คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Faculty of Architecture and Environmental Design, Maejo University
สถาปนา3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548; 19 ปีก่อน (2548-11-03)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
คณบดีโชคอนันต์ วานิชเลิศธนาสาร
ที่อยู่
ถนนเชียงใหม่-พร้าว ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
สี  สีน้ำตาล-ทอง
เว็บไซต์arch.mju.ac.th

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการสถาปนาในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ได้ยกฐานะจากภาควิชาภูมิทัศน์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่เปิดสอนนักศึกษาในหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง (รับนักศึกษาจากสายอาชีวศึกษาเช่น เกษตร เทคนิค เทคนิคสถาปัตย์ ฯ) ตั้งแต่ 2527 เป็นต้นมา จนกระทั่งในปี 2538 ได้เปิดสอน สาขาภูมิสถาปัตยกรรม 5 ปี โดยเป็นการเปิดสอนหลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมแห่งแรกของภาคเหนือ[1] ทั้งนี้ คณาจารย์ 3 ท่านที่เป็นผู้บุกเบิกสร้างหลักสูตรขึ้นมา ได้แก่ อาจารย์สมพร ยกตรี (แม่โจ้รุ่น 20) อาจารย์โสภณ มงคลวัจน์ (พืชสวน แม่โจ้รุ่น 36) และ รศ.ศิริชัย หงษ์วิทยากร (Master in Landscape architecture, University of Michigan) [2]

ปัจจุบัน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้เปิดสอนทั้งหมด 5 หลักสูตร โดยเป็นคณะที่จัดการเรียนการสอนทางด้านสถาปัตยกรรมที่มีหลักสูตรมากที่สุดในภาคเหนือ ประกอบด้วยหลักสูตรปริญญาตรีจำนวน 3 หลักสูตรและหลักสูตรระดับปริญญาโทจำนวน 2 หลักสูตร[3][4]

ที่ตั้ง

อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถนนเชียงใหม่-พร้าว ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290[3]

ประวัติ

สัญลักษณ์ประจำคณะ

หลักสูตรที่เปิดสอน

หลักสูตรระดับปริญญาตรี ปัจจุบันเปิดสอนระดับปริญญาตรีทั้งสิ้น 3 หลักสูตรคือ

หลักสูตรระดับปริญญาโท

คณบดี

ทำเนียบคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้[8]
ชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง

1. รองศาสตราจารย์ ศิริชัย หงษ์วิทยากร พ.ศ. 2548พ.ศ. 2551
2. รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง พ.ศ. 2551พ.ศ. 2555
3. อาจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย พ.ศ. 2555พ.ศ. 2559
4. รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง พ.ศ. 2559 — พ.ศ. 2563
5. อาจารย์ ดร.โชคอนันต์ วานิชเลิศธนาสาร พ.ศ. 2563 — ปัจจุบัน

กิจกรรมของคณะ

ครอบครูกิ๋นอ้อ

กิจกรรมครอบครูกิ๋นอ้อ หรือก็คือกิจกรรมไหว้ครูศิลปะแบบประเพณีล้านนา เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกปีโดยสโมสรนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน กิจกรรมจะแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกจะเป็นพิธีทางพุทธศาสนา มีการทำบุญ ตักบาตร จากนั้นจะเป็นพิธีไหว้ครูตามความเชื่อแบบล้านนา[9][10][11]

สถาปัตยกรรมการละคร

กิจกรรมการแสดงละครเวทีที่นักศึกษาในคณะฯได้ร่วมกันจัดขึ้น โดยทีมงานทั้งหมดเป็นนักศึกษาของคณะฯ เปิดการแสดงปีละ 1 ครั้ง ซึ่งได้จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ถือเป็นคณะแรกที่จัดการแสดงละครเวทีขึ้นในมหาวิทยาลัยแม่โจ้[12][13][14]

รายชื่อการแสดงในโครงการสถาปัตยกรรมการละคร[14]
พ.ศ. ชื่อเรื่อง อ้างอิง
พ.ศ. 2542 หุย [ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2543 PALERMO [ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2544 THE DOLLS [ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2545 บังเอิญ [ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2546 บู๊เฮี๊ยบ [ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2547 LUCITANIA [ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2548 ชึนเก็ตซึ: คืนไร้จันทร์ [ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2549 อำ [ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2550 PASSE [ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2552 ฮักฮาน [ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2553 WHYIN [ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2554 VERLASSEN [ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2555 กลิ่นแก้ว [ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2556 อัคบาราห์ (ARKBARA) [15]
พ.ศ. 2557 เมอาห์ (MEAH) [16]
พ.ศ. 2558 2599 [17]
พ.ศ. 2559 นาชา [18]
พ.ศ. 2560 ย้อมยิ้ม [19]
พ.ศ. 2561 อานาตะ (あなた) [20]
พ.ศ. 2562 ENNUSSUS: ความรัก ความแค้น แดนคำสาป [21]

การประชุมวิชาการ

  • การประชุมวิชาการภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อม

เป็นงานประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านภูมิทัศน์ ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยมีการจัดประชุมครั้งแรก ระหว่างวันที่ 5-6 ธันวาคม 2556 ณ ห้องข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ [22]

  • การประชุมวิชาการสถาปัตยกรรม และการออกแบบสิ่งแวดล้อม

เป็นงานประชุมทางวิชาการระดับชาติ ในด้าน สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม เทคโนโลยีภูมิทัศน์ ผังเมืองและชุมชน เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เกษตรและสิ่งแวดล้อม โดยมีการจัดประชุม ครั้งที่หนึ่ง เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2559 ณ ห้องประชุมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่[23]

ลองเครื่องสถาปัตย์

เป็นกิจกรรมที่หลักสูตรสถาปัตยกรรม จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2552 เพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจเข้าศึกษาในหลักสูตรได้ทดลองเรียนในช่วงสั้น ๆ[24]

เกียรติประวัติ

ดูเพิ่ม รายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ปูชนียาจารย์ที่มีชื่อเสียง

คำนำหน้าชื่อ รายชื่อ เกียรติประวัติ อ้างอิง
รองศาสตราจารย์ ศิริชัย หงษ์วิทยากร มีเกียรติประวัติที่สำคัญ ดังนี้ [25][26][27]
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บรรจง สมบูรณ์ชัย ผู้ริเริ่มโครงการ "หมอต้นไม้" เป็น 1 ใน "ร้อยคนไทยหัวใจนวัตกรรม" (100 Faces of Thailand's Innovation Inspirers) คัดเลือกโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) [28][29][30][31]
อาจารย์ ดร. โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร พ.ศ. 2545 ได้รับรางวัล "รองชนะเลิศ อันดับ 2 ประเภท การออกแบบอาคารพาณิชย์งาม" จาก กรรมาธิการสถาปนิกล้านนา

พ.ศ. 2549 ได้รับรางวัล "สถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทอาคารพักอาศัย" จาก กรรมาธิการสถาปนิกล้านนา

พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน ได้รับแต่งตั้งเป็น "กรรมาธิการสถาปนิกผังเมืองล้านนา" โดยสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย

[32][33][34]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

คำนำหน้าชื่อ รายชื่อ สาขา ปีที่เข้าศึกษา (พ.ศ.) เกียรติประวัติ อ้างอิง
บุญรักษ์ ธนเจริญโรจน์ เทคโนโลยีภูมิทัศน์ 2531 เป็นผู้บริหาร บริษัท ช้างทองการเกษตร จำกัด มีความเชี่ยวชาญในการขุดล้อมต้นไม้ใหญ่ เป็นผู้บุกเบิกการซื้อขายต้นไม้ที่มีรูปทรงต้นสวยงามในลักษณะเดียวกับปฏิมากรรม (sculpture tree)[35] และเชียวชาญในการจัดสวนด้วยมอส[36]

เกียรติประวัติที่สำคัญคือ ได้เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อถวายรายงานการขุดย้ายต้นลำไยพันธุ์อีเบี้ยว อายุ 110 ปี ในโครงการ “อพ.สธ.แม่โจ้ : ภูมิปัญญาเกษตรแห่งแผ่นดิน” ซึ่งเป็นต้นลูก 1 ใน 6 ต้น ที่เกิดจากลำไยต้นแรกของประเทศไทย[37][38] นอกจากนั้นยังเคยร่วมจัดนิทรรศการพันธุ์ไม้แปลกหายาก ในงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ เมื่อปี พ.ศ. 2549 อีกด้วย[37] จากผลงานข้างต้น ในปีพ.ศ. 2555 จึงได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้[37]

[35][36][37][38]
กฤษณ์ เขียวลงยา ภูมิสถาปัตยกรรม 2538 ได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดออกแบบจัดสวน ในงาน "บ้านและสวนแฟร์ 2005" [39]
ธีร์ นันทวริศ ภูมิสถาปัตยกรรม 2538 ผู้สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ 3D "พระผู้เป็นที่รัก" และงานออกแบบดิจิตัลอาร์ทให้การประกวดนางงามจักรวาล พ.ศ. 2561 (Miss Universe 2018) [40][41][42][43][44]
วิทยา กาญจนโกศล ภูมิสถาปัตยกรรม 2538 ได้รับรางวัลชนะเลิศ และรางวัลขวัญใจมหาชน จากการประกวดออกแบบจัดสวน ในงาน "บ้านและสวนแฟร์ 2014" [45][46]
ธัชกร ตั้งธนกรกิจ ภูมิสถาปัตยกรรม 2540 ผู้ชนะเลิศการประกวดออกแบบชุดประจำชาติ ให้ผู้เข้าประกวดนางงามจักรวาล ปีพ.ศ. 2552 (Miss Universe 2009) จากประเทศไทย โดยผลงานออกแบบชื่อ “ญ.งามท้องถิ่นสุวรรณภูมิ” ได้รับรางวัลชุดประจำชาติอันดับที่ 3 จากเวทีประกวดดังกล่าว [47][48][49]
ภูริทัต คุณุรัตน์ ภูมิสถาปัตยกรรม 2540 เจ้าของบริษัท Pround Design[50] หัวหน้าทีมออกแบบโรงแรม Oxotel ที่ได้รับรางวัล "The Winners of the Chiang Mai Design Awards 2016" ในสาขา "ARCHITECTURE - INTERIOR DESIGN"[51] และรางวัล "Thailand Boutique Awards 2016-2017" สาขา "The Winner Award for Design City"[52] ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับรางวัล "10 บ้านน่าอยู่" ประจำปี 2019 ในผลงานการออกแบบ “Artisan House” จากนิตยสาร "บ้านและสวน"[53] [50][53][54]
แสงธรรม นิสสภา ภูมิสถาปัตยกรรม 2540 ปัจจุบัน (พ.ศ. 2565) ดำรงตำแหน่งอุปนายกฝ่ายกิจกรรม[55] สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย

ได้รับรางวัล "Honorable Mention in Landscape Architecture: Commercial Landscape"[56] จากการออกแบบโครงการ "DINGFENG DEAR CITY" จัดโดย The Architecture MasterPrize ในปีพ.ศ. 2565 ทั้งนี้ โครงการที่ร่วมงานกับ PELA limited ได้รับรางวัล "Honorable Mention in Landscape Architecture: Other Landscape Architecture"[57] [58]จากการออกแบบโครงการ "The MIST Hotspring Hotel" จัดโดย The Architecture MasterPrize ในปีพ.ศ. 2564

[55][56][57][58]
ศุภโชค ศรีสง่า ภูมิสถาปัตยกรรม 2540 ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดออกแบบจัดสวน ในงาน "บ้านและสวนแฟร์ 2004" และต่อมาในปี พ.ศ. 2562 ได้รับเชิญให้เป็นหนึ่งในนักออกแบบที่เข้าร่วมออกแบบผลงานที่ชื่อ S.O.S. Garden ในโครงการ "เชียงใหม่ดีไซน์วีค" [54][51][59][60]
จิรเศรษฐ์ ยกดี ภูมิสถาปัตยกรรม 2541 [50][51][52][62][63][50][64]
เอม อึ้งจิตรไพศาล ภูมิสถาปัตยกรรม 2541 เจ้าของ "ภูอันนา อีโค เฮ้าส์" ที่พักซึ่งได้รับรางวัล "Eco Lodging Standard" ระดับดี จากกรมการท่องเที่ยว ในปีพ.ศ. 2558[65] [65]
พลัง สิทธิถาวร ภูมิสถาปัตยกรรม 2541 เจ้าของ บริษัท 1819 จำกัด[66] โดยในปีพ.ศ. 2563 ได้รับรางวัลงานประกวด MUSE Design Awards 2020 ระดับ "Gold Winner" ในสาขา การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม หมวดย่อย ภูมิทัศน์เคหะสถาน จากผลงานออกแบบโครงการ "Wish Signature Midtown Siam"[67]

ต่อมาในปีพ.ศ. 2564 ได้รับทั้งสิ้น 5 รางวัลจาก 3 สถาบัน คือ

ได้รับรางวัลจากงานประกวด LOOP Design Awards 2021 2 รางวัล คือ

- ชนะเลิศประจำหมวด ปีพ.ศ. 2564 (Category Winner 2021) ในหมวด การออกแบบภูมิทัศน์อื่น ๆ (Other Landscape Design)[68][69]

- ชนะเลิศรางวัลมหาชน สาขาการออกแบบภูมิทัศน์ยอดเยี่ยม (People’s Choice Award Winner 2021 - Best Landscape Design)[69]

ได้รับรางวัลจากงานประกวด MUSE Design Awards 2021ระดับ "Gold Winner" 2 รางวัล คือ

- สาขา การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม หมวดย่อย ภูมิทัศน์องค์กร จากผลงานออกแบบโครงการ "Summer Lasalle"[70]

- สาขา การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม หมวดย่อย ภูมิทัศน์เคหะสถาน จากผลงานออกแบบโครงการ "Escent Ville Chiang Mai 2"[71]

ได้รับรางวัลจากงานประกวด DNA Paris Design Awards 2021 สาขาภูมิสถาปัตยกรรม รางวัลชนะเลิศ ในหมวด "สวนส่วนบุคคล (private garden)" จากโครงการ "Summer Lasalle"[72]

[66][68][69][70][71][72][67]
ทรงพล สกุลธนะ ภูมิสถาปัตยกรรม 2543 ภูมิสถาปนิกจากสำนักงาน Guangzhou Yijing Planning and Design Co., Ltd. ซึ่ง ในปีพ.ศ. 2566 ได้รับรางวัล ดังนี้
  • รางวัล "ยอดเยี่ยม" (Excellence Award) จากผลงานการประกวดแนวคิดในการออกแบบ "นิทรรศการสวน ประจำจังหวัดเหอเป่ย ครั้งที่ 5" (5th China Afforestation Expo Hebei Provincial Exhibition Garden Conceptual Design Scheme) จัดโดย สำนักงานป่าไม้และทุ่งหญ้าจังหวัดเหอเป่ย (Hebei Provincial Forestry and Grassland Bureau) ประเทศจีน[73]
  • รางวัล "เหรียญเงิน" (Silver) จากผลงานการออกแบบโครงการ "Wenzhou Investment Poly Tianyue Seal" ที่ย่านธุรกิจเวินโจวในมณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ซึ่งมอบให้โดยคณะกรรมการรางวัลหยวนเย่ (Yuanye Awards Comittee) ในงาน "การประกวดระดับนานาชาติรางวัลหยวยเย่ (Yuanye Awards International Compettition) ครั้งที่ 13" [74][75]
[73][74][75]
ศราวุฒิ เถิงล้อม สถาปัตยกรรม 2554 ได้รับรางวัลจากสมาคมสถาปนิกล้านนา "รางวัลรองชนะเลิศ" ในการประกวดแบบ "ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยลำพูน" จากโครงการประกวดแบบงานสถาปนิกล้านนา'๖๐ (ASALANNA'60) แวด เวียง หละ ปูน เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560[76] [76]

อ้างอิง

  1. สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2560. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาศักยภาพอุตสาหกรรมการออกแบบของประเทศไทย. ม.ป.ท.: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ.
  2. http://www.landscape.mju.ac.th[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  4. 4.0 4.1 4.2 หลักสูตรที่สภาสถาปนิกรับรอง
  5. 5.0 5.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-04. สืบค้นเมื่อ 2019-03-12.
  6. "ประวัติการก่อตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-08. สืบค้นเมื่อ 2019-10-08.
  7. http://www.arch.mju.ac.th/web2014/academic.aspx
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-23. สืบค้นเมื่อ 2016-07-20.
  9. แทนวุธธา ไทยสันทัด. 2553. "การเปรียบเทียบทัศนคติและความเชื่อเรื่องการครอบครูในสถาบันศิลปะ". เชียงใหม่: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-08. สืบค้นเมื่อ 2022-03-13.
  11. https://www.youtube.com/watch?v=ONGxWLLnbCM
  12. http://www.faed.mju.ac.th/it/dept_pr/news_view.asp?act_id=576[ลิงก์เสีย]
  13. https://campus.campus-star.com/actale/20649.html
  14. 14.0 14.1 https://www.facebook.com/MEAH.MJU/
  15. http://www.faed.mju.ac.th/it/dept_pr/news_view.asp?act_id=576[ลิงก์เสีย]
  16. https://business.facebook.com/MEAH.MJU/photos/a.287556641357371/522693114510388/?type=3&theater
  17. https://business.facebook.com/MEAH.MJU/photos/a.498081580304875/719884708124560/?type=3&theater
  18. https://www.youtube.com/watch?v=CfJZ3ad2U3E
  19. https://business.facebook.com/MEAH.MJU/photos/a.287556641357371/1191323314314028/?type=3&theater
  20. https://business.facebook.com/MEAH.MJU/photos/a.287561021356933/1545877178858638/?type=3&theater
  21. https://www.facebook.com/MEAH.MJU/
  22. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 2556. "เอกสารการประชุมวิชาการภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 วันที่ 5-6 ธันวาคม 2556 ณ ห้องข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่." เชียงใหม่: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  23. https://arch.kku.ac.th/pr/?p=5710
  24. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-28. สืบค้นเมื่อ 2019-03-12.
  25. 25.0 25.1 สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2558. "โครงการงานสถาปนิก’58 “ASA NEXT | ตัวตน คนไทย” เก็บถาวร 2019-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" ออนไลน์ (18 ตุลาคม 2562)
  26. http://www.komchadluek.net/news/edu-health/237703
  27. https://www.matichon.co.th/education/news_242542
  28. http://innoinspirebynia.com/face084/[ลิงก์เสีย]
  29. https://www.youtube.com/watch?v=90yZ30mEJuQ
  30. วนบุษป์ ยุพเกษตร. 2562. "นครสีเขียวและผู้พิทักษ์". คิด: Creative Thailand. 10 (4): 34
  31. http://www.saisawankhayanying.com/s-featured/lightning-talk-23-10-57/
  32. https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MTgwNTQ0&method=inline
  33. https://www.tuda.or.th/index.php/commissioner-of-architects-lan-na/
  34. "เวทีระดมความคิดเห็น 'บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่อความเป็นเมืองมรดกโลกของเชียงใหม่' เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2559". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-28. สืบค้นเมื่อ 2020-05-30.
  35. 35.0 35.1 "สวนป่า ในบรรยากาศโปร่งสบายน่ามอง". บ้านและสวน (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-08-27.
  36. 36.0 36.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-07. สืบค้นเมื่อ 2022-11-07.
  37. 37.0 37.1 37.2 37.3 https://archives.mju.ac.th/halloffame/?p=910
  38. 38.0 38.1 "เชียงใหม่ย้าย "ลำไยต้นแรกของไทย" อายุกว่า 100 ปี นำไปอนุรักษ์". mgronline.com. 2013-10-31.
  39. http://www.decorreport.com/a26312-inside-out-outside-in-1
  40. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-18. สืบค้นเมื่อ 2019-03-18.
  41. https://www.youtube.com/watch?v=_jXu074_IaM
  42. https://www.thairath.co.th/content/784902
  43. http://www.okmagazine-thai.com/digitalartmissuniverse2018/
  44. https://www.nineentertain.tv/view/5c173b6ee3f8e4e9070e499c[ลิงก์เสีย]
  45. "รายการ The Gardener คนรักสวน ตอน สวนไทยร่วมสมัย" ออกอากาศวันที่ 5 เมษายน 2558 ช่อง Amarin TV
  46. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-28. สืบค้นเมื่อ 2019-09-28.
  47. เมนาถ ธนลัษณมณี. 2560. พัฒนาการชุดประจำชาติของนางงามไทยในการประกวดนางงามจักรวาล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  48. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-25. สืบค้นเมื่อ 2019-03-18.
  49. http://oknation.nationtv.tv/blog/lovelyboard/2009/07/28/entry-6
  50. 50.0 50.1 50.2 50.3 Ekkarach Laksanasamrith. ม.ป.ป. "เขียวไข่กา + Artisan Cafe เท่ ดิบ ผ่อนคลายสไตล์อินดัสเทรียลลอฟท์" ใน Dsign Something.ออนไลน์ (30 พฤษภาคม 2563)
  51. 51.0 51.1 51.2 51.3 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-28. สืบค้นเมื่อ 2019-09-28.
  52. 52.0 52.1 52.2 https://www.ktc.co.th/en/ktcworld/travel-service/travel-story/Thailand/tba-season4-design
  53. 53.0 53.1 รวมแบบบ้านที่ได้รับรางวัล “10 บ้านน่าอยู่” ประจำปี 2019
  54. 54.0 54.1 https://www.ddproperty.com/ข่าวอสังหาริมทรัพย์-บทความ/2017/1/144073/oxote
  55. 55.0 55.1 https://www.tala.or.th/board_of_directors
  56. 56.0 56.1 https://architectureprize.com/winners/winner.php?id=4554&mode=hm&compID=12798
  57. 57.0 57.1 https://architectureprize.com/winners/winner.php?id=3268&mode=hm&compID=12794
  58. 58.0 58.1 https://www.facebook.com/nispdesign/photos/a.580089512032140/6748237261883970/
  59. 59.0 59.1 https://www.iameverything.co/contents/public-space-of-sos-pavilion
  60. https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MjI0OTU3&method=inline
  61. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-28. สืบค้นเมื่อ 2019-09-28.
  62. 62.0 62.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-28. สืบค้นเมื่อ 2019-09-28.
  63. http://www.daybedsmag.com/kiew-kai-ka-artisan-cafe-bkk/
  64. https://www.wongnai.com/reviews/3abff84506584680837b1ff82a706d5f
  65. 65.0 65.1 กรมการท่องเที่ยว. 2558. "The 2015 List of Certified Thailand Tourism Standard Companies Eco Lodging Standard (411)" เก็บถาวร 2019-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนออนไลน์ (28 กันยายน 2562)
  66. 66.0 66.1 http://1819studio.com/portfolio/1819/
  67. 67.0 67.1 https://design.museaward.com/winner-info.php?id=2237
  68. 68.0 68.1 "Winners 2021". LOOP Design Awards (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  69. 69.0 69.1 69.2 "Summer Lasalle". LOOP Design Awards (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  70. 70.0 70.1 "You are being redirected..." design.museaward.com.
  71. 71.0 71.1 "You are being redirected..." design.museaward.com.
  72. 72.0 72.1 "SUMMER LASALLE, Winner in Landscape Design/Private gardens". dna.paris.
  73. 73.0 73.1 "河北省林业和草原局第五届中国绿化博览会河北省展园概念性设计方案征集中标公告". www.ccgp.gov.cn.
  74. 74.0 74.1 "温州招商保利·天樾玺 - 设计类 - 园冶杯国际竞赛组委会 - Powered by Discuz!". www.yuanyebei.com.
  75. 75.0 75.1 "Facebook". www.facebook.com.
  76. 76.0 76.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-27. สืบค้นเมื่อ 2020-10-22.


แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!