คณะข้าหลวงปักปันเขตแดนไทย-พม่า

คณะข้าหลวงปักปันเขตแดนสยาม-พม่า
The Board of Commissioners demarcating the Burma–Siam border
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งพ.ศ. 2408
ยุบเลิกพ.ศ. 2411

คณะข้าหลวงปักปันเขตแดนไทย-พม่า ในช่วงปี พ.ศ. 2408 - 2410 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะข้าหลวงปักปันเขตแดน เพื่อดำเนินการร่วมสำรวจและชี้แนวเขตแดนของตนตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จนถึงจังหวัดระนอง

ประวัติ

ในปี พ.ศ. 2366 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประเทศอังกฤษเริ่มเข้ายึดหัวเมืองชายฝั่งทะเลของประเทศพม่า รวมทั้งตะนาวศรี มะริด และทวาย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของภาคตะนาวศรี พร้อมทั้งได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจทำแผนที่ เพื่อจะได้รู้จักสภาพภูมิประเทศ ทรัพยากร และขอบเขตของเมืองที่ตนยึดได้ เมื่อมาถึงทิวเขาตะนาวศรีจึงได้ทราบว่าฝั่งตะวันออกของทิวเขาตะนาวศรีเป็นอาณาเขตของประเทศไทย

ภายหลังในปี พ.ศ. 2408 จึงได้ส่งข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำประเทศอินเดียมาติดต่อกับรัฐบาลไทยเพื่อขอให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับพม่าของอังกฤษเป็นการถาวร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การปักปันเขตแดนไทย-พม่าอย่างเป็นทางการครั้งแรกของไทย ในการให้สัตยาบันครั้งนี้ถือเป็นการยอมรับอย่างเป็นทางการตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ว่าเมืองมะริด ทะวาย และตะนาวศรี เป็นดินแดนของประเทศพม่าที่อยู่ในบังคับของอังกฤษ นับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา

คณะข้าหลวงผู้มีอำนาจเต็ม

รับผิดชอบตั้งแต่เขตจังหวัดกาญจนบุรี ถึงจังหวัดระนอง ดังนี้

โดยฝ่ายไทยได้แต่งตั้ง

ฝ่ายอังกฤษได้แต่งตั้ง

เมื่อการสำรวจทำแผนที่ และทำบัญชีรายละเอียดเกี่ยวกับที่หมายเขตแดนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้มีการประชุมจัดทำอนุสัญญา (Convention) ขึ้นที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411 และได้มีการให้สัตยาบันกัน ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 ภายหลังจากฝ่ายไทยได้ตรวจสอบเห็นว่าแผนที่ "The Map of Tenasserim and the adjacent provinces of the Kingdom of Siam" ที่อังกฤษจัดทำขึ้นใหม่นั้นถูกต้องแล้ว นับแต่นั้นแนวพรมแดนระหว่างไทยพม่าตั้งแต่สบเมยถึงปากแม่น้ำกระบุรี จึงได้เปลี่ยนจากเส้นเขตแดนที่ยอมรับโดยพฤตินัย มาเป็นเส้นเขตแดนที่กำหนดขึ้นโดยอนุสัญญา บัญชีที่หมายเขตแดนแนบท้ายอนุสัญญา และแผนที่แนบท้ายอนุสัญญา

ในอนุสัญญา ได้ระบุเส้นเขตแดนตรงแม่น้ำกระบุรีว่า "...ตั้งแต่เขาถ้ำแดงตามเขาแดนใหญ่มาจนถึงปลายน้ำกระใน เป็นเขตแดนจนถึงปากน้ำปากจั่น ลำแม่น้ำเป็นกลาง เขตแดนฝ่ายละฟาก เกาะในแม่น้ำปากจั่นริมฝั่งข้างอังกฤษเป็นของอังกฤษ ริมฝั่งข้างไทยเป็นของไทย เกาะขวางหน้ามลิวันเป็นของไทย แม่น้ำปากจั่นฝั่งตะวันตกเป็นของอังกฤษ ตลอดจนถึงปลายแหลมวิคตอเรีย ฝั่งตะวันออกตลอดไปเป็นของไทยทั้งสิ้น..."

สรุปว่า ในครั้งนั้นกำหนดให้แม่น้ำเป็นกลาง ให้ฝั่งเป็นเขตแดน ฝั่งด้านตะวันตกเป็นของพม่า ฝั่งด้านตะวันออกเป็นของไทย สำหรับเกาะในแม่น้ำถ้าชิดฝั่งตะวันตกก็ให้เป็นของอังกฤษ ถ้าชิดฝั่งตะวันออกก็ให้เป็นของไทย สำหรับเกาะขวางให้เป็นของไทย

กล่าวได้ว่า ในการให้สัตยาบันครั้งนี้ถือเป็นการยอมรับอย่างเป็นทางการตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ว่าเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรี เป็นดินแดนของประเทศพม่าที่อยู่ในบังคับของอังกฤษ นับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา

เหตุการณ์หลังลงนาม

หลังวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 หลวงปักษี (คลุ้ม บ่วงราบ) นำกำลังเข้ายึดและปกครองเมืองมะริด ทะวาย และตะนาวศรี อย่างลับๆ ในช่วงอยู่การบังคับของอังกฤษ แต่ไม่ได้รับความร่วมมือจากคนไทยในเมืองมะริด ทะวาย และตะนาวศรี เห็นว่าการปกครองแบบอาณานิคมดีแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 จนถึงปี พ.ศ. 2467 สืบทอดทาญาติต่อด้วย ลับดับ 2 นายคุ้ม บ่วงราบ (เสือคุ้ม) หรือ สมพร ถูกนายแพ้ว ลูกน้องคนสนิทร่วมกันลอบสังหาร ในปี พ.ศ. 2489

เซอร์เจมส์ สก๊อตต์ ระบุว่า ประชากรสยามในมณฑลตะนาวศรีภายใต้จักรวรรดิอังกฤษมีประมาณ 19,631 คน คนสยามอาศัยอยู่ในอำเภอทวาย อัมเฮิสต์ และมะริด[1] กลุ่มคนสยามอาศัยอยู่ในเขตตะนาวศรีในช่วงนั้นตะนาวศรีมีฐานะเป็นมณฑล ประชากรปี พ.ศ. 2444 มีประมาณ 1,159,558 คน ประกอบด้วยคนพม่า กะเหรี่ยง มอญ ฉาน จีน และสยาม คนสยามอาศัยอยู่บริเวณพรมแดนทางตอนใต้ของพม่า โดยเฉพาะอำเภอมะริด อัมเฮิสต์ และทวาย[2] มะริดอยู่ใต้สุดของพม่า ในปี พ.ศ. 2444 มะริดมีประชากรประมาณ 88,744 คน ในจำนวนนี้มีคนสยามอาศัยอยู่ในตัวเมืองมะริดประมาณ 9,000 คน[3] มะริดในตอนต้นศตวรรศที่ 20 แบ่งการปกครองเป็น 5 ตำบล (Township) คือ มะริด ปะลอ (Palaw) ตะนาวศรี ปกเปี้ยน (Bokpyin)[4] และมะลิวัลย์ (Maliwun)[5] ปกเปี้ยนมีประชากร เมื่อปี พ.ศ. 2444 ราว 7,255 คน ร้อยละ 18 พูดภาษาพม่า ร้อยละ 53 พูดภาษาสยาม ร้อยละ 20 พูดภาษามลายู[6] ตำบลมะลิวัลย์มีประชากรประมาณ 7,719 คน ประกอบไปด้วยชาวสยาม ชาวจีน และมลายู และคนพม่าแทบหาไม่พบ[7] ตำบลตะนาวศรีตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของอำเภอมะริด และอยู่ติดแดนสยาม ประชากรปี พ.ศ. 2434 มีประมาณ 8,389 คน เพิ่มขึ้นเป็น 10,712 คน ในปี พ.ศ. 2444 ในจำนวนนี้ร้อยละ 40 พูดภาษาสยาม[8] เมืองสะเทิมอยู่ติดทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อาณาจักรมอญเดิม ปี พ.ศ. 2444 มีประชากร 343,510 คน ในจำนวนนี้มีชาวสยามประมาณ 10,000 คน[9]

ในหนังสือ Imperial Gazetteer of India ระบุว่าชาวสยามกระจายเป็นคนส่วนน้อยในอำเภออื่นของมณฑลตะนาวศรี เช่นอัมเฮิสต์ และทวาย ในอัมเฮิสต์ (ปัจจุบันคือเมืองไจก์กามี) สยามตั้งอาณานิคมขนาดเล็กของตน[10] ทวายปี พ.ศ. 2444 มีประชากรประมาณ 109,979 คน และเพียง 200 คนเท่านั้นที่แสดงตนเป็นคนสยาม[11]

รายนามนายกรัฐมนตรี ผู้ปกครองอาณานิคมสยามในเขตตะนาวศรี ภายใต้จักรวรรดิอังกฤษ

  • ลำดับ 1 หลวงปักษี (คลุ้ม บ่วงราบ) พ.ศ. 2411 - 2467
  • ลำดับ 2 นายคุ้ม บ่วงราบ หรือ สมพร พ.ศ. 2467 - 2489 ถูกนายแพ้ว อุ้ยนอง พร้อมพวกลูกน้องสังหาร ที่บ้านบ้องขอน
  • ลำดับ 3 นายแพ้ว อุ้ยนอง เสียชีวิตจากไข้มาเลเรีย
  • ลำดับ 4 นายชม นามวงศ์ หรือ พรานชม ถูกกองทัพพม่าโจมตีเข้าไทยทางด่านสิงขร
  • ลำดับ 5 นายชด ชมปุระ ถูกนายสร้วง ลอบสังหารกลางงานเลี้ยง
  • ลำดับ 6 นายหลง สักคุณี ก่อนปี พ.ศ. 2506 ถูกนายพันถอไซ ลอบสังหารที่บ้านนามะพร้าว
  • ลำดับ 7 นายสร้วง ประสมชิด พ.ศ. 2507 ถูกลูกน้องลอบสังหารที่บ้านเกิดในอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
  • ลำดับ 8 นายพันถอไซ เริ่มปกครอง พ.ศ. 2508 หัวหน้ากลุ่มกะเหรี่ยงเสรี ออกจากราชการตำรวจพม่าจัดตั้งใหม่ เข้าปกครองแต่คนไทยบางส่วนยังไม่กลับเข้าประเทศไทย
  • ลำดับ 9 นายบาเฮา บุตร นายพันถอไซ การปกครองสิ้นสุด พ.ศ. 2535

อาณานิคมสยามในเขตตะนาวศรี ในจักรวรรดิอังกฤษ[12] ได้รับเอกราชแล้ว เช่นเดียวกับประเทศมาเลเชีย ประเทศสิงคโปร์ แต่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ขอความร่วมมือตีย่างกุ้งกับกองทัพญี่ปุ่น ทำให้อังกฤษและพม่าไม่พอใจ ในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลพม่าได้ระดมกำลังทหารเข้ายึดและปกครองเมืองมะริด ทะวาย และตะนาวศรี ต่อมาได้มีการกวาดล้างชนกลุ่มน้อยจนทำให้กะเหรี่ยงเสรีต้องอยู่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ส่วนคนไทยต้องอพยพเข้าประเทศไทยตั้งแต่นั้นมา และผู้อพยพกลับหลังจาก พ.ศ. 2520 จะเป็นคนไทยไม่มีบัตรประชาชน หรือ ที่เรียกว่า ไทยพลัดถิ่นในเขตตะนาวศรี, เขตตะนาวศรี

รายนามผู้ปกครองอาณานิคมสยามในเขตตะนาวศรี ในจักรวรรดิอังกฤษ ผู้ปกครองทั้งหมดมีทายาทอยู่ในตำบลสลุย เดิมก่อนแยกเป็น ตำบลหงษ์เจริญ ตำบลสลุย ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ในปัจจุบัน เพราะเป็นดินแดนตรงกันผ่านช่องทาง ด่านทัพต้นไทร (เนิน 491)[13]

อ้างอิง

  1. Scott 1999: 115
  2. Imperial Gazetteer of India 23: 278-279
  3. Imperial Gazetteer of India 17: 293-299
  4. ปกเปี้ยน บางทีอ่านบกเปี้ยน และบางครั้งเรียกว่าบอกแปง
  5. มะลิวัลย์ พม่าเรียกมะลิยุน สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพเรียกมะลิวัน
  6. Imperial Gazetteer of India 8:263
  7. Imperial Gazetteer of India 17: 90-91
  8. Imperial Gazetteer of India 17: 298
  9. Imperial Gazetteer of India 17: 298
  10. Imperial Gazetteer of India 5:297
  11. Imperial Gazetteer of India 23:262
  12. Imperial Gazetteer of India 5:297
  13. บ้านต้นไทร บันทึกตระกูลขุนไกร นายอากร แห่งราชอาณาจักรอยุธยาปลาย

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!