ดงขวาง เป็นตำบลในอำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตำบลดงขวางมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ประวัติ
ดงขวางเป็นตำบลในอำเภอหนองพลวง จังหวัดอุทัยธานี ตั้งเป็นตำบลตั้งแต่ พ.ศ. 2443[2] ชื่อของ "ดงขวาง" ที่ใช้ชื่อนี้เพราะสมัยก่อนเป็นพื้นที่ติดกับป่าดงดิบ และพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งสันนิษฐานว่า ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ดั้งเดิมย้ายมาจากบ้านเก่าเขากระจิว เขตจังหวัดกาญจนบุรี โดยการนำของแม่เฒ่าจีน คำจีนศรี
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
พื้นที่ตำบลดงขวางประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 6 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 2,208 คน แบ่งเป็นชาย 1,024 คน หญิง 1,184 คน (เดือนธันวาคม 2566)[3] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดอันดับ 5 จาก 9 ตำบลในอำเภอหนองขาหย่าง
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน
|
พ.ศ. 2566[4]
|
พ.ศ. 2565[5]
|
พ.ศ. 2564[6]
|
พ.ศ. 2563[7]
|
พ.ศ. 2562[8]
|
พ.ศ. 2561[9]
|
พ.ศ. 2560[10]
|
ดงขวาง
|
563
|
566
|
571
|
585
|
591
|
597
|
596
|
ขุนแก้ว
|
539
|
540
|
547
|
563
|
570
|
556
|
552
|
ทุ่งปาจาน
|
405
|
412
|
414
|
421
|
420
|
428
|
431
|
ลานคา
|
285
|
284
|
284
|
284
|
283
|
293
|
300
|
ใหม่
|
227
|
230
|
231
|
225
|
234
|
238
|
237
|
คูเมือง
|
189
|
190
|
190
|
196
|
202
|
199
|
197
|
รวม
|
2,208
|
2,222
|
2,237
|
2,274
|
2,300
|
2,311
|
2,313
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ปัจจุบันตำบลดงขวางทั้งตำบลอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงขวาง ซึ่งเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลดงขวาง ในปี พ.ศ. 2517[11] ต่อมาปี พ.ศ. 2541 สภาตำบลดงขวางมี 6 หมู่บ้าน พื้นที่ 23.87 ตารางกิโลเมตร ประชากร 2,587 คน และ 624 ครัวเรือน[12] ปี พ.ศ. 2542 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลดงขวางอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลดงขวาง[13]
สถานที่สำคัญ
- เมืองโบราณบ้านคูเมือง หรือเมืองโบราณทับตาอู่ ตัวเมืองเป็นรูปวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 800 เมตร มีคูน้ำคันดินสองชั้น คันดินครึ่งวงกลม กว้างประมาณ 20 เมตร ขอบคันดินลาดเอียงเป็นท้องกระทะ คูน้ำตื้นเขิน
อ้างอิง