ฆาตกรต่อเนื่อง (อังกฤษ: serial killer) หมายถึง บุคคลที่ก่อคดีฆาตกรรมขึ้น โดยมีเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป หรือก่อเหตุมาแล้วอย่างน้อย 3 ครั้ง ในช่วงระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่ ฆาตกรต่อเนื่องส่วนมาก จะเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมที่ตัดขาดจากสังคมภายนอก (Antisocial Personality Disorder) และไม่ได้เป็นบ้า ดูจากภายนอกแล้วจะเหมือนกับคนปกติทั่วไป บางครั้งจะมีเสน่ห์กว่าคนปกติด้วยซ้ำ[ต้องการอ้างอิง]
จิตวิทยาและแรงจูงใจ
ฆาตกรต่อเนื่องหลายคนจะมีพื้นฐานความหลังที่ขมขื่น โดยมากมักจะเป็นผู้ที่ถูกทำร้ายจิตใจอย่างรุนแรง ถูกทารุณกรรม หรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ เมื่อครั้งยังเด็ก ซึ่งบ่อยครั้งที่คดีที่ฆาตกรต่อเนื่องก่อมีความเกี่ยวพัน หรือคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่ตนประสบมาในอดีต นักจิตวิทยาได้ให้ข้อสันนิษฐาน ถึงที่มาของแรงจูงใจในการก่อคดีของฆาตกรต่อเนื่องไว้หลายสมมติฐาน ส่วนมากมักเกี่ยวกับการทารุณกรรม และการล่วงละเมิดทางเพศ บางครั้งก็เป็นความอับอายที่ถูกล่วงละเมิดในวัยเด็ก หรือมีความกดดันจากความอดอยาก จากการมีฐานะทางสังคมต้อยต่ำเมื่อโตขึ้น และคดีที่ฆาตกรต่อเนื่องก่อขึ้นนี้ มักจะเป็นการระบายความแค้นส่วนตัว ทำให้ตนเองรู้สึกมีอำนาจในช่วงเวลาที่ลงมือฆ่า ซึ่งหลังจากนั้นเป็นต้นมา เรื่องราวคดีที่ฆาตกรต่อเนื่องนั้นๆ ก่อขึ้นก็จะเป็นที่รับรู้ของสาธารณชน สร้างความหวาดกลัวไปทั่ว ซึ่งแรงจูงใจของฆาตกรต่อเนื่อง จะแตกต่างกับพวกมือสังหารที่ก่อคดีฆาตกรรมเพื่อผลประโยชน์
นักจิตวิทยาได้ตั้งอีกสมมติฐานที่ว่า ฆาตกรต่อเนื่องเป็นพวกที่ไม่มีพัฒนาการทางอารมณ์ ทำให้กลายเป็นพวกแปลกแยกและถูกปฏิเสธจากสังคมภายนอก เป็นผลทำให้บุคคลเหล่านี้ สามารถก่อคดีได้โดยที่ไม่รู้สึกผิดแม้แต่น้อย และไม่ใช่กรณีของฆาตกรรมอำพราง บางกรณีการถูกเยาะเย้ย หรือกดขี่ทางสังคมก็เป็นอีกเหตุจูงใจหนึ่ง
ฆาตกรต่อเนื่องมักมีความสนใจหรือพยายามที่จะสนใจ ในเรื่องที่เหยื่อชื่นชอบเป็นพิเศษ เช่น การเรียน การแข่งขัน เรื่องเพศ ฯลฯ เมื่อก่อคดีพวกฆาตกรต่อเนื่อง มักจะมีความรู้สึกที่คล้ายกับ กำลังทำการค้นคว้าวิจัยบางสิ่งบางอย่างของนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่มีความรู้สึกผิด กับสิ่งที่ตนนำมาทดลองเหมือนกับการนำกบมาชำแหละเพื่อศึกษาโครงสร้าง ฆาตกรต่อเนื่องจะพยายามเข้าใจถึงตัวตนที่แท้จริงของตน ก็เมื่อได้ก่อคดีในแต่ละครั้ง ด้วยการสร้างความเจ็บปวดให้เหยื่อ และประเมินสภาพของศพเมื่อเหยื่อตายไปแล้ว
ฆาตกรต่อเนื่องที่โด่งดัง
อังกฤษ
ฝรั่งเศส
เยอรมนี
อิตาลี
อิหร่าน
รัสเซีย
สหรัฐ
แคนาดา
บราซิล
ปากีสถาน
ญี่ปุ่น
จีน
เกาหลีใต้
แอฟริกาใต้
ออสเตรเลีย
อินโดนีเซีย
ฆาตกรต่อเนื่องของประเทศไทย
อ้างอิง
- Dictionary.reference.com
- Sima Qian, Records of the Grand Historian. tr. Burton Watson. Revised edition 1993, Columba University Press. Han Dynasty Volume I, p. 387
- Cullen, Pamela V., "A Stranger in Blood: The Case Files on Dr John Bodkin Adams", London, Elliott & Thompson, 2006, ISBN 1-904027-19-9
- http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/3488047.stm
- Douglas, John and Olshaker, Mark. Journey into Darkness. Pocket Books, (1997). ISBN 0-671-00394-1
- Douglas, John and Olshaker, Mark. Mind Hunter: Inside the FBI's Elite Serial Crime Unit. Pocket Books, (1997). ISBN 0-671-01375-0
- Lane, Brian and Gregg, Wilfred. The New Encyclopedia Of Serial Killers. Headline Book Publishing, (1996). ISBN 0-7472-5361-7
- MacDonald, J. M. "The threat to kill." American Journal of Psychiatry 120 (1963).
- Norris, Joel. Serial Killers: The Growing Menace. Arrow Books, (1990). ISBN 0-09-971750-6
- Ressler, Robert K. and Schachtman, Thomas. Whoever Fights Monsters. St. Martins Mass Market Paper, (1994). ISBN 0-312-95044-6
- Schechter, Harold and Everitt, David. The A to Z Encyclopedia of Serial Killers. Pocket Books, (1996). ISBN 0-671-53791-1
- Vronsky, Peter. Female Serial Killers: How and Why Women Become Monsters, The Berkley Publishing Group, (2007). ISBN 0-425-21390-0
- Vronsky, Peter. Serial Killers: The Method and Madness of Monsters. The Berkley Publishing Group, (2004). ISBN 0-425-19640-2
- Wilson, Colin. A Plague Of Murder. Robinson Publishing, Ltd., (1995). ISBN 1-85487-249-4
- Elliott Leyton. Hunting Humans: The Rise of the Modern Multiple Murderer (1986) McClelland and Stewart ISBN 0-7710-5025-9
- Holmes, Ronald. Holmes, Stephen. "Murder in America". Sage Publishing ISBN 0-7619-2092-7
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น