นาล็อกโซน |
|
ข้อมูลทางคลินิก |
---|
ชื่อทางการค้า | Narcan, Evzio |
---|
ชื่ออื่น | 17-allyl- 4,5α-epoxy- 3,14-dihydroxymorphinan- 6-one |
---|
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
---|
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ |
- AU: B1
- US: C (ยังไม่ชี้ขาด) [1]
|
---|
ช่องทางการรับยา | รับประทาน, สูดดม, ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ |
---|
รหัส ATC | |
---|
กฏหมาย |
---|
สถานะตามกฏหมาย | [2]
- AU: S3 (จ่ายโดยเภสัชกรเท่านั้น) [2]
- DE: § 48 AMG/§ 1 MPAV (Prescription only)
- UK: POM (Prescription only)
- US: ℞-only
|
---|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ |
---|
ชีวประสิทธิผล | 2% (Oral, 90% absorption but high first-pass metabolism) |
---|
การเปลี่ยนแปลงยา | ตับ |
---|
ระยะเริ่มออกฤทธิ์ | 2 นาที (IV), 5 นาที (IM)[1] |
---|
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 1–1.5 ชั่วโมง |
---|
ระยะเวลาออกฤทธิ์ | 30 to 60 min[1] |
---|
การขับออก | ปัสสาวะ, ท่อน้ำดี |
---|
ตัวบ่งชี้ |
---|
- (4R,4aS,7aR,12bS)-4a,9-dihydroxy-3-prop-2-enyl-2,4,5,6,7a,13-hexahydro-1H-4,12-methanobenzofuro[3,2-e]isoquinoline-7-one
|
เลขทะเบียน CAS | |
---|
PubChem CID | |
---|
IUPHAR/BPS | |
---|
DrugBank | |
---|
ChemSpider | |
---|
UNII | |
---|
KEGG | |
---|
ChEBI | |
---|
ChEMBL | |
---|
ECHA InfoCard | 100.006.697 |
---|
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี |
---|
สูตร | C19H21NO4 |
---|
มวลต่อโมล | 327.380 g·mol−1 |
---|
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
---|
O=C1[C@@H]2OC3=C(O)C=CC4=C3[C@@]2([C@]5(CC1)O)CCN(CC=C)[C@@H]5C4
|
InChI=1S/C19H21NO4/c1-2-8-20-9-7-18-15-11-3-4-12(21)16(15)24-17(18)13(22)5-6-19(18,23)14(20)10-11/h2-4,14,17,21,23H,1,5-10H2/t14-,17+,18+,19-/m1/s1 YKey:UZHSEJADLWPNLE-GRGSLBFTSA-N Y
|
7Y (what is this?) (verify) |
---|
สารานุกรมเภสัชกรรม |
---|
นาล็อกโซน (Naloxone) หรือชื่อทางการค้าคือ นาร์คัน (Narcan) เป็นยาต้านโอปิออยด์[1] ใช้รักษาอาการที่เกิดจากการรับสารโอปิออยด์เกินขนาด ทั้งนี้ อาจมีการใส่นาล็อกโซนในเม็ดเดียวกันกับยาประเภทโอปิออยด์ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดการเสพติดโอปิออยด์ การใช้นาล็อกโซนโดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำจะออกฤทธิภายใน 2 นาที, การฉีดเข้ากล้ามเนื้อจะออกฤทธิใน 5 นาที นอกจากนี้ยังสามารถรับยาได้โดยการสูดดมละออง[3] เมื่อรับนาล็อกโซนแล้วจะออกฤทธิไปราวครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง[4] โดยส่วนมากแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับนาล็อกโซนหลายครั้งเนื่องจากโอปิออยด์มีฤทธิที่แรงกว่า[1]
การใช้นาล็อกโซนในผู้ที่เสพติดโอปิออยด์ อาจทำให้เกิดอาการจากการขาดยา ซึ่งรวมถึง กระสับกระส่าย, อยู่ไม่สุข, คลื่นไส้, อาเจียน, ชีพจรเต้นเร็ว และเหงื่อออก เพื่อป้องกันอาการข้างเคียงเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องให้รับนาล็อกโซนในปริมาณที่น้อยๆแต่บ่อยๆแทน ยานี้ควรใช้อย่างระมัดระวังในผู้ป่วยโรคหัวใจ[1] ยานี้ปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์[5]
นาล็อกโซนได้รับการจดสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1961 และได้รับการรับรองให้เป็นยาต้านโอปิออยด์ในค.ศ. 1971[6] นาล็อกโซนได้ขึ้นทะเบียนเป็นยาหลักขององค์การอนามัยโลก[7] ปัจจุบันมีวางจำหน่ายเป็นยาสามัญ[1]
อ้างอิง