นิทาน

นิทาน (บาลี: นิทาน) ในภาษาไทย มีใช้อย่างน้อย 2 ความหมาย คือ

  1. นิทาน เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมา กล่าวได้ว่าเป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุด นิทานอาจมีกำเนิดพร้อม ๆ กับครอบครัวของมนุษยชาติ มูลเหตุที่มาแต่เริ่มแรก คงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงแล้วเล่าสู่กันฟัง มีการเพิ่มเติมเสริมแต่งให้พิสดารมากยิ่งขึ้น จนห่างไกลจากเรื่องจริง กลายเป็นนิทานไป การเขียนนิทานในความหมายแรก อาจเป็นการเขียนจากจินตนาการก็ได้
  2. นิทาน (บาลี) เป็นเรื่องต้นเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน เช่น เจ้าชายสิทธัตถะ ก็จัดเป็นอวิทูเรนิทานของพระพุทธเจ้า เพราะเจ้าชายสิทธัตธะเป็นเรื่องต้นเหตุของเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ถ้าไม่มีเจ้าชายสิทธัตธะที่ออกบวช พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็มีไม่ได้ เป็นต้น

ความหมายอย่างที่สองเป็นความหมายที่ยืมเอาคำในภาษาบาลีในพระพุทธศาสนามาใช้นั่นเอง เพราะนิทานในพระพุทธศาสนาจะกล่าวถึงเรื่องต้นเหตุย้อนหลังไปนานมาก จนบางอย่างที่เคยมีในยุคนั้น ๆ ไม่ปรากฏให้คนในยุคนี้ได้พบเห็นอีกแล้ว ท่านจึงอนุโลมเอาศัพท์มาใช้เทียบกับนิยายปรัมปราให้เรียกว่า นิทาน ไปด้วย แต่ความจริงแล้ว คำว่า "นิทาน" ดังเดิมที่มาจากพระพุทธศาสนานั้นจะหมายถึงเรื่องที่เคยมีอยู่จริง ๆ เท่านั้น ไม่ใช่เรื่องแต่งขึ้นแต่ประการใด[1]

อ้างอิง

  1. ชาตกัฏฐกถา - อรรถกถาของพระสุตตันตปิฎกเล่มที่​ ๑๙ ​และ​ ๒๐ ​ขุททกนิกายชาดก​ภาค ๑ และ ๒. อรรถกถาพระไตรปิฎก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 8-9-52

ดูเพิ่ม

  • ตำนาน (เทพนิยาย)
  • พระพุทธเจ้า

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!