวเคลียสเบา (โดยเฉพาะ'นิวเคลียสแปลกแปลก') ปฏิกิริยากับนิวตรอนความร้อนส่วนใหญ่จะเป็นปฏิกิริยาแบบถ่ายโอน ดังนี้:

บางปฏิกิริยามีความเป็นไปได้เฉพาะกับนิวตรอนเร็วเท่านั้น ได้แก่:

  • ปฏิกิริยา (n,2n) จะผลิตโพรแทกทิเนียม-231 และ U-232 จำนวนเล็กน้อยใน'วัฏจักรทอเรียม'ซึ่งในทางตรงข้ามเป็นผลิตภัณฑ์แอกติไนต์ที่ค่อนข้างปลอดกัมมันตภาพรังสีอย่างสูง
  • 9Be + n → 2α + 2n สามารถสร้างบางนิวตรอนเพิ่มเติมในต้วสะท้อนนิวตรอนที่ใช้สารเบริลเลียมของอาวุธนิวเคลียร์ชนิดหนึ่ง
  • 7Li + n → T + α + n มีส่วนร่วมแบบไม่คาดคิดทีให้ผลลัพธ์เ​​พิ่มเติมใน Castle Bravo, Castle Romeo, และ Castle Yankee ทั้งสามรายการนี้เป็นการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ที่ให้ผลลัพธ์สูงสุดที่ดำเนินการโดยสหรัฐอเมริกา

ปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบผสม

การถ่ายโอนพลังงานไปให้กับนิวเคลียสสามารถเกิดขึ้นได้โดยการยิงด้วยกระสุนพลังงานต่ำหรือด้วยอนุภาคพลังงานสูง ทำให้เกิดพลังงานบนนิวเคลียสจำนวนมากเกินไปที่จะผูกพันอนุภาคภายในนิวเคลียสนั้นให้สามารถเกาะกลุ่มร่วมกันได้อย่างเต็มที่ ในระดับเวลาประมาณ 10−19 วินาที อนุภาค มักจะเป็นนิวตรอน จะถูก "ต้ม" จนแตกออก นั่นคือมันจะยังคงเกาะติดอยู่ด้วยกันจนกระทั่งพลังงานที่มากพอปรากฏขึ้นบนนิวตรอนจนมีความเข้มข้นพอที่นิวตรอนนั้นจะหลุดออกจากแรงดึงดูดที่มีร่วมกัน อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าจะยากที่จะถูกต้มจนแตกออกอันเนื่องมาจากเครื่องกั้นของคูลอมบ์ (อังกฤษ: coulomb barrier) นิวเคลียสกึ่งผูกพันที่ถูกกระตุ้นจะถูกเรียกว่า นิวเคลียสผสม (อังกฤษ: compound nucleus)

(e, e' xn), (γ, xn) ที่มีพลังงานต่ำ (xn หมายถึงนิวตรอนหนึ่งหรือมากกว่า) เมื่อรังสีแกมมาหรือ'พลังงานรังสีแกมมาเสมือน' อยู่ใกล้กับ giant dipole resonance พลังงานหรือรังสีเหล่านี้จะเพิ่มความจำเป็นสำหรับ'การป้องกันรังสี'รอบ'เครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอน'

ข้อมูลเพิ่มเติม: การแบ่งแยกนิวเคลียส

อ้างอิง

  1. The Astrophysics Spectator: Hydrogen Fusion Rates in Stars
  2. R. J. D. Tilley Understanding solids: the science of materials, John Wiley and Sons, 2004, ISBN 0-470-85275-5, p. 495
  3. "Cockcroft and Walton split lithium with high energy protons April 1932". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-02. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
  4. a table of atomic masses

แหล่งข้อมูลอื่น

Read other articles:

Individual or type of working animal used by humans This article is about animals that are used to transport materials. For animals that live and hunt together in packs, see Pack hunter. Horse packing with traditional Australian pack saddle A pack animal, also known as a sumpter animal or beast of burden, is an individual or type of working animal used by humans as means of transporting materials by attaching them so their weight bears on the animal's back, in contrast to draft animals which ...

 

О сериале см. статью 7 самураев. Семь самураевяп. 七人の侍 Жанры дзидайгэки, тямбара Режиссёр Акира Куросава Продюсер Содзиро Мотоки Авторысценария Акира КуросаваСинобу ХасимотоХидэо Огуни В главныхролях Такаси СимураТосиро МифунэДайскэ КатоМинору Тиаки Оператор Асак

 

William Baring Paymaster-GeneralDurata mandato1º marzo 1845 –febbraio 1846 MonarcaVittoria PredecessoreEdward Knatchbull SuccessoreThomas Babington Macaulay Dati generaliSuffisso onorificoBarone Ashburton Partito politicoWhigTory UniversitàOriel College William Bingham Baring William Bingham Baring, II barone Ashburton (1799 – 23 marzo 1864), è stato un politico britannico. Indice 1 Biografia 2 Carriera politica 3 Matrimoni 3.1 Primo Matrimonio 3.2 Secondo Matri...

Кассінетта-ді-ЛуганьяноCassinetta di Lugagnano Комуна Країна  ІталіяРегіон ЛомбардіяПровінція МіланКод ISTAT 015061Поштові індекси 20081Телефонний код 02Координати 45°26′00″ пн. ш. 8°55′00″ сх. д. / 45.43333° пн. ш. 8.91667° сх. д. / 45.43333; 8.91667Координати: 45°26′00″ п...

 

1930 film Dangers of the Engagement PeriodDirected byFred SauerWritten byWalter SchleeWalter WassermannProduced byRobert Leistenschneider [de]StarringMarlene DietrichWilli ForstLotte LorringCinematographyLászló SchäfferProductioncompanyStrauss FilmDistributed byHegewald FilmRelease date 21 February 1930 (1930-02-21) Running time80 minutesCountryGermanyLanguagesSilentGerman intertitles Dangers of the Engagement Period (German: Gefahren der Brautzeit) is a 1930 Ge...

 

Gugus bintang muda R136. Terlihat bintang-bintang biru dan Wolf-Rayet. R136, juga dikenal sebagai RMC 136 (Radcliffe obs., Magellanic Clouds) adalah gugus bintang muda masif dan padat yang teletak sekitar 163.000 tahun cahaya di rasi bintang Dorado, dekat pusat 30 Doradus. R136 dikelilingi oleh awan bercahaya sepanjang 100 tahun cahaya. Gugus ini hanya berukuran beberapa tahun cahaya dan hanya berumur beberapa juta tahun. Ia berada di pusat Nebula Tarantula, wilayah pembentuk bintang yang ber...

Glorious begum[1] Agatasa calydonia Agatasa calydonia calydoniaTaksonomiKerajaanAnimaliaFilumArthropodaKelasInsectaOrdoLepidopteraFamiliNymphalidaeGenusAgatasaSpesiesAgatasa calydonia Hewitson, 1854 lbs Agatasa adalah sebuah genus kupu-kupu dalam keluarga biologi Nymphalidae. Genus tersebut bersifat monotipik, hanya memiliki satu spesies yang disebut Agatasa calydonia, yang ditemukan dari Myanmar selatan sampai Semenanjung Malaya, Kalimantan, Sumatra dan Filipina.[1][2]...

 

Kombinierte-Pyramide-Weltmeisterschaft 2011 Austragungsort Almaty, Kasachstan Eröffnung 21. Februar 2011 Endspiel 24. Februar 2011 Disziplin Kombinierte Pyramide Sieger Russland Nikita Liwada ← 2010 2012 → Die Kombinierte-Pyramide-Weltmeisterschaft 2011 war die fünfte Austragung der Weltmeisterschaft in der Billarddisziplin Kombinierte Pyramide. Sie fand vom 21. bis 24. Februar 2011 im kasachischen Almaty statt, wo auch die ersten vier Austragungen stattgefunden h...

 

Collection of non-volatile resources used by computer programs Software library redirects here. Not to be confused with library software. This article is about a software development concept. For a repository of digital assets, see Digital library. Illustration of an application which uses libvorbisfile to play an Ogg Vorbis file In computer science, a library is a collection of non-volatile resources used by computer programs, often for software development. These may include configuration d...

Canadian writer Marian OsborneBorn(1871-05-14)May 14, 1871Montreal, CanadaDiedSeptember 5, 1931(1931-09-05) (aged 60)Ottawa, CanadaAlma materHellmuth Ladies' CollegeOccupationWriter Marian Francis Osborne (May 14, 1871 – September 5, 1931) was a Canadian writer. The daughter of George Grant Francis, from Wales, and Marian Osler, who was the cousin of Sir William Osler, she was born Marian Georgina Francis in Montreal. She attended the Sacred Heart Convent in London, Ontario an...

 

American dance Willa Mae Ricker and Leon James, original Lindy Hop dancers in iconic Life magazine photograph, 1943 Norma Miller and Skip Cunningham 2009 Lindy Hop Dance, 2013 The Lindy Hop is an American dance which was born in the African-American communities of Harlem, New York City, in 1928 and has evolved since then. It was very popular during the swing era of the late 1930s and early 1940s. Lindy is a fusion of many dances that preceded it or were popular during its development but is m...

 

See also: Environmental engineering Environmental engineering Grassed rail tracks Ecological engineering uses ecology and engineering to predict, design, construct or restore, and manage ecosystems that integrate human society with its natural environment for the benefit of both.[1] Origins, key concepts, definitions, and applications Ecological engineering emerged as a new idea in the early 1960s, but its definition has taken several decades to refine. Its implementation is still und...

This article relies excessively on references to primary sources. Please improve this article by adding secondary or tertiary sources. Find sources: The Mayan Secrets – news · newspapers · books · scholar · JSTOR (May 2014) (Learn how and when to remove this template message) The Mayan Secrets First edition (US)AuthorClive Cussler & Thomas PerryCountryUnited StatesLanguageEnglish (American English)SeriesFargo AdventuresGenreThriller novelPublisherG...

 

Pour les articles homonymes, voir Falcone (homonymie). Giovanni Falcone Giovanni Falcone est un film dramatique et biographique écrit et réalisé par Giuseppe Ferrara sorti en 1993. Il est basé sur des événements réels de la vie du magistrat Giovanni Falcone qui a été tué par la mafia en 1992[1]. Synopsis Cette section est vide, insuffisamment détaillée ou incomplète. Votre aide est la bienvenue ! Comment faire ? Fiche technique Titre : Giovanni Falco...

 

Agha Baji JavanshirA 1956 imaginary drawing of Aghabeyim agha Javanshir in the Zanan-e sokhanvarDied1832Qom, Qajar IranBurialQomSpouseFath-Ali Shah QajarDynastyQajar (by marriage)FatherIbrahim Khalil KhanMotherTuti BegumOccupationPoet Agha Baji Javanshir (Persian: آغابیگم جوانشیر) was an Iranian poet and public speaker, who was the twelfth wife of Fath-Ali Shah Qajar (r. 1797–1834), the Qajar shah (king) of Iran. She was the daughter of Ibrahim Khalil Khan, the governor ...

Crown Hill Park, overlooking the wildlife refuge and grasslands with the Rocky Mountains on the horizon. Crown Hill Park is a 242-acre (0.98 km2) recreation area operated by Jefferson County Open Space in unincorporated Jefferson County, Colorado. The park is located between the cities of Wheat Ridge and Lakewood. Within the borders of the park is a National Urban Wildlife Refuge. Activities at the park include picnicking, hiking, biking, horseback riding, wildlife viewing, walking, roll...

 

Milano 4collegio elettoraleStato Italia Elezioni perCamera dei deputati ElettiDeputati Periodo 1993-2005Tipologiauninominale Territorio Manuale Il collegio di Milano 4 fu un collegio elettorale uninominale della Repubblica Italiana per l'elezione della Camera dei deputati. Apparteneva alla circoscrizione Lombardia 1 e fu utilizzato per eleggere un deputato nella XII, XIII e XIV legislatura. Venne istituito nel 1993 con la cosiddetta Legge Mattarella (Legge n. 277, Nuove norme per l'elezi...

 

English footballer Zeki Fryers Fryers in 2013Personal informationFull name Ezekiel David Fryers[1]Date of birth (1992-09-09) 9 September 1992 (age 31)Place of birth Manchester, EnglandHeight 6 ft 0 in (1.83 m)[2]Position(s) Left-backTeam informationCurrent team AFC EskilstunaNumber 3Youth career Fletcher Moss Rangers2009–2011 Manchester UnitedSenior career*Years Team Apps (Gls)2011–2012 Manchester United 2 (0)2012–2013 Standard Liège 7 (0)2013–2014...

Fiskales Ad-Hok Datos generalesOrigen Santiago de Chile, Chile ChileInformación artísticaGénero(s) Punk rock Hardcore punkPeríodo de actividad 1986 – PresenteDiscográfica(s) Oveja Negra C.F.A.WebSitio web www.fiskalesadhok.clMiembros Álvaro EspañaRoli UrzuaRodrigo BarahonaJaime AlarcónÁlvaro SalazarExmiembros Pogo (R.I.P. 2022)CirilLagartoVíboraMicky CumplidoGuardabosquesMechas de Clavo[editar datos en Wikidata] Fiskales Ad-Hok es una banda chilena de punk...

 

Swedish engineering company For the village in the Faroe Islands, see Sandvík. Sandvik ABTypePublicly traded aktiebolagTraded asNasdaq Stockholm: SANDISINSE0000667891US8002122013 IndustryEngineeringFounded1862; 161 years ago (1862)FounderGöran Fredrik GöranssonHeadquartersStockholm, SwedenKey peopleJohan Molin (Chairman of the Board) Stefan Widing (President and CEO)ProductsEquipment and systems for mining, excavation, drilling, rock processing, metal cutting an...

 

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!