คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (น้อยหนู)

คุ้มเจ้าบุรีรัตน์
ข้อมูลทั่วไป
สถานะถูกรื้อถอน
ประเภทคุ้มเจ้า
สถาปัตยกรรมล้านนาไทยผสมยุโรป
เมืองอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ประเทศประเทศไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2443
รื้อถอนพ.ศ. 2513 (ไฟไหม้)
ผู้สร้างเจ้าบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา)

คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ เรือนไม้สักขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองนครแพร่ ขณะนั้น ตั้งอยู่ที่บริเวณประตูชัย ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ เป็นคุ้มของเจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยหนู มหายศปัญญา) แต่เป็นที่น่าเสียดายเพราะคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ถูกไฟไหม้ใน พ.ศ. 2513

ประวัติ

คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ สร้างขึ้นโดยพระยาบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยหนู มหายศปัญญา) ประมาณ พ.ศ. 2443 เพราะเป็นปีที่เจ้าน้อยหนู ได้รับตำแหน่งเป็นพระยาบุรีรัตน์นครแพร่ เป็นเรือนไม้สักขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองนครแพร่ในสมัยนั้น ตามบันทึกรายงานการตรวจราชการของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒน์หลังเหตุการณ์เงี้ยวปล้นเมืองแพร่ เพียง 3 เดือน ได้กล่าวถึงสิ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะมีในเมืองนครแพร่ เมื่อเทียบกับเมืองอื่นในลาวเฉียง คือที่พักซึ่งบ่งบอกสถานะทางเศรษฐกิจของผู้ครอบครอง คือบ้านของพระยาบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยหนู มหายศปัญญา) และบ้านของพระไชยสงคราม (นายจอน เตมิยานนท์) ดังนี้


ได้เห็นบ้านพระยาบุรีรัตน์ซึ่งราษฎรเรียกกันว่าเจ้า ดูเป็นเรือนใหญ่โตงามเกินคนอย่างพระยาบุรีจะอยู่ แต่เขาเปนผู้มั่งมีมาก เพราะมีป่าไม้ทำ" แสดงให้เห็นว่าเจ้านายเมืองอื่นในตำแหน่งเจ้าบุรีรัตน์ไม่ได้พักอาศัยอยู่ในคุ้มลักษณะนี้ เนื่องจากสมัยนั้นนิยมมุงหลังคาด้วยหญ้าคา ใบตองตึง หรือไม้เล็กๆ ทำคล้ายกระเบื้องดินขอ..

— พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒน์
ผู้ตรวจราชการ


ที่พักของข้าพระพุทธเจ้านั้น เปนบ้านใหญ่โตมาก เปนเรือนไม้กระดาน ไม่ได้ทาสี มีห้องรับแขกใหญ่โตมาก ห้องเขียนหนังสือ ห้องรับพระราชทานเข้า ห้องนอน ห้องอาบน้ำพร้อมบริบูรณ์ดี เปนราคา 18,000 บาท..

— 
พระยาบุรีรัตน์ นครแพร่

จะเห็นว่าเป็นคุ้มที่ใหญ่โตและทันสมัย เพราะในอดีตห้องน้ำของเจ้านาย เพียงแค่นำไม้ไผ่สานหรือผ้ามากั้นบริเวณเรือนชานเท่านั้น และราคา 18,000 บาท มีค่ามาก เทียบกับเจ้าหลวงยืมเงินของหลวงมาใช้ไม่ถึง 10,000 บาท ยังเป็นหนี้แทบล้มละลาย ดังปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์เมืองแพร่ ฉบับ พ.ศ. 2550 โดยอบจ.แพร่

คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ถูกไฟไหม้ใน พ.ศ. 2513 เป็นที่น่าเสียดายกับสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าของจังหวัดแพร่

สถาปัตยกรรม

คุ้มหลังนี้เป็นอาคารแบบไทยผสมยุโรป โดยเป็นเรือนไม้สักทองขนาดใหญ่ 2 ชั้นทรงไทยล้านนาผสมยุโรป มีห้องเสาถึง 15 ห้อง เรือนรูปสี่เหลี่ยม ตรงกลางโล่งเพื่อรับลม ชั้นสอง มีทางเชื่อม (สะพาน) จากฝั่งด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ประดับตกตกแต่งลวดลายด้วยไม้ฉลุที่เรียกว่าลาย“ขนมปังขิง”อยู่ทั่วตัวอาคาร

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!