บุคคลในคัมภีร์ไบเบิล สหายของผู้เผยพระวจนะเยเรมีย์
บารุคบุตรเนริยาห์ (อังกฤษ : Baruch ben Neriah ; ฮีบรู : בָּרוּךְ בֶּן־נֵרִיָּה Bārūḵ ben Nērīyyā ; ประมาณศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล) เป็นอาลักษณ์ , สานุศิษย์, เลขานุการ, และสหายผู้ซื่อสัตย์ของผู้เผยพระวจนะ เยเรมีย์ ในคัมภีร์ฮีบรู ตามประเพณีนิยมถือว่าบารุคเป็นผู้เขียนของหนังสือบารุค
ประวัติ
ตามการระบุของโยเซพุส บารุคเป็นขุนนางชาวยิว เป็นบุตรชายของเนริยาห์ และเป็นพี่น้องกับเสไรอาห์บุตรเนริยาห์ ผู้เป็นหัวหน้าจัดที่พักของกษัตริย์เศเดคียาห์ แห่งยูดาห์ [ 2] [ 3]
บารุคมาเป็นอาลักษณ์ของผู้เผยพระวจนะเยเรมีย์และเขียนคำเผยพระวจนะฉบับแรกและฉบับที่สองตามคำบอกของเยเรมีย์ บารุคยังคงยึดมั่นในคำสอนและอุดมคติของผู้เผยพระวจนะเยเรมีย์ แม้ว่าบางครั้งก็เกือบท้อแท้เช่นเดียวกับเยเรมีย์ ระหว่างที่เยเรมีย์หลบซ่อนตัวเพื่อหลีกหนีพระพิโรธของกษัตริย์เยโฮยาคิม เยเรมีย์สั่งให้บารุคอ่านคำเผยพระวจนะเพื่อเป็นการเตือนแก่ผู้คนที่มารวมตัวในพระวิหารในเยรูซาเล็ม ในวันถืออดอาหาร [ 5] ภารกิจนี้มีความยากและอันตราย แต่บารุคก็ปฏิบัติโดยไม่ลังเล และในช่วงเวลานี้เองที่ผู้เผยพระวจนะเยเรมีย์อาจเผยพระวจนะที่เจาะจงถึงตัวบารุคเอง (เยเรมีย์ 45 )
ทั้งบารุคและเยเรมีย์ได้เห็นการล้อมเยรูซาเล็มโดยบาบิโลน ใน 587-586 ปีก่อนคริสตกาล ในช่วงกลางของการล้อมเยรูซาเล็ม เยเรมีย์ซื้อที่ดินในอานาโธท ซึ่งในเวลานั้นทหารบาบิโลนได้ตั้งค่ายอยู่ (เป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อว่าในที่สุดเยรูซาเล็มจะได้รับการฟื้นฟู; เยเรมีย์ 32 ) ตามการระบุโยเซพุส บารุคยังคงอยู่กับเยเรมีย์ที่มิสปาห์ [ 3]
บารุคถูกพาตัวไปอียิปต์ พร้อมกับเยเรมีย์ ซึ่งตามประเพณีนิยมโดยนักบุญเจโรมแล้ว[ 6] บารุคเสียชีวิตหลังจากนั้นไม่นาน ประเพณีนิยมอื่น ๆ สองแหล่งระบุว่าภายหลังบารุคไปหรือถูกพาตัวไปบาบิโลน โดยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 หลังพระองค์พิชิตอียิปต์ได้
ความโดดเด่นของบารุคเนื่องมาจากความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับเยเรมีย์ ทำให้คนรุ่นหลังยกย่องชื่อเสียงของบารุคยิ่งขึ้นไปอีก และถือว่าบารุคเป็นผู้เขียนของหนังสือบารุค และหนังสืออื่นของศาสนายูดาห์อีกสองเล่ม
อ้างอิง
บรรณานุกรม
Avigad, Nahman (1978), Haran, M. (บ.ก.), "The Seal of Seraiah (Son of) Neriah", HL Ginsberg Volume , Eretz Israel 14, Jerusalem: Israel Exploration Society, pp. 86–87
Avigad, Nahman (1979). "Baruch the Scribe and Jerahmeel the King's Son". The Biblical Archaeologist . 42 (2): 114–118. doi :10.2307/3209372 . ISSN 0006-0895 . JSTOR 3209372 . S2CID 165780362 .
Clement (1890). Alexander Roberts; Allan Menzies; Arthur Cleveland Coxe; Sir James Donaldson (บ.ก.). The Ante-Nicene Fathers: Translations of the Writings of the Fathers Down to A.D. 325 . Vol. 8. Christian Literature Company.
Gigot, Francis (1907). "Baruch" . ใน Herbermann, Charles (บ.ก.). สารานุกรมคาทอลิก . Vol. 2. New York: Robert Appleton Company.
Goren, Yuval (2005), "Jerusalem Syndrome in Biblical Archaeology" , SBL Fourm , Society of Biblical Literature, เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2007, สืบค้นเมื่อ 2007-06-26
Gottheil, Richard J.H. (1894). "References to Zoroaster in Syriac and Arabic Literature" . Classical Studies in Honour of Henry Drisler . Macmillan and Company. pp. 24–51.
Holman Concise Bible Dictionary . B&H. 2011. p. 65. ISBN 978-0-8054-9548-5 .
Jackson, Abraham Valentine Williams (1899). Zoroaster, the Prophet of Ancient Iran . Columbia University Press. ISBN 9780524009017 .
แม่แบบ:Cite JE1906
Shanks, Hershel (1987). "Jeremiah's Scribe and Confidant Speaks from a Hoard of Clay Bullae" . Biblical Archaeology Review . 13 (5): 58–65.
Shanks, Hershel (1996). "Fingerprint of Jeremiah's Scribe" . Biblical Archaeology Review . 22 (2): 36–38.
Solomon (Bishop of Basra); Wallis Budge, E. A. (1886). The Book of the Bee: The Syriac Text . Oxford: Clarendon Press.
Vaughn, Andrew G.; Rollston, Christopher A. (2005). "The Antiquities Market, Sensationalized Textual Data, and Modern Forgeries". Near Eastern Archaeology . 68 (1–2): 61–65. doi :10.1086/NEA25067594 . ISSN 1094-2076 . S2CID 166867340 .
Wright, J. Edward (2003). Baruch Ben Neriah: From Biblical Scribe to Apocalyptic Seer . Univ of South Carolina Press. ISBN 978-1-57003-479-4 .
แหล่งข้อมูลอื่น