กินรีและกินนรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในกรุงเทพมหานคร
กินนร หรือ กินรี เป็นสิ่งมีชีวิตนักดนตรีครึ่งมนุษย์ครึ่งนกในศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ ปรากฏเครื่องดนตรีโบราณของอินเดียที่เรียกว่ากินรีวีณา และปรากฏใน อาทิปรวะ ของมหาภารตะ [ 1] และเชื่อว่าอาศัยอยู่บนหิมาลัย
ในเอกสารของศาสนาพุทธ ปรากฏทั้งในชาดก และสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ในธรรมเนียมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เชื่อว่ากินนรและกินรีอาศัยอยู่ในหิมพานต์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการร่ายรำ ดนตรี และกวี ส่วนในธรรมเนียมเอเชียตะวันออก นักวิชาการ เอ็ดเวิร์ด เอช. ชัฟเฟอร์ ระบุว่ากินนรมักสับสนกับการเวก ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตครึ่งมนุษย์ครึ่งนกเช่นกัน แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับกินนร[ 2]
ไทย
ในวัฒนธรรมของไทยมักปรากฏการกล่าวถึงกินรีมากกว่ากินนร โดยกินรีได้รับมาจากตำนานของอินเดีย กินรีแบบไทยมีลักษณะสวมเครื่องแต่งกายแบบเทวดาไทย ช่วงล่างคล้ายนก และสามารถบินไปมาระหว่างโลกมนุษย์และหิมพานต์ได้ กินรีที่เป็นรูปแบบนิยมที่สุดของไทยคือรูปปั้นกินรีทองที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในกรุงเทพมหานคร[ 3]
มโนรา เป็นกินรีตนที่เป็นที่รู้จักมากของไทย[ 4] เป็นตัวละครจากปัญญาสชาดก เขียนราว ค.ศ. 1450–1470[ 5]
พม่า
กินนรบนธงของรัฐกะยา
กินนรในพม่าเรียกว่า เกนนะยา (ကိန္နရာ , [kèɪ̯ɰ̃.nə.jà] ) ส่วนกินรีเรียกว่า เกนนะยี (ကိန္နရီ [kèɪ̯ɰ̃.nə.jì] ) ในภาษาไทใหญ่ คือ กิ่งนะหร่า (ၵိင်ႇၼရႃႇ , [kìŋ.nǎ.ràː] ) กับ กิ่งนะหรี่ (ၵိင်ႇၼရီႇ , [kìŋ.nǎ.rì] ) ตามลำดับ ธรรมเนียมพุทธแบบพม่าเชื่อว่าในบรรดา 136 อดีตชาติของพระพุทธเจ้า มี 4 ชาติที่เคยประสูติเป็นกินนร
ในวัฒนธรรมร่วมสมัยของพม่าปรากฏรางวัลเมียนมาร์อะคาเดมี เป็นรูปปั้นของกินนร[ 6] คู่กินนรกับกินรีถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของชาวกะยา [ 7]
กัมพูชา
ในกัมพูชา เรียกกินนรในภาษาเขมรว่า kenar (កិន្នរ , កិន្នរា ; สัทอักษรสากล: [keˈnɑː] หรือ สัทอักษรสากล: [ken nɑ ˈraː] ) ส่วนกินรีคือ kinnari (កិន្នរី ; สัทอักษรสากล: [ken nɑ ˈrəj] ) ซึ่งปรากฏในวรรณกรรมของเขมรมากกว่ากินนร ถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความงามและการร่ายรำ[ 8]
อินโดนีเซีย
กรากฏประติมากรรมกินนรคู่กินรีที่บุโรพุทโธ และปรัมบานัน ในรูปของนกที่มีศีรษะเป็นมนุษย์ มักปรากฏอยู่ปกป้องต้นกาลปาตารู หรือแม้แต่ไหสมบัติ[ 9] นอกจากนี้ที่บุโรพุทโธยังปรากฏกินรีในชาดก มโนราห์ [ 10]
อ้างอิง
↑
Ghosh, Subodh (2005). Love stories from the Mahabharata, transl. Pradip Bhattacharya . New Delhi: Indialog. p. 71
↑ Schafer, Edward H. (1963). The Golden Peaches of Samarkand: A Study of Tʻang Exotics . University of California Press. p. 103 .
↑ Nithi Sthapitanond; Brian Mertens (2012). Architecture of Thailand: A Guide to Tradition and Contemporary Forms . Editions Didier Millet. ISBN 9789814260862 .
↑ Schiefner, Anton; Ralston, William Shedden. Tibetan tales, derived from Indian sources . London, K. Paul, Trench, Trübner & co. ltd. 1906. pp. xlviii-l and 44-74.
↑ Reeja Radhakrishnan (2015). The Big Book of World Mythology . Penguin UK. ISBN 9789352140077 .
↑ "Archived copy" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 25 September 2010. สืบค้นเมื่อ 1 September 2010 .{{cite web }}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์ )
↑ "Archived copy" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 22 August 2007. สืบค้นเมื่อ 1 September 2010 .{{cite web }}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์ )
↑ Headley, Robert K. (1997). Modern Cambodian-English Dictionary, Dunwoody Press
↑ "Pawon" . National Library of Indonesia, Temples of Indonesia . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-10-16. สืบค้นเมื่อ 2021-08-27 .
↑ Miksic, John (2012). Borobudur: Golden Tales of the Buddhas . Tuttle Publishing. ISBN 9781462909100 .