นายชะเอม แก้วคล้าย (20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485) เกิดที่บ้านหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจารึกอักษรโบราณ ภาษาไทย ภาษาบาลีสันสกฤต และพุทธศาสนา มีผลงานการอ่านและแปลจารึกที่พบในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการแปลคัมภีร์พุทธศาสนาจากภาษาสันสกฤต ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ แต่ยังมีผลงานด้านภาษาและจารึกอย่างต่อเนื่อง
การศึกษา
นายชะเอม แก้วคล้าย เข้าศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านหารเทา ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จนจบหลักสูตรเมื่อ พ.ศ.2499 จากนั้นได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง และศึกษาจนจบหลักสูตรนักธรรมชั้นเอก เมื่อ พ.ศ. 2501
หลังจากนั้นเมื่อ พ.ศ.2508 ได้ศึกษาภาษาบาลี จนจบระดับเปรียญธรรม 6 ประโยค ที่วัดคูหาสวรรค์ ในจังหวัดพัทลุง แล้วได้เดินทางเข้าศึกษาที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร จนจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อ พ.ศ. 2512
ขณะครองสมณเพศ ท่านได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา จนได้รับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาปรัชญาศาสนา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2516 แล้วเดินทางไปศึกษาต่อระดับมหาบัณฑิต สาขาภาษาสันสกฤตและจารึก ที่มหาวิทยาลัยบาโรดา ประเทศอินเดีย จนจบการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2520
การทำงาน
เมื่อจบการศึกษา ท่านได้ลาสิกขาบท และเข้าทำงานที่กรมศิลปากร ในตำแหน่งนักอักษรศาสตร์ โดยได้ทำงานด้านการอ่านจารึกโบราณที่พบในประเทศไทย และแปลจารึกภาษาบาลีและสันสกฤต มาโดยตลอด
ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ นายชะเอม แก้วคล้ายได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีจนได้รับการยกย่อง และได้รับเกียรติบัตรข้าราชการดีเด่น ของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ มาเป็นระยะ ตั้งแต่ พ.ศ.2526 รวมทั้งสิ้นถึง 7 ครั้ง และได้รับเกียรติบัตรข้าราชการตัวอย่างของกระทรวงศึกษาธิการสองปีซ้อน (พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2532) ทั้งนี้ได้เกษียณอายุราชการ เมื่อ พ.ศ. 2545 ขณะดำรงตำแหน่งนักอักษรศาสตร์ 9 (ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ) กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ผลงาน
นายชะเอม แก้วคล้าย เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในการอ่านและแปลจารึก และวิชาการทางพระพุทธศาสนาเป็นดี สามารถวิเคราะห์ข้อความจารึกอย่างมีเหตุผล รวมทั้งสามารถสื่อความหมายด้วยการเขียนบทความ หนังสือ และบรรยายให้เข้าใจได้ง่าย โดยมีผลงานทั้งบทความ และหนังสือ เป็นจำนวนมาก
บทความ
นายชะเอม แก้วคล้ายอ่านแปลและวิเคราะห์จารึกไว้นั้นมีประมาณ 1,4000 หลัก มีทั้งที่เป็นอักษรปัลลวะ อักษรขะโรษฐี อักษรมอญโบราณ อักษรปยูโบราณ อักษรขอมโบราณ อักษรพม่าโบราณ และอักษรไทยโบราณ ซึ่งอักษรเหล่านี้จารึกเป็นภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษามอญโบราณ ภาษาปยูโบราณ ภาษาเขมรโบราณ ภาษาพม่าโบราณ และภาษาไทยโบราณ ซึ่งบางส่วนได้รับการพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือจารึกในประเทศไทยเล่ม 1 เล่ม 2 เล่ม 3 และเล่ม 5 และหนังสืออื่น ๆ ของกรมศิลปากร ดังรายชื่อศิลาจารึกที่นายชะเอม แก้วคล้ายได้อ่านแปลและวิเคราะห์ ต่อไปนี้
1. ศิลาจารึกที่พิมพ์ในหนังสือจารึกในประเทศไทยเล่ม 1 ปีพ.ศ. 2529
1. จารึกหุบเขาช่องคอย
2. จารึกธรรมจักร (ร่วม)
3. จารึก เย ธมฺมาฯ
4. จารึกถ้ำฤาษีเขางู
5. จารึก เย ธมฺมาฯ 1
6. จารึก เย ธมฺมาฯ 2
7. จารึก เย ธมฺมาฯ 3
8. จารึก เย ธมฺมาฯ ที่ศาลเจ้า
9. เหรียญเงินมีจารึก (ร่วม)
10. จารึก เย ธมฺมาฯ บนแผ่นอิฐ
11. จารึกซับจําปา
12. จารึกเมืองพรหมทิน (ร่วม)
13. จารึกบึงคอกช้าง
14. จารึกเมืองศรีเทพ
15. จารึกบ้านวังไผ่
16. จารึกวัดจันทึก
17. จารึกถ้ำเป็ดทองด้านใน
18. จารึกถ้ำเป็ดทองด้านนอก
19. จารึกผนังถ้ำเป็ดทอง
20. จารึกวัดศรีเมืองแอม
21. จารึกปากมูล (ร่วม)
22. จารึกดอนเมืองเตย
23. จารึกเสมาเมือง (ร่วม)
24. วิเคราะห์ศัพท์จารึก
25. จารึกปุมยคีรี
26. จารึกซับจำปา 2
27. จารึกพุทธอุทาน
28. จารึกบนพระพิมพ์
29. จารึกห้วยมะอึ
30. จารึกปราสาทพนมรุ้ง 1
31. จารึกวัดบ้านมะค่า
32. จารึกฐานพระพุทธรูป
33. จารึกสถาปนาสีมา
34. จารึกวัดสระแก้ว
2. ศิลาจารึกที่พิมพ์ในหนังสือจารึกในประเทศไทยเล่ม 2 ปีพ.ศ. 2529
1. จารึกบึงคอกช้าง 2 (ร่วม)
2. จารึกบึงคอกช้าง 3 (ร่วม)
3. ศิลาจารึกที่พิมพ์ในหนังสือจารึกในประเทศไทยเล่ม 3 ปีพ.ศ. 2529
1. จารึกโนนสัง
2. จารึกภูเขียว
3. จารึกพิมาย 1
4. จารึกบ้านตาดทอง
5. จารึกหนองห้าง
6. จารึกวิภูติ (ร่วม)
7. จารึกสด๊กก๊อกธม 2
8. จารึกพนมวัน 2 (ร่วม)
9. จารึกปราสาททัพเสีย
10. จารึกพิมาย
11. จารึกวัดเวียงไชยา
12. จารึกด่านประคำ
13. จารึกเมืองพิมาย
14. จารึกปราสาทตาเมือนโจ
15. จารึกบ้านปราสาท
16. จารึกสุรินทร์ 2
17. จารึกบ้านหนองกู่
4. ศิลาจารึกที่พิมพ์ในหนังสือจารึกในประเทศไทยเล่ม 5 ปีพ.ศ. 2529
1. จารึกรอยพระพุทธบาท
2. จารึกเจดีย์วัดมหาธาตุ
3. จารึกวัดตระพังนาค
4. จารึกคาถาป้องกันอสนีบาต
5. จารึกพระอภิธรรม
5. ศิลาจารึกที่พิมพ์ในหนังสืออื่น ๆ
1. จารึกปราสาทเขาน้อย (ร่วม) หนังสือปราสาทเขาน้อย ปีพ.ศ.2533
2. จารึกพระพรหมทิน 2 หนังสือจารึกโบราณรุ่นแรก ปีพ.ศ.2524
3. จารึกพรหมทิน 2 (ร่วม) หนังสือจารึกโบราณรุ่นแรก ปีพ.ศ.2524
4. จารึกซับจำปา 2 (ร่วม) หนังสือจารึกโบราณรุ่นแรก ปีพ.ศ.2524
5. จารึกซับจำปา 3 หนังสือจารึกโบราณรุ่นแรก ปีพ.ศ.2524
6. จารึกบึงคอกช้าง 1 หนังสือจารึกโบราณรุ่นแรก ปีพ.ศ.2524
7. จารึกบึงคอกช้าง 2 (ร่วม) หนังสือจารึกโบราณรุ่นแรก ปีพ.ศ.2524
8. จารึกบึงคอกช้าง 3 หนังสือจารึกโบราณรุ่นแรก ปีพ.ศ.2524
9. จารึกปราสาทแปรรูป หนังสือจารึกปราสาทแปรรูป ปีพ.ศ.2543
10. จารึกบ้านวังไผ่ จดหมายเหตุกรุงศรี ปีพ.ศ.2544
นายชะเอม แก้วคล้ายเป็นนักเขียนที่มีผลงานประเภทบทความทางวิชาการมากมาย ซึ่งเป็นการประมวลขึ้นมากจากความรู้และประสบการณ์ที่อ่านจารึกแล้วนำมาวิเคราะห์เป็นความคิดเห็นส่งพิมพ์เผยแพร่ในนิตยสารศิลปากรเป็นประจำเรื่อยมา ตั้งแต่บทความเรื่องจารึกหุบเขาช่องคอยกปีพ.ศ.๒๕๒๓ จนกระทั่งปัจจุบัน ชื่อเสียงในการเขียนบทความวิชาการด้านจารึกโบราณของนายชะเอม แก้วคล้าย จึงเป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิชาการ ครูอาจารย์ นักศึกษา พระภิกษุสามเณร และประชาชนทั่วไป ดังรายชื่อบทความที่เผยแพร่ในนิตยสารศิลปากร ต่อไปนี้
1. จารึกหุบเขาช่องคอย (ร่วม) ปีพ.ศ.2523
2. จารึกวัดสุปัฏนาราม ปีพ.ศ.2524
3. จารึกเมืองบึงคอกช้าง (ร่วม) ปีพ.ศ.2525
4. จารึกศรีเทพ พช.1 ปีพ.ศ.2526
5. จารึกศรีเทพ พช.2 ปีพ.ศ.2526
6. จารึกโนนสัง ปีพ.ศ.2526
7. จารึกดอนเมืองเตย (ร่วม) ปีพ.ศ.2528
8. จารึกพุทธอุทาน ปีพ.ศ.2528
9. จารึกวัดตระพังนาค ปีพ.ศ.2529
10. จารึกปราสาทพนมรุ้งพบใหม่ ปีพ.ศ.2530
11. จารึกพระเจ้าภววรมันที่ 2 ปีพ.ศ.2530
12. จารึกพระเจ้ามเหนทรวรมัน ปีพ.ศ.2530
13. จารึกพระศรีวัตสะสร้างเทวรูป ปีพ.ศ.2530
14. จารึกปราสาทภูมิโปน ปีพ.ศ.2531
15. จารึกสุรินทร์ ปีพ.ศ.2531
16. จารึกวัดถ้ำพระ ปีพ.ศ.2531
17. จารึกวัดมหาธาตุ ปีพ.ศ.2531
18. จารึกบูพาราม (ร่วม) ปีพ.ศ.2532
19. จารึกภูเขียว ปีพ.ศ.2532
20. จารึกชยสิงหวรมัน (ร่วม) ปีพ.ศ.2532
21. จารึกฐานประติมากรรม ปีพ.ศ.2532
22. จารึกเขาน้อย ปีพ.ศ.2532
23. จารึกดวงตราประทับ ปีพ.ศ.2532
24. จารึกเหรียญเงินทราวดี ปีพ.ศ.2534
25. จารึกศรีทวารวดี ปีพ.ศ.2534
26. จารึกปราสาทเมืองต่ำ ปีพ.ศ.2534
27. จารึกเหรียญเงินปยู ปีพ.ศ.2535
28. จารึกพระศรีสูรยลักษมี (ร่วม) ปีพ.ศ.2535
29. จารึกเหรียญเงินอารข่าน ปีพ.ศ.2536
30. จารึก เย ธฺมมา ปีพ.ศ.2536
31. จารึกโคกสะแกราช ปีพ.ศ.2536
32. จารึกปราสาทเมืองแขก ปีพ.ศ.2537
33. จารึกรอยพระพุทธบาท ปีพ.ศ.2537
34. จารึกเกษตรสมบูรณ์ ปีพ.ศ.2537
35. จารึกบ้านโคกกลาง (ร่วม) ปีพ.ศ.2537
36. จารึกบ้านหัวขัว ปีพ.ศ.2537
37. จารึกวัดสุปัฏนาราม ปีพ.ศ.2537
38. จารึกธรรมจักร ปีพ.ศ.2538
39. จารึกปราสาทเขาดุม ปีพ.ศ.2541
40. จารึกวัดทองทั่ว ปีพ.ศ.2541
41. จารึกปราสาทตาเมือนธม ปีพ.ศ.2542
42. จารึกบ้านกู่จาน ปีพ.ศ.2542
43. จารึกบ้านเมย ปีพ.ศ.2543
44. จารึกปราสาทโตนตวล 1 ปีพ.ศ.2544
45. จารึกปลายบัด 2 ปีพ.ศ.2544
46. จารึกพระพุทธไสยาสน์ภูเวียง ปีพ.ศ.2544
47. จารึกเหรียญเงินพม่าโบราณ ปีพ.ศ.2545
48. จารึกบ้านตาดทอง ปีพ.ศ.2545
ในปัจจุบันได้มีการนำบทความทางวิชาการเหล่านี้มารวบรวมเพื่อเตรียมเผยแพร่ในหนังสือวิจักษณ์จารึก 1 และ 2 รูปแบบ e – book โดยสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย นอกจากนี้ นายชะเอม แก้วคล้ายยังมีบทความทางวิชาการด้านศาสนา วัฒนธรรมประเพณีเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งได้มีการพิมพ์เผยแพร่ในงานทอดกฐิน ณ วัดวอชิงตันพุทธาราม สหรัฐอเมริกา เมื่อปีพ.ศ. 2540
นอกจากนี้ยังได้เขียนบทความเกี่ยวกับพุทธศาสนา ตีพิมพ์ในวารสารพุทธธรรม เช่น บทความเรื่อง "พุทธศาสนาในประเทศไทย", "ปฐมเทศนาของพระพุทธสาวก", "พุทธศาสนามหายานในอินเดีย" เป็นต้น
นายชะเอม แก้วคล้าย ยังเขียนบทความด้านภาษาและวรรณคดี เช่น “สมาสและสนธิในภาษาไทย” “คุณค่าเอกสารโบราณ” “เกลื้อน ค่านิยมความงาม” และ “ลุงสอนให้กินหวาก” เป็นต้น โดยตีพิมพ์ในเอกสารแจก สนฐ., เอกสารข่าวราชบัณฑิตย์ เป็นต้น
หนังสือ
มีหนังสือที่ตีพิมพ์แล้ว ว่าด้วยจารึกโบราณ และงานแปลคัมภีร์พุทธศาสนามหายาน ดังนี้
- ชะเอม แก้วคล้าย. จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2528. 72 หน้า.
- ชะเอม แก้วคล้าย. จารึกปราสาทแปรรูป. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2543. 106 หน้า.
- ชะเอม แก้วคล้าย. สัทธรรมปุณฑรีกสูตร. กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย, 2547.
- ชะเอม แก้วคล้าย และศาสตราจารย์พิเศษ ดร.จำลอง สารพัดนึก. สุขาวดีวยูหสูตร. กรุงเทพฯ : โครงการตำราและวิชาการมหายาน คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ชมรมมหายาน และคณะศิษยานุศิษย์, 2553.
- ชะเอม แก้วคล้าย. ลักษณะการใช้ศัพท์บาลีสันสกฤตในภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิกจำกัด, 2555. 134 หน้า.
- ชะเอม แก้วคล้าย. สารัตถะจากศิลาจารึกในประเทศไทย (เล่ม 1). สมุทรปราการ : บริษัท เอส.อาร์.ซี. เอ็นเวลอพ จำกัด, 2556. 443 หน้า.
- ชะเอม แก้วคล้าย. สุวรรณประภาโสตมสูเตรนทรราชสูตร. กรุงเทพฯ : เสด็จพระราชกุศลในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปริณายก, 2558. 312 หน้า.
- ชะเอม แก้วคล้าย. สารัตถะจากศิลาจารึกในประเทศไทย (เล่ม 2). สมุทรปราการ : บริษัท เอส.อาร์.ซี. เอ็นเวลอพ จำกัด, 2558. 446 หน้า.
นายชะเอม ยังได้รับพระราชทานรางวัลชนะเลิศอันดับ 2 หนังสือสอนพุทธศาสนาแก่เด็ก ที่ราชบัณฑิตยสถานจัดประกวดขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2539 และได้รับรางวัลการใช้ภาษาถิ่นใต้ดีเด่น ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อ พ.ศ. 2558
ปัจจุบัน นายชะเอม แก้วคล้าย เป็นข้าราชการบำนาญ แต่ยังคงทำงานด้านการแปลคัมภีร์พุทธศาสนามหายาน (ภาษาสันสกฤต) และเป็นอาจารย์พิเศษสอนภาษาบาลีสันสกฤต แก่นักศึกษาในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, อาจารย์พิเศษหลักสูตรแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, รวมทั้งเป็นกรรมการตรวจแบบเรียนเอกชน วิชาภาษาไทยของ สพฐ., กรรมการพิจารณาตัดสินการประกวดหนังสือสารคดีดีเด่นแห่งชาติ, กรรมการวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิของราชบัณฑิตยสถาน และกรรมการผลิตตำรามหายานของคณะสงฆ์จีนนิยาย วัดโพธิ์แมนคุณาราม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง