ตำบลบ้านเก่า (อำเภอพานทอง)

ตำบลบ้านเก่า
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Ban Kao
ประเทศไทย
จังหวัดชลบุรี
อำเภอพานทอง
พื้นที่
 • ทั้งหมด11.87 ตร.กม. (4.58 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด6,493 คน
 • ความหนาแน่น547.01 คน/ตร.กม. (1,416.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 20000 (ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร บ้านเลขที่ 700/XXX),
20160 (ทั้งตำบล ยกเว้นภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร บ้านเลขที่ 700/XXX)
รหัสภูมิศาสตร์200507
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเก่า
อบต.บ้านเก่าตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี
อบต.บ้านเก่า
อบต.บ้านเก่า
พิกัด: 13°26′46.1″N 101°03′53.7″E / 13.446139°N 101.064917°E / 13.446139; 101.064917
ประเทศ ไทย
จังหวัดชลบุรี
อำเภอพานทอง
พื้นที่
 • ทั้งหมด11.87 ตร.กม. (4.58 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด6,493 คน
 • ความหนาแน่น547.01 คน/ตร.กม. (1,416.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06200506
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 66 หมู่ 3 ซอย 13 ถนนสายพานทอง-สุขุมวิท ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี 20160
เว็บไซต์bankaochonburi.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บ้านเก่า เป็นตำบลในอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตำบลบ้านเก่า มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้[2]

ประวัติ

พื้นที่ตำบลบ้านเก่า ในปี พ.ศ. 2310–2313 ซึ่งเป็นปีที่กรุงศรีอยุธยาแตก มีราษฎรอพยพมาจากอยุธยาและช่องนนทรี แต่ในระหว่างนั้นบริเวณพื้นที่นี้มีผู้อพยพมาจากเวียงจันทน์ ตั้งถิ่นฐานอยู่ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า คลองพานทอง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรและเห็นท้องที่เป็นที่ลุ่ม ซึ่งไม่เหมาะกับการอาศัยของคนลาว จึงโปรดเกล้าฯให้อพยพคนลาวไปอยู่ที่ดอน และอพยพคนมอญให้มาอยู่แทน แล้วโปรดเกล้าสร้างวัดขึ้น ซึ่งวัดเดิมนั้นห่างจากที่ตั้งของวัดปัจจุบันประมาณ 500 เมตร และคนทั่วไปเรียกตำบลและวัดนี้ว่า "บ้านมอญ"[3]

ต่อมาสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อตำบลและชื่อวัดให้ใหม่ เป็น บ้านเก่า[4] และยุบตำบลเข้ากับตำบลบางนาง เนื่องจากเกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กระทรวงมหาดไทยเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้แยกพื้นที่หมู่ 7 บ้านสัตตพงษ์, หมู่ 8 บ้านย่านซื่อ, หมู่ 9 บ้านเก่าบน และหมู่ 10–12 บ้านเก่า ของตำบลบางนาง รวม 6 หมู่บ้าน ตั้งเป็น ตำบลบ้านเก่า[5]

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

พื้นที่ตำบลบ้านเก่าประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 7 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 6,493 คน แบ่งเป็นชาย 3,256 คน หญิง 3,237 คน (เดือนธันวาคม 2566)[6] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 7 ในอำเภอพานทอง

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2566[7] พ.ศ. 2565[8] พ.ศ. 2564[9] พ.ศ. 2563[10] พ.ศ. 2562[11] พ.ศ. 2561[12] พ.ศ. 2560[13]
สัตตพงษ์เหนือ 2,737 2,562 2,422 2,349 2,173 1,918 1,523
ย่านซื่อ 1,911 1,782 1,754 1,729 1,680 1,591 1,483
เก่า (หมู่ 6) 530 536 536 535 534 537 536
เก่าบน 451 437 431 426 425 401 373
สัตตพงษ์ 403 395 391 405 414 432 446
เก่า (หมู่ 4) 259 261 265 265 279 288 284
เก่า (หมู่ 5) 202 198 200 205 209 210 217
รวม 6,493 6,171 5,999 5,914 5,714 5,377 4,862

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ตำบลบ้านเก่าเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลบ้านเก่า ในปี พ.ศ. 2516[14] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลบ้านเก่ามี 7 หมู่บ้าน พื้นที่ 11.87 ตารางกิโลเมตร ประชากร 2,696 คน และ 767 ครัวเรือน[15] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลบ้านเก่าอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเก่า[16]

อ้างอิง

  1. ประชากรในเขตตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (ตอนพิเศษ 57 ง): 90–112. วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
  3. "ประกาศบอกล่วงหน้าจะแจกตราจองชั่วคราว ในตำบลบ้านมอญ อำเภอท่าตะกูด แขวงเมืองชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (0 ง): 150. วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2448
  4. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอและตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 877–882. วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2482
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  6. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  15. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!