ทันตแพทยศาสตร์

ทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์กำลังผ่าตัดช่องปากผู้ป่วย.

ทันตแพทยศาสตร์ (อังกฤษ: dentistry) เป็นสาขาวิชาที่ประเมิน วินิจฉัย ป้องกัน และรักษาโรค ความผิดปกติ หรือภาวะในช่องปาก บริเวณใบหน้าขากรรไกร และ/หรือบริเวณใกล้เคียงและโครงสร้างอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์[1] บุคคลที่ประกอบอาชีพที่กระทำหัตถการดังกล่าวจะเรียกว่า ทันตแพทย์ (dentist)

ทันตแพทยศาสตร์เป็นวิชาชีพทางสาธารณสุขที่ผ่านการศึกษาและฝึกฝนจนสำเร็จการศึกษา ซึ่งในประเทศไทยจะได้รับปริญญาบัตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (ท.บ.) หรือเทียบเท่ากับ Doctor of Dental Surgery (DDS) สำหรับในต่างประเทศยังมีวุฒิการศึกษาอื่น ๆ ที่เทียบเท่า เช่น Doctor of Dental Medicine (DMD) , Bachelor of Dentistry (BDent) , Bachelor of Dental Science (BDSc) , หรือ Bachelor of Dental Surgery/Chirurgiae (BDS หรือ BChD) ในประเทศไทยนอกจากจะต้องผ่านการศึกษาในคณะทันตแพทยศาสตร์เป็นเวลา 6 ปี แล้วจะต้องได้รับอนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม ซึ่งออกโดยทันตแพทยสภาผ่านการสอบทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ จึงจะสามารถประกอบอาชีพทันตแพทย์(dentist)ในประเทศไทยได้

หลักสูตรทันตแพทยศาสตร์ในไทย

การเรียนการสอน

หลักสูตรทันตแพทยศาสตร์ในไทยมักจะแบ่งการเรียนการสอนของระดับปริญญาตรีออกเป็น 2 ช่วงคือ “ชั้นพรีคลินิก” และ “ชั้นคลินิก” โดยส่วนมากจะแบ่งตามชั้นปีที่ศึกษาและความสามารถในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยจริง ในการเรียนการสอนนั้นจะประกอบไปด้วยวิชาพื้นฐานทางการแพทย์และทางทันตกรรมเป็นหลักสำคัญ และจะแบ่งการเรียนออกเป็นสองรูปแบบหลักคือ การเรียนแบบเลคเชอร์หรือฟังบรรยาย และ การเรียนแบบภาคปฏิบัติทั้งในห้องแลปและในผู้ป่วยจริง ทั้งนี้เมื่อเรียนจนจบหลักสูตรทันแพทยศาสตร์ในระดับปริญญาตรีแล้ว ก็ยังสามารถสอบเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับบัณฑิตศึกษาต่อไปได้

ชั้นพรีคลินิก

“ชั้นพรีคลินิก” ในประเทศไทยมักจะหมายถึงนิสิตนักศึกษาทันตแพทย์ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1-3 ของระดับปริญญาตรี โดยเนื้อหาการเรียนการสอนจะเน้นหนักไปที่การเรียนแบบฟังบรรยายและการฝึกปฏิบัติในห้องแลป เช่น ฝึกทำฟันเทียมทั้งปาก ฝึกการทำทันตกรรมหัตถการเบื้องต้น เป็นต้น ทั้งนี้จะไม่มีการทำหัตถการใดใดกับผู้ป่วยจริงทั้งสิ้น

ชั้นคลินิก

“ชั้นคลินิก” ในประเทศไทยมักจะหมายถึงนิสิตนักศึกษาทันตแพทย์ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4-6 ของระดับปริญญาตรี โดยเนื้อหาการเรียนการสอนจะเน้นหนักไปที่การฝึกปฏิบัติในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยจริง ภายใต้การดูแลที่เข้มงวดของอาจารย์ผู้สอน เช่น การถอนฟัน การผ่าฟันคุด เป็นต้น แต่ก่อนที่จะเริ่มให้การดูแลรักษาผู้ป่วยจริงได้นั้นจะต้องผ่านการสอบวัดความรู้ทางทันตกรรมระดับประเทศหรือ “National license” ที่จัดขึ้นโดยทันตแพทย์สภา ซึ่งจะมีการจัดสอบเพียง 2 ครั้งต่อปีเท่านั้น

ระดับบัณฑิตศึกษา

โดยปกติแล้วผู้ที่จะศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึษาได้นั้นจะต้องได้รับปริญญาบัตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (ท.บ.) มาก่อนหรืออาจเป็นไปตามเกณฑ์ที่สถาบันที่เปิดสอนกำหนด โดยจะมีหลักสูตรให้เลือกศึกษาต่อ ดังนี้

  • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
  • หลักสูตรปริญญาโท
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
  • หลักสูตรปริญญาเอก

ทั้งนี้เนื้อหาและระยะเวลาของแต่ละหลักสูตรจะแตกต่างกันไปตามแต่ละสถาบันที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์ในไทย

อ้างอิง

  1. Dentistry Definitions[ลิงก์เสีย], hosted on the American Dental Association website. เข้าถึงเมื่อ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550 This definition was adopted the association's House of Delegates in 1997

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!