ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์)


ขุนทวยหาญพิทักษ์
เกิด22 ธันวาคม พ.ศ. 2425
เมืองธนบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต16 มีนาคม พ.ศ. 2502 (76 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
อาชีพทหารบกแพทย์
มีชื่อเสียงจากคณะ ร.ศ. 130
คู่สมรสอบ ศรีจันทร์
ระเบียบ ศรีจันทร์
อ่อน ศรีจันทร์
วิศรี ศรีจันทร์
บุตร20 คน

ร้อยเอก นายแพทย์ ขุนทวยหาญพิทักษ์ (22 ธันวาคม พ.ศ. 2425 - 16 มีนาคม พ.ศ. 2502) มีชื่อจริงว่า นายแพทย์เหล็ง ศรีจันทร์ หรือชื่อที่นิยมเรียกกันติดปากว่า หมอเหล็ง เป็นนายทหารหัวหน้าคณะผู้ก่อการกบฏ ร.ศ. 130[1] เป็นนายทหารหนุ่มที่เป็นนายแพทย์ประจำโรงเรียนนายร้อยทหารบก และเป็นแพทย์ประจำพระองค์สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ และหม่อมคัทรีน พระชายา

ประวัติ

ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2425 ที่ตำบลบ้านสมเด็จพระเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี สำเร็จการศึกษาเบื้องต้นที่วัดประยุรวงศาวาส เมื่ออายุ 15 ปี ได้เข้าศึกษาวิชาแพทย์ที่โรงเรียนแพทยาลัยในสังกัดโรงพยาบาลศิริราช หลังสำเร็จการศึกษาไปเป็นแพทย์ฝึกหัดที่โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ก่อนไปเป็นนายแพทย์ตรีประจำโรงเรียนนายร้อยทหารบก ระหว่างนี้ได้เข้าศึกษาวิชาทหาร เป็นนักเรียนนายร้อยสำรอง จนสอบได้เป็นนายร้อยตรี สังกัดพลรบทหารราบ เป็นแพทย์ทหาร และได้เลื่อนยศมาเป็นลำดับจน พ.ศ. 2453 ได้รับยศและบรรดาศักดิ์เป็น ร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ และเป็นผู้บังคับกองพยาบาลโรงเรียนนายทหารบก[2]

ชีวิตครอบครัว

ขุนทวยหาญพิทักษ์ มีภรรยาทั้งหมด 4 คน นางอบ ศรีจันทร์ มีบุตร 5 คน, นาง ระเบียบ ศรีจันทร์ มีบุตร 8 คน, นางอ่อน ศรีจันทร์ มีบุตร 5 คน, นางวิศรี ศรีจันทร์ มีบุตร 2 คน (หมอเหล็ง มีบุตร-ธิดา รวมกันทั้งสิ้น 20 คน)[3]

บทบาททางการเมือง

ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ มีความมุ่งหมายจะให้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (เรียกด้วยภาษาในสมัยนั้นว่า ลิมิเต็ดมอนากี้) การปฏิวัติครั้งนั้นล้มเหลว เพราะข่าวรั่วเสียก่อน คณะผู้ก่อการถูกรวบตัวหมด ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2467 จึงได้รับการพระราชทานอภัยโทษมาทั้งหมด

ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ ประกอบอาชีพเป็นแพทย์ ภายหลังได้รับพระราชทานอภัยโทษ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ยังดำเนินกิจการมาจนถึงปัจจุบัน คือ ผงหอมศรีจันทร์ และเป็นแพทย์ผู้ที่ทำคลอดนายสมัคร สุนทรเวช เมื่อปี พ.ศ. 2478 ซึ่งต่อมากลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 [4] บ้านพักของ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ ปัจจุบันอยู่ในซอยที่เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ ซอยหมอเหล็ง ถนนราชปรารภ ใกล้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งเป็นบ้านพักของนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีคนที่ 20 [2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ณัฐนันท์ สอนพรินทร์. เจาะลึก สมาคมลับ กับการปฏิวัติโลก. กรุงเทพ : อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์, พ.ศ. 2550. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7489-88-0
  2. 2.0 2.1 "หมอมี หมอชิต หมอเหล็ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-21. สืบค้นเมื่อ 2016-04-01.
  3. "50 คนดังนอกตำรา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-06. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
  4. คุณหมอนักปฏิวัติ : จากหมอซุนยัตเซน ถึงหมอเหล็ง ศรีจันทร์ และหมออัทย์ หะสิตะเวช / ณัฐพล ใจจริง มติชนสุดสัปดาห์ สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2564
  5. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!