ตำบลวังดิน เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมการปกครองของตำบลวังดินขึ้นอยู่กับตำบลบ้านด่าน ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2507 จึงได้แยกการปกครองจากตำบลบ้านด่านมาตั้งเป็นตำบลใหม่
ประชากรตำบลวังดินส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบัน กำนันสมบัติ คงทอง เป็นกำนันตำบลวังดิน ซึ่งในปัจจุบันตำบลวังดินมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับ องค์การบริหารส่วนตำบล มีพื้นที่ตลอดทั้งตำบลวังดิน[2]
ประวัติ
ความเป็นมาชื่อตำบล
ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พื้นที่ตำบลวังดิน เป็นป่าที่สมบูรณ์มีสัตว์จำพวก ช้างป่าควายป่า เสือหมี หมูป่า และสัตว์ป่า อื่นๆ เมื่อครั้งเกิดศึกทัพเมืองเวียงจันทร์ ในลาวหนีทัพอพยพเข้ามาทาง บ่อเบี้ย น้ำปาด ฟากท่า ร่นมาตั้งมั่น อยู่บ้านด่าน ปากฝาง แล้วขยับขยายกันมา ทำกินที่บ้านวังดิน มีแหล่งน้ำสมบูรณ์ บางส่วนย้ายสู่น้ำหมัน วังหัวดอย น้ำรี ในเขตอำเภอท่าปลาในปัจจุบัน
สภาพหมู่บ้านในอดีตยุคร่วมสมัย เล่าสืบว่ามีเพียงไม่กี่หลังคาเรือน อยู่ห่างกันเงียบสงบ สมัยก่อนยุคไฟฟ้าเข้าสู่ชุมชน จะใช้ตะเกียง น้ำมันก๊าซ ในอดีตจะมีกิจกรรมเฉพาะงานวัด รำวง ลิเก มวย เป็นต้น เวลาป่วยไข้ ไม่สบาย จะมีหมอประจำหมู่บ้านยุคร่วมสมัยคือหมอเปลี่ยน มีโต รักษากันด้วยสมุนไพร ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น
ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อ จากชื่อเดิม เรียกว่า บ้านวังช้าง เพราะช้างป่าลงมาหากินน้ำที่ลำห้วย ต่อมาวังน้ำที่ช้างป่า ลงมานั้น มีดิน และโคลนมาก ชาวบ้าน จึงเรียกว่า วังดิน (บ้านวังดิน) สืบมาจนปัจจุบัน[2]
สภาพภูมิศาสตร์
ตำบลวังดิน มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียงดังนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลน้ำหมัน
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบ้านด่าน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านนาต้นโพธิ์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลขุนฝาง
สภาพด้านสังคม
การปกครอง
ทำเนียบผู้ปกครองตำบลวังดินจากอดีตจนถึงปัจจุบัน[2]
- กำนันบุญมี วงษ์ แก้ว
- กำนัน ชั้น คงทอง
- กำนัน ประเสริญ ดอกพุฒ
- กำนันสมเดช ขึมจันทร์
- กำนันสมบัติ คงทอง (คนปัจจุบัน)
เศรษฐกิจ
วัฒนธรรมประเพณี
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ตำบลวังดิน
17°44′52″N 100°16′23″E / 17.747914°N 100.273164°E / 17.747914; 100.273164