นวนิยายอิงอัตชีวประวัติ (อังกฤษ: Autobiographical novel) เป็นประเภท (genre) ของนวนิยายที่เนื้อเรื่องมีพื้นฐานมาจากชีวประวัติของผู้ประพันธ์ การเขียนนวนิยายอิงอัตชีวประวัติแตกต่างจากการเขียนอัตชีวประวัติ หรือ บันทึกความทรงจำ (memoir) เพราะเป็นงานที่ระบุว่าเป็นนวนิยายซึ่งหมายความว่าไม่ใช่เรื่องจริง เพราะการที่จัดว่าเป็นงานกึ่งนวนิยายผู้ประพันธ์ก็มิได้หวังที่จะเขียนงานที่มีคุณสมบัติของงานเขียนที่เป็นบันทึกความทรงจำ[1] ชื่อและสถานที่มักจะได้รับการเปลี่ยนแปลงจากความเป็นจริง และสร้างเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นเพื่อเป็นการสร้างเสริมความเป็นนาฏกรรมของเนื้อหาให้มากขึ้น แต่เนื้อหาโดยทั่วไปก็ยังมีพื้นฐานใกล้เคียงกับชีวิตของผู้ประพันธ์ แต่เมื่อบรรยายถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นผู้ประพันธ์ก็มิได้พยายามแต่อย่างใดที่จะเขียนให้ตรงต่อความเป็นจริง และบางครั้งก็จะเขียนอย่างเกินเลย หรือเปลี่ยนแปลงให้เหมาะแก่การดำเนินเรื่อง
คำว่า “นวนิยายอิงอัตชีวประวัติ” เป็นคำที่ยากต่อการให้คำนิยาม นวนิยายที่เป็นเรื่องของสถานที่และ/หรือเหตุการณ์ที่ผู้ประพันธ์มีความคุ้นเคยไม่จำเป็นที่อยู่ในข่ายของนวนิยายประเภทนี้ หรือนวนิยายที่มีเนื้อหาบางส่วนที่ดึงมาจากชีวิตของผู้ประพันธ์ที่เป็นโครงเรื่องย่อย การจะถือว่าเป็นนวนิยายอิงอัตชีวประวัติได้นวนิยายต้องประกอบด้วยตัวเอกของเรื่อง (protagonist) ที่ถอดมาจากผู้ประพันธ์และโครงเรื่องที่สะท้อนรายละเอียดของชีวิตของผู้ประพันธ์ “นวนิยายกึ่งอัตชีวประวัติ” (semi-autobiographical novel)
งานเขียนบางชิ้นก็เรียกตนเองว่า “นวนิยายเชิงสารคดี” ที่ใช้เป็นครั้งแรกในงานเขียน “In Cold Blood” (ไทย: ฆาตกรเลือดเย็น) โดยทรูแมน คาโพตีในปี ค.ศ. 1965 ที่ต่อมาเป็นประเภทของการเขียนวรรณกรรมที่ประยุกต์ไปใช้กับการเขียนหลายประเภทที่เกี่ยวกับอัตชีวประวัติ
ตัวอย่างของงานเขียนชิ้นสำคัญของนวนิยายอิงอัตชีวประวัติ
- ชาร์ลส์ ดิคเก้นส์, “เดวิด คอปเปอร์ฟิลด์”[2] (ค.ศ. 1850)
- เลโอ ตอลสตอย, “วัยเด็ก” (ค.ศ. 1852)
- ดี. เอช. ลอว์เรนซ์, “ลูกชายและคนรัก” (ค.ศ. 1913)
- แจ็ค ลอนดอน, “จอห์น บาร์ลีย์คอร์น” (ค.ศ. 1913)
- ซัมเมอร์เซ็ท มอห์ม, “Of Human Bondage” (ค.ศ. 1915)
- เจมส์ จอยซ์, “ภาพชีวิตวัยเยาว์ของศิลปิน” (ค.ศ. 1916)
- เอฟ. สกอตต์ ฟิตซ์เจอรัลด์, “This Side of Paradise” (ค.ศ. 1920)
- มาร์เซล พรูสต์, “In Search of Lost Time” (ค.ศ. 1927)
- เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์, “A Farewell to Arms” (ค.ศ. 1929)
- ทอมัส วูล์ฟ, “Look Homeward, Angel” (ค.ศ. 1929)
- ซอล เบลโล, “The Adventures of Augie March” (ค.ศ. 1953)
- ไอแซค บาเชวิส ซิงเกอร์, “In My Father's Court”, (1966)
อ้างอิง
ดูเพิ่ม