กำยาน (พืช)

กำยาน
Styrax platanifolius
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophyta
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: แอสเทอริด
Asterids
อันดับ: อันดับกุหลาบป่า
วงศ์: Styracaceae
สกุล: Styrax

L.
Species

About 130, see text

ชื่อพ้อง

Pamphilia Mart. ex A. DC.[ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง]

กำยาน (ชื่อสามัญ Styrax tonkinensis Craib ex Hartwich) จัดเป็นไม้ไม้ยืนต้นวงศ์ STYRACACEAE กระจายพันธุ์ทั่วไปในแถบเขตร้อน เช่น แหลมมลายู เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบอนิโอ และในประเทศไทย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กำยานเป็นไม้ยืนสูงประมาณ 10-20 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวเทาหรือสีหม่น ตามกิ่งก้านมีขนสีเหลืองเล็กน้อย กระจายพันธุ์ทั่วไปในแถบเขตร้อน เช่น แหลมมลายู เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบอนิโอ และในประเทศไทย

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียบสลับ ใบเป็นรูปไข่ยาวเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย แผ่นใบมีขนสีขาวเล็กน้อย

ดอกออกเป็นกระจุก หรือเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกเป็นสีชมพูแดง หรือสีขาว มีกลีบ 5 กลีบ ด้านในของดอกจะเป็นสีชมพูถึงสีแดงเข้ม ด้านนอกเป็นสีขาว

ผลเป็นรูปไข่หรือกลมเล็กน้อย ผิวแข็งมีสีน้ำตาล มีขนขึ้นประปราย ภายในผลมีเมล็ด 1-2 เมล็ด[1]

การนำไปใช้ประโยชน์

1. ยางใช้เผาเอาควันอบห้อง จะช่วยฆ่าเชื้อโรคในอากาศ เป็นยาไล่ยุง ไล่ริ้นไร มดและแมลงได้

2. กำยานมีประสิทธิภาพเป็นยากันบูดได้ จึงมักถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณเพื่อวัตถุประสงค์ในการแต่งกลิ่นและกันบูด

3. ใช้ปรุงน้ำอบไทย โดยการเผากำยานบนก้อนถ่านที่ไฟลุกแดง แล้วใช้อบ เช่น อบน้ำดอกไม้ น้ำที่อบกำยานแล้วโบราณจะนำมาปรุงกับเครื่องหอมอื่น ๆ ทำเป็นน้ำอบไทย นอกจากนี้ยังใช้กำยานเป็นส่วนประกอบสำคัญของเทียนอบ ธูปหอม กระแจะ เครื่องหอมอื่น ๆ และยังใช้ทำเครื่องสำอางได้อีกด้วย

4. เนื่องจากกำยานสามารถต้านการสลายตัวของไขมันต่าง ๆ ได้ดี มันจึงถูกนำมาใช้ผสมกับไขมันที่ใช้เป็นยาพื้นสำหรับเตรียมยาขี้ผึ้งต่าง ๆ

5. ในปัจจุบัน การบำบัดรักษาสุขภาพด้วยกลิ่นหอมหรืออโรมาเธอราพี (Aromatherapy) กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และหนึ่งในกลิ่นหอมที่ถูกนำมาใช้กันมากก็คือ กำยาน นั่นเอง ซึ่งสามารถช่วยลดความเครียด ผ่อนคลายความวิตกกังวล และทำให้รู้สึกสบายใจขึ้น

6. เนื้อไม้ใช้ในการสร้างบ้านหรือที่พักชั่วคราว และใช้ทำฟืน

7. ยางใช้ผสมกับขี้ผึ้ง ใช้เป็นยาทาแก้โรคเชื้อรา ช่วยฆ่าเชื้อรา แก้น้ำกัดเท้า ใช้ทาแผล บ้างใช้ผสมกับแอลกอฮอล์ นำมาใส่แผลสด แผลน้ำกัด และช่วยแก้อาการคัน

8. เปลือกของลำต้น แก้ไข้ ระงับปวด ตำพอก ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย[2]

อ้างอิง

  1. "กำยาน สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน)". สืบค้นเมื่อ 2024-04-17.
  2. "กำยาน อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา". สืบค้นเมื่อ 2024-04-17.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!