กุมภกรรณ (สันสกฤต: कुम्भकर्ण, กุมฺภกรฺณ) มี 4 หน้า 2 มือ เป็นโอรสของท้าวลัสเตียนและนางรัชฎา มีศักดิ์เป็นน้องของทศกัณฐ์ มีกายสีเขียว มีอาวุธร้ายประจำกายคือหอกโมกขศักดิ์ที่ฝากไว้กับพระพรหม เหตุที่ชื่อกุมภกรรณ (หูหม้อ) นั้นเพราะมีร่างกายใหญ่โตมาก สามารถเอาหม้อใส่ใบหูได้
กุมภกรรณเป็นยักษ์ที่ตั้งมั่นในศีลธรรม เคยทัดทานทศกัณฐ์ให้นำนางสีดาคืนพระราม แต่ถูกทศกัณฐ์โกรธมากและเกือบถูกขับไล่ออกจากเมืองเช่นเดียวกับพิเภก จึงต้องจำใจออกรบช่วยทศกัณฐ์เพราะเห็นแก่ความเป็นพี่น้อง กุมภกรรณได้แสดงความสามารถในการรบจนทำให้ทัพพระรามเดือดร้อนอยู่หลายครั้ง ได้แก่ วางอุบายลวงสุครีพถอนต้นรัง ทำพิธีลับหอกโมกขศักดิ์ แต่ถูกหนุมานและองคตทำลายพิธี รบกับพระลักษมณ์และพุ่งหอกโมกขศักดิ์ถูกพระลักษมณ์จนเกือบสิ้นชีวิต ทำพิธีทดน้ำให้กองทัพพระรามอดน้ำตาย แต่ถูกหนุมานทำลายพิธี สุดท้ายกุมภกรรณสู้รบกับพระราม เพลี่ยงพล้ำถูกศรพระรามฆ่าตาย ก่อนตายได้เห็นพระรามปรากฏเป็นพระนารายณ์ จึงขอขมาให้พระรามอโหสิกรรมให้และสั่งเสียให้พิเภกจงรักภักดีต่อพระราม หลังจากกุมภกรรณสิ้นชีพแล้ว ได้ไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์
คำบริภาษของกุมภกรรณ
เมื่อกุมภกรรณออกรบกับพระรามนั้น ได้ตั้งปริศนาถามพระรามไว้บอกว่าถ้าพระรามตอบได้จะยอมเลิกทัพกลับ ปริศนาถามว่า ชีโฉด หญิงโหด ช้างงารี ชายทรชน สี่อย่างนี้คืออะไร พระรามตอบไม่ได้จึงใช้องคตมาถาม กุมภกรรณจึงเฉลยว่า
- ชีโฉด คือ พระรามที่เพื่อแย่งชิงนางสีดากลับ ถึงกับยกทัพใหญ่มาทำการวุ่นวาย ทำให้คนบริสุทธิ์มากมายเดือดร้อน
- หญิงโหด คือ นางสำมะนักขาที่คิดเอาพระรามเป็นสามี พอไม่ได้ก็และยุยงให้พี่น้องมารบกับพระรามจนเกิดเรื่อง
- ช้างงารี คือ ทศกัณฐ์ที่เกะกะอันธพาล ไปแย่งเมียคนอื่น
- ชายทรชน คือ พิเภกที่ไม่รู้จักบุญคุณพี่น้อง ไปบอกความลับของฝ่ายลงกาแก่ศัตรู เหมือนแกล้งฆ่าพี่น้องทุกคน
คำบริภาษนี้เป็นของปราชญ์ไทยแต่งขึ้นโดยไม่มีในรามายณะต้นฉบับ ได้เป็นคำบริภาษทุกฝ่ายอย่างยุติธรรมตามมุมมองของกุมภกรรณ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นมุมมองของกวีที่สอดแทรกไว้ก็ได้
บทบาทในรามายณะ
ในรามายณะ เรียกกุมภกรรณ ว่า "กุมภะกรณะ" (Kumbhakarna) โดยเป็นบุตรของฤาษีวิศวรวะ (Vishrava) หลานของฤาษีปุลัสตยะ (Pulastya) กับนางไกกะษี (Kaikasi) เป็นหนึ่งใน 4 พี่น้องร่วมอุทรเดียวกันกับ ราวณะ (Ravana) วิภีษณะ (Vibhishana) และ ศูรปณขา(Surpanakha)[1]
กุมภกรรณในรามายณะเป็นคนซื่อสัตย์เที่ยงธรรมคล้ายกุมภกรรณในรามเกียรติ์ แต่ในรามายณะกุมภกรรณได้เคยขอพรพระพรหมให้ตนเองมีสภาพคล้ายพระวิษณุ คือ นอนหลับอยู่เป็นเวลานานถึง 6 เดือน จึงตื่นขึ้นมา และหยั่งรู้ความเป็นไปของโลกในการนอนหลับนั้น ดังนั้น เมื่อทศกัณฐ์ปลุกกุมภกรรณให้ไปรบกับพระรามนั้น กุมภกรรณย่อมรู้ว่าพระรามนั้นที่แท้คือพระวิษณุและตนไม่มีทางรบชนะเด็ดขาด แต่ด้วยหน้าที่ของการเป็นทหาร กุมภกรรณยังคงตัดสินใจไปรบโดยทูลทศกัณฐ์ว่า ถ้าตนตายในการรบก็ขอให้ทศกัณฐ์ยอมแพ้เสีย เพราะถ้าตนรบชนะไม่ได้ก็ย่อมไม่มีใครในลงการบชนะพระรามได้
เมื่อกุมภกรรณอยู่ในสนามรบ ได้สู้รบกับทัพของพระรามอย่างกล้าหาญ โดยทำลายทหารวานรไปเกือบ 8,000 นาย ในท้ายที่สุด กุมภกรรณะก็ต้องศรอินทราสตระ และศรวายวาสตระ ตัดแขนทั้งสองข้างและร่างกายลงสู่ทะเล และศรพรหมาสตระตัดศีรษะของกุมภกรรณลอยไปตกยังตรงหน้าของราวณะ สิ้นชีวิตลงในที่สุด
โคลงภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
รูปราพตนนี้ชื่อ
|
|
ปรากฏ นามเอย
|
กุมภกรรฐอนุชทศ
|
|
ภักตรท้าว
|
เป็นอุปราชเรืองยศ
|
|
ผิวพิศ เขียวแฮ
|
ทรงหอกโมกขศักดิ์ห้าว
|
|
มหิศเหี้ยมหาญณรงค์
|
— ขุนพิสนทสังฆกิจ(ตัวสะกดตามต้นฉบับเดิม)
|
ลักษณะและสี
กายสีเขียวสด 1 หน้า 2 มือ สวมกระบังหน้า
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
เรื่องราวการทำพิธีทดน้ำของกุมภกรรณถูกนำไปสร้างเป็นเพลง กุมภกรรณทดน้ำ ขับร้องโดย ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
อ้างอิง
- ↑ "Vishrava", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2024-07-08, สืบค้นเมื่อ 2024-11-05
- สี ลักษณะหัวโขน และประวัติสังเขปของตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ นาย ประพันธ์ สุคนธชาติ รวบรวม
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
|
ฉบับ | |
---|
ตัวละคร | มเหศวรพงศ์ | |
---|
พงศ์นารายณ์ | |
---|
พรหมพงศ์และอสุรพงศ์ | |
---|
วานรพงศ์ | |
---|
ฤาษีและคนธรรพ์ | |
---|
|
---|