ในทางคณิตศาสตร์ การหารด้วยศูนย์ หมายถึงการหาร ที่มีตัวหารเท่ากับ 0 ซึ่งอาจสามารถเขียนอยู่ในรูปเศษส่วน
a
0
{\displaystyle \textstyle {\frac {a}{0}}}
โดยที่ a เป็นตัวตั้ง ค่าของนิพจน์ นี้จะมีความหมายหรือไม่ขึ้นอยู่กับบทตั้งทางคณิตศาสตร์ที่เป็นบริบท แต่โดยทั่วไปในเลขคณิต ของจำนวนจริง นิพจน์ดังกล่าวไม่มีความหมาย
สำหรับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การหารด้วยศูนย์ในจำนวนเต็ม อาจทำให้โปรแกรม เกิดข้อผิดพลาดจนหยุดทำงาน หรือในกรณีของจำนวนจุดลอยตัว อาจให้ผลลัพธ์เป็นค่าพิเศษที่เรียกว่าค่าไม่ใช่จำนวน (อังกฤษ : Not a Number ) หรือ NaN
การแปลความหมายในเลขคณิตมูลฐาน
การหารในระดับพื้นฐานอธิบายได้ว่า เป็นการแบ่งเซต ของวัตถุออกเป็นส่วน ๆ ที่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น ถ้ามีแอปเปิล 10 ผล และต้องการแบ่งให้คน 5 คนเป็นจำนวนเท่ากัน ดังนั้นแต่ละคนจะได้รับแอปเปิล
10
5
{\displaystyle \textstyle {\frac {10}{5}}}
= 2 ผล เป็นต้น
ใช้ปัญหาเดียวกันนี้อธิบายการหารด้วยศูนย์ คือถ้ามีแอปเปิล 10 ผล แล้วจะแบ่งให้คน คนละ 0 ผล แล้วหาว่าจะสามารถแบ่งให้ "คน" ได้ทั้งหมดกี่คน การคำนวณเพื่อหาค่า
10
0
{\displaystyle \textstyle {\frac {10}{0}}}
จะกลับกลายเป็นไม่มีความหมาย เพราะตัวปัญหาเองก็ไม่มีความหมายเช่นกัน เพราะการแจกแอปเปิลให้ "คน" คนใด คนนั้นก็จะไม่ได้รับแอปเปิล (แจกให้คนละ 0 ผล) หรือสามารถแจกให้คนได้อนันต์ เพราะแอปเปิลที่จะแจก ย่อมไม่มีวันหมด นี่เป็นเหตุผลที่เลขคณิตมูลฐานกำหนดให้การหารด้วยศูนย์ไม่มีความหมาย หรือไม่นิยาม
อีกทางหนึ่งที่สามารถใช้อธิบายการหารได้นั่นคือการลบ ซ้ำกันไปเรื่อย ๆ ซึ่งการหารด้วยวิธีนี้จะเป็นการลบตัวตั้งด้วยตัวหารหลาย ๆ ครั้งจนกว่าตัวตั้งจะมีค่าน้อยกว่าตัวหาร และอาจเหลือเศษจากการหาร อยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น การหาร 13 ด้วย 5 เราสามารถนำ 5 ไปลบออกจาก 13 จำนวน 2 ครั้ง และจะเหลือเศษเท่ากับ 3 ซึ่งสามารถสรุปเป็น
13
5
{\displaystyle \textstyle {\frac {13}{5}}}
= 2 เศษ 3 แต่ในกรณีที่ตัวหารเป็น 0 ถึงแม้จะลบตัวตั้งไปถึงอนันต์ครั้ง ก็ยังไม่สามารถทำให้ตัวตั้งมีค่าน้อยกว่าตัวหารได้ ดังนั้นการหารด้วยศูนย์จึงไม่นิยาม
ความพยายามในอดีต
ตำรา พรัหมสผุฏะ สิทธานตะ (Brahmasphuta-siddhanta ) เขียนโดยพรัหมคุปตะ (Brahmagupta ) (ค.ศ. 598 - 668 ) ซึ่งเป็นตำราเล่มแรกสุดที่ค้นพบ ที่กำหนดให้เลข 0 เป็นตัวเลขพิเศษ เพื่อที่จะนิยามการกระทำทางเลขคณิตที่เกี่ยวข้องกับ 0 โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามพรัหมคุปตะก็ประสบความล้มเหลวในความพยายามที่จะอธิบายการหารด้วยศูนย์ เพราะคำนิยามของเขาสามารถพิสูจน์ได้ง่ายและนำไปสู่ความผิดพลาด ดังข้อความที่ยกมา
"...จำนวนบวกและลบที่หารด้วยศูนย์ ได้ผลลัพธ์เป็นเศษส่วนที่มีศูนย์เป็นตัวส่วน ศูนย์ที่หารด้วยจำนวนบวกหรือลบ ได้ผลลัพธ์เป็นศูนย์ หรือเศษส่วนที่มีศูนย์เป็นตัวเศษและจำนวนนั้นเป็นตัวส่วน อย่างใดอย่างหนึ่ง ศูนย์ที่หารด้วยศูนย์ ได้ผลลัพธ์เป็นศูนย์..."
ใน ค.ศ. 830 มหวิระ (Mahavira ) พยายามที่จะแก้ข้อผิดพลาดของพรัหมคุปตะแต่ก็ไม่สำเร็จ ซึ่งในหนังสือ คณิตะ สาระ สังครหะ กล่าวไว้ว่า
"...ตัวเลขหนึ่งๆ จะมีค่าไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อหารด้วยศูนย์..."
ในเวลาต่อมาภาสกะระที่ 2 (Bhāskara II ) (ค.ศ. 1114 - 1185 ) พยายามที่จะแก้ปัญหานี้โดยการนิยามให้
n
0
=
∞ ∞ -->
{\displaystyle \textstyle {\frac {n}{0}}=\infty }
ซึ่งนิยามนี้สามารถมีความเป็นไปได้ แต่ก็อาจนำไปสู่ปฏิทรรศน์ หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ซึ่งปฏิทรรศน์เหล่านั้นก็ยังไม่สามารถแก้ได้จวบจนถึงปัจจุบัน[ 1] (ดูตัวอย่างที่หัวข้อลิมิต)
การแปลความหมายในพีชคณิต
สิ่งหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับในหมู่นักคณิตศาสตร์ด้วยกันว่า วิธีธรรมดาที่สุดที่จะใช้อธิบายความหมายของการหารด้วยศูนย์ คือการนิยามการหารด้วยการกระทำทางเลขคณิต กฎเกณฑ์พื้นฐานของเลขคณิตคือจำนวนเต็ม จำนวนตรรกยะ จำนวนจริง และจำนวนเชิงซ้อน ซึ่งภายใต้กฎเกณฑ์ดังกล่าวการหารด้วยศูนย์จะไม่ถูกนิยาม และจะต้องคงไว้อยู่อย่างนั้นในระบบคณิตศาสตร์ใดๆ เพื่อให้เป็นกฎเกณฑ์ที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในฟีลด์ เหตุผลคือการหาร ถูกนิยามให้เป็นอินเวิร์สของการคูณ นั่นหมายความว่า ค่าของ
a
b
{\displaystyle \textstyle {\frac {a}{b}}}
จะมีค่าเท่ากับคำตอบของ x ในสมการ bx = a ตราบใดที่ค่านั้นยังคงมีคำตอบและมีเพียงหนึ่งเดียว นอกเหนือจากนั้นจะปล่อยให้เป็นไม่นิยาม
หากกำหนดให้ b = 0 ในสมการ bx = a จะสามารถเขียนเป็น 0x = a หรือ 0 = a ดังนั้นสมการ bx = a ในกรณีนี้จึง (1) ไม่มีคำตอบเมื่อ a ไม่เท่ากับ 0 และ (2) มีคำตอบของสมการเป็นค่า x ใดๆ เมื่อ a เท่ากับ 0 ในกรณีดังกล่าวไม่มีค่าใดที่เป็นหนึ่งเดียว ดังนั้น
a
b
{\displaystyle \textstyle {\frac {a}{b}}}
จึงไม่นิยาม และในทางกลับกัน นิพจน์
a
b
{\displaystyle \textstyle {\frac {a}{b}}}
จะถูกนิยามว่า b ต้องมีค่าไม่เท่ากับ 0 เสมอ
เหตุผลวิบัติที่เกิดจากการหารด้วยศูนย์
เราสามารถปลอมแปลงกรณีพิเศษของการหารด้วยศูนย์ด้วยความขัดแย้งทางพีชคณิต โดยใช้การพิสูจน์ที่ไม่สมเหตุสมผล ว่า 1 = 2 ดังตัวอย่างต่อไปนี้
เริ่มต้นด้วยสมมติฐานที่ว่า
0
× × -->
1
=
0
{\displaystyle 0\times 1=0}
0
× × -->
2
=
0
{\displaystyle 0\times 2=0}
ดังนั้นสมการต่อไปนี้ต้องเป็นจริง
0
× × -->
1
=
0
× × -->
2
{\displaystyle 0\times 1=0\times 2}
จากนั้นนำศูนย์ไปหารทั้งสองข้างของสมการ
0
0
× × -->
1
=
0
0
× × -->
2
{\displaystyle \textstyle {\frac {0}{0}}\times 1={\frac {0}{0}}\times 2}
ตัดทอนผลลัพธ์สุดท้าย จะได้
1
=
2
{\displaystyle 1=2\,}
เหตุผลวิบัติ (fallacy) อยู่ที่การตั้งสมมติฐานที่ไม่สมบูรณ์ ว่าการหารด้วยศูนย์ทำให้
0
0
{\displaystyle \textstyle {\frac {0}{0}}}
เท่ากับ 1
คนทั่วไปอาจรับรู้ได้ง่ายว่าการพิสูจน์ข้างต้นนั้นไม่สมเหตุสมผล สำหรับความขัดแย้งเดียวกันนี้สามารถนำเสนอให้อยู่ในรูปแบบอื่นซึ่งทำให้ยากขึ้นต่อการชี้จุดข้อผิดพลาด ดังเช่นตัวอย่างนี้ ถ้าเปลี่ยน 1 ให้เป็น x แล้วค่าของ 0 จะซ่อนอยู่ในนิพจน์ x - x และค่าของ 2 ก็จะซ่อนอยู่ในนิพจน์ x + x จากตัวอย่างด้านบนจึงสามารถเขียนให้อยู่ในอีกรูปแบบหนึ่งได้ดังนี้
(
x
− − -->
x
)
x
=
x
2
− − -->
x
2
=
0
{\displaystyle (x-x)x=x^{2}-x^{2}=0\,}
(
x
− − -->
x
)
(
x
+
x
)
=
x
2
− − -->
x
2
=
0
{\displaystyle (x-x)(x+x)=x^{2}-x^{2}=0\,}
ดังนั้น
(
x
− − -->
x
)
x
=
(
x
− − -->
x
)
(
x
+
x
)
{\displaystyle (x-x)x=(x-x)(x+x)\,}
หารด้วย
x
− − -->
x
{\displaystyle x-x\,}
ทั้งสองข้างของสมการ
x
=
x
+
x
{\displaystyle x=x+x\,}
จากนั้นหารด้วย
x
{\displaystyle x\,}
ทั้งสองข้าง จะได้
1
=
2
{\displaystyle 1=2\,}
พีชคณิตนามธรรม
แนวความคิดที่ใช้กับเลขคณิตพื้นฐาน มีความคล้ายกันกับโครงสร้างเชิงพีชคณิตทั่วไป เช่นในเรื่องของริง และฟีลด์ ในฟีลด์หนึ่งๆ องค์ประกอบทุกอย่างที่ไม่เป็นศูนย์จะสามารถอินเวิร์สได้ภายใต้การคูณ ดังนั้นการหารจึงเป็นปัญหาอยู่ที่การหารด้วยศูนย์เท่านั้น เหตุผลดังกล่าวยังคงเป็นจริงในสกิวฟีลด์ (skew field) (ด้วยเหตุผลนี้จึงเรียกได้ในอีกชื่อว่า ริงการหาร ) แต่อย่างไรก็ตาม การหารด้วยองค์ประกอบที่ไม่เป็นศูนย์อาจทำให้เกิดปัญหาได้ในริงอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ในการพิจารณาริง Z /6Z ของจำนวนเต็ม mod 6 คำถามคือเราจะให้ความหมายกับนิพจน์
2
2
{\displaystyle \textstyle {\frac {2}{2}}}
ได้อย่างไร ซึ่งควรจะมีคำตอบ x เพียงหนึ่งเดียวสำหรับสมการ 2x = 2 ในจำนวนจริง แต่ 2 ไม่สามารถมีอินเวิร์สของการคูณภายใต้ริง Z /6Z และสมการนี้มีคำตอบได้สองอย่างคือ x = 1 และ x = 4 ดังนั้นนิพจน์
2
2
{\displaystyle \textstyle {\frac {2}{2}}}
จึงไม่นิยาม
ลิมิตกับการหารด้วยศูนย์
กราฟของฟังก์ชัน y = 1/x เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ 0 แล้ว y จะมีค่าเข้าใกล้อนันต์
เราอาจสามารถนิยาม
a
0
{\displaystyle \textstyle {\frac {a}{0}}}
ได้โดยการพิจารณาลิมิต ของ
a
b
{\displaystyle \textstyle {\frac {a}{b}}}
เมื่อ b มีค่าเข้าใกล้ 0
สำหรับค่า a ที่เป็นบวก จะได้ว่า
lim
b
→ → -->
0
+
a
b
=
+
∞ ∞ -->
{\displaystyle \lim _{b\to 0^{+}}{a \over b}={+}\infty }
และสำหรับค่า a ที่เป็นลบ จะได้ว่า
lim
b
→ → -->
0
+
a
b
=
− − -->
∞ ∞ -->
{\displaystyle \lim _{b\to 0^{+}}{a \over b}={-}\infty }
ดังนั้น เราอาจนิยามให้
a
0
{\displaystyle \textstyle {\frac {a}{0}}}
มีค่าเป็น +∞ เมื่อ a เป็นจำนวนบวก และมีค่าเป็น −∞ เมื่อ a เป็นจำนวนลบ อย่างไรก็ตามการนิยามนี้อาจทำให้เกิดความยุ่งยากด้วยเหตุผลสองประการ
อนันต์ ที่เป็นบวกและลบไม่ใช่จำนวนจริง ดังนั้นถ้าหากเราต้องการคงเหลือบริบทไว้ให้เป็นจำนวนจริง เราจะต้องไม่นิยามอะไรที่มีความหมายพิเศษมากไปกว่าจำนวนจริง และถ้าหากต้องการใช้นิยามดังกล่าว เราจะต้อง ขยายเส้นจำนวนจริงออกไป
การหาลิมิตทางขวาเพียงอย่างเดียวเป็นการเลือกโดยไม่มีกฎเกณฑ์ เราอาจสามารถหาลิมิตทางซ้ายและได้นิยามของ
a
0
{\displaystyle \textstyle {\frac {a}{0}}}
มีค่าเป็น −∞ เมื่อ a เป็นจำนวนบวก และมีค่าเป็น +∞ เมื่อ a เป็นจำนวนลบ (สลับกัน) ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นโดยใช้สมการดังนี้ (สมมติว่าเส้นจำนวนจริงได้ถูกขยายออกไปถึงอนันต์แล้ว)
+
∞ ∞ -->
=
1
0
=
1
− − -->
0
=
− − -->
1
0
=
− − -->
∞ ∞ -->
{\displaystyle +\infty ={\frac {1}{0}}={\frac {1}{-0}}=-{\frac {1}{0}}=-\infty }
ซึ่งไม่ค่อยสมเหตุสมผล กลายเป็นว่า
a
0
{\displaystyle \textstyle {\frac {a}{0}}}
สามารถเป็นบวกและลบได้ในเวลาเดียวกัน ดังนั้นการขยายที่ควรใช้มีเพียง อนันต์ที่ไม่มีเครื่องหมาย เท่านั้น
นอกเหนือไปจากนั้น นิยามของ
0
0
{\displaystyle \textstyle {\frac {0}{0}}}
ไม่สามารถกำหนดได้โดยการหาลิมิตบนเศษส่วน เนื่องจากลิมิต
lim
(
a
,
b
)
→ → -->
(
0
,
0
)
a
b
{\displaystyle \lim _{(a,b)\to (0,0)}{a \over b}}
นั้นไม่มีคำตอบ ส่วนลิมิตที่อยู่ในรูปแบบ
lim
x
→ → -->
0
f
(
x
)
g
(
x
)
{\displaystyle \lim _{x\to 0}{f(x) \over g(x)}}
ในกรณีที่เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ 0 แล้วทำให้ทั้ง f (x) และ g (x) มีค่าเข้าใกล้ 0 ทั้งคู่ คำตอบของลิมิตอาจจะลู่เข้าไปยังค่าใดค่าหนึ่ง หรือไม่ลู่เข้าเลยก็ได้ (โดยใช้หลักเกณฑ์โลปีตาล ช่วยคำนวณ) ซึ่งแนวความคิดนี้ก็ยังไม่สามารถนำไปสู่การนิยาม
0
0
{\displaystyle \textstyle {\frac {0}{0}}}
ได้อยู่ดี (เพราะมีหลายคำตอบ)
การแปลความหมายแบบรูปนัย
การคำนวณแบบรูปนัย (formal calculation) เป็นตัวอย่างหนึ่งที่นำมาอธิบายการคำนวณในกฎเกณฑ์ทางเลขคณิต โดยไม่มีการพิจารณาว่าผลลัพธ์จากการคำนวณจะถูกนิยามไว้แล้วเป็นอย่างดีหรือไม่ ดังนั้นการกำหนดให้
a
0
{\displaystyle \textstyle {\frac {a}{0}}}
มีค่าเป็น ∞ เมื่อ a มีค่าไม่เท่ากับศูนย์ เป็นกฎเกณฑ์อย่างหยาบ (rule of thumb) ในบางครั้งก็อาจมีประโยชน์ ซึ่งค่าอนันต์นี้จะสามารถเป็นได้ทั้งจำนวนบวก จำนวนลบ หรือไม่มีเครื่องหมาย ขึ้นอยู่กับบริบทที่แวดล้อม ดังตัวอย่างนี้เป็นการคำนวณแบบรูปนัย
lim
x
→ → -->
0
1
x
2
=
lim
x
→ → -->
0
1
lim
x
→ → -->
0
x
2
=
1
+
0
=
+
∞ ∞ -->
{\displaystyle \lim \limits _{x\to 0}{{\frac {1}{x^{2}}}={\frac {\lim \limits _{x\to 0}{1}}{\lim \limits _{x\to 0}{x^{2}}}}}={\frac {1}{+0}}=+\infty }
ซึ่งจะเกิดผลลัพธ์ที่ไม่น่ายอมรับแต่ก็สามารถนำไปใช้ได้ เช่นเดียวกับการคำนวณแบบรูปนัยอื่นๆ สำหรับความถูกต้องตามตรรกะซึ่งตรงข้ามกับแบบรูปนัยอาจจะกล่าวเพียงว่า
lim
x
→ → -->
0
1
x
2
=
+
∞ ∞ -->
{\displaystyle \lim _{x\to 0}{\frac {1}{x^{2}}}=+\infty }
(+∞ ไม่ใช่จำนวน แต่เป็นวัตถุอย่างหนึ่งที่นำแนวคิดไปสู่เส้นจำนวนจริง คล้ายกับแนวคิดที่ว่า เซตของจุดเป็นสมาชิกของการยุบขนาดมิติ (compactification) บนส่วนของเส้นตรงที่ประกอบด้วยจุดสองจุด ในทอพอโลยี )
อ้างอิง
↑ "Zero" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2007-07-29 .