การลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพในสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักรสหราชอาณาจักรควรจะยังคงเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปหรือถอนตัวจากสหภาพยุโรป ?[1] |
บัตรลงคะแนนในวันออกเสียงประชามติ |
ผลลัพธ์ |
---|
ผล
|
คะแนน
|
%
|
ถอนตัว
|
17,410,742
|
51.89%
|
คงอยู่
|
16,141,241
|
48.11%
|
คะแนนสมบูรณ์
|
33,551,983
|
99.92%
|
คะแนนไม่สมบูรณ์หรือคะแนนเปล่า
|
26,033
|
0.08%
|
คะแนนทั้งหมด
|
33,578,016
|
100.00%
|
ผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิ/ผู้ออกมาใช้สิทธิ
|
46,501,241
|
72.21%
| |
|
ผลคะแนนแบ่งตามcounty |
การลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพในสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือรู้จักกันในสหราชอาณาจักรว่า การลงประชามติอียู (EU referendum) คือการลงประชามติที่กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559[2][3] โดยมีการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเป็นหัวข้อของแนวคิดในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ประเทศได้เข้าร่วมกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ตั้งแต่ พ.ศ. 2516
ตามที่พรรคอนุรักษนิยมแถลงการณ์การส่งร่างกฎหมายให้คณะกรรมาธิการพิจารณากฎหมายพื้นฐาน สำหรับการลงประชามติซึ่งได้รับการรับรองโดยรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรตามกฎการลงประชามติสหภาพยุโรป พ.ศ. 2558 โดยเป็นครั้งที่สองที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งชาวอังกฤษถูกร้องขอให้ลงคะแนนเสียงในเรื่องการเป็นสมาชิกของบริเตน โดยการลงประชามติครั้งแรกถูกจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2518 โดยผลในครั้งนั้นคือมีผลคะแนนให้เป็นสมาชิกต่อไป 67%[4]
การลงคะแนน เขตลงคะแนนและการนับคะแนน
การลงคะแนนจะถูกดำเนินการในตั้งแต่เวลา 07:00 BST จนถึงเวลา 22:00 BST (06:00 BST ถึง 21:00 BST ในยิบรอลตาร์) หรือตรงกับเวลา 13:00 น. ถึง 04:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย มีหน่วยลงคะแนน 41,000 หน่วย ทั่วทั้ง 382 เขตลงคะแนน ซึ่งแต่ละหน่วยลงคะแนนจำกัดผู้ลงคะแนนสูงสุด 2,500 คน[5]
ประเทศ
|
เขตนับและเขตลงคะแนน
|
สหราชอาณาจักร
|
ประกาศออกเสียงประชามติ; 12 ภูมิภาคการนับ; 382 เขตลงคะแนน
|
รัฐสมาชิก
|
เขตนับและเขตลงคะแนน
|
อังกฤษ
|
9 ภูมิภาคการนับ; 326 เขตลงคะแนน
|
ไอร์แลนด์เหนือ
|
National count และหนึ่งเขตลงคะแนน 18 ท้องถิ่น
|
สก็อตแลนด์
|
National count; 32 เขตลงคะแนน
|
เวลส์
|
National count; 22 เขตลงคะแนน
|
ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร
|
เขตลงคะแนน
|
ยิบรอลตาร์
|
หนึ่งเขตลงคะแนน (ภูมิภาคการนับ: ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ)
|
ผลการลงประชามติ
ในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งของสหราชอาณาจักร เจนนี วัตสัน จึงเป็นประธานเจ้าหน้าที่นับคะแนน (Chief Counting Officer) ผู้ซึ่งจะทำหน้าที่ประกาศผลคะแนนสุดท้ายของการลงประชามติ (รวมทั้ง 12 ภูมิภาคการนับจากทั้งสหราชอาณาจักรและยิบรอลตาร์) ในเมืองแมนเชสเตอร์ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559[5]
การลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพในสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2559
|
ทางเลือก
|
คะแนนเสียง
|
%
|
ไม่เห็นชอบ
|
17,410,742
|
51.9%
|
เห็นชอบ
|
16,141,241
|
48.1%
|
แถบผลคะแนนจากการลงประชามติ
ถอนตัว : 51.9 (17,410,742)
|
คงอยู่ : 48.1 (16,141,241)
|
▲
|
ผลคะแนนตามภูมิภาค
ภูมิภาค
|
จำนวนผู้ไปใช้ สิทธิออกเสียง
|
คะแนนเสียง
|
สัดส่วนคะแนนเสียง
|
คงอยู่
|
ถอนตัว
|
คงอยู่
|
ถอนตัว
|
|
อังกฤษ (และยิบรอลตาร์)
|
73.0%
|
13,266,996
|
15,188,406
|
46.62%
|
53.38%
|
|
อีสต์มิดแลนส์
|
74.2%
|
1,033,036
|
1,475,479
|
41.18%
|
58.82%
|
|
ภาคตะวันออกของอังกฤษ
|
75.7%
|
1,448,616
|
1,880,367
|
43.52%
|
56.48%
|
|
ลอนดอน
|
69.7%
|
2,263,519
|
1,513,232
|
59.93%
|
40.07%
|
|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ
|
69.3%
|
562,595
|
778,103
|
41.96%
|
58.04%
|
|
ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ
|
70%
|
1,699,020
|
1,966,925
|
46.35%
|
53.65%
|
|
ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ
|
76.8%
|
2,391,718
|
2,567,965
|
48.22%
|
51.78%
|
|
ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษและยิบรอลตาร์
|
76.7%
|
1,503,019
|
1,669,711
|
47.37%
|
52.63%
|
|
เวสต์มิดแลนส์
|
72%
|
1,207,175
|
1,755,687
|
40.74%
|
59.26%
|
|
ยอร์กเชอร์และฮัมเบอร์
|
70.7%
|
1,158,298
|
1,580,937
|
42.29%
|
57.71%
|
|
ไอร์แลนด์เหนือ
|
62.7%
|
440,707
|
349,442
|
55.78%
|
44.22%
|
|
สกอตแลนด์
|
67.2%
|
1,661,191
|
1,018,322
|
62.00%
|
38.00%
|
|
เวลส์
|
71.7%
|
772,347
|
854,572
|
47.47%
|
52.53%
|
การตอบสนอง
เอกราชของสกอตแลนด์
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559 รัฐบาลสกอตแลนด์ ได้ออกแถลงการณ์ว่าได้มีการเตรียมการที่มี "แนวโน้มสูง" ที่จะมีการทำการลงประชามติครั้งที่สอง ในเอกราชจากสหราชอาณาจักร[8] มุขมนตรีสกอตแลนด์ นิโคลา สเตอร์เจียน กล่าวว่า "เห็นได้อย่างชัดเจน ว่าประชาชนชาวสกอตแลนด์มองอนาคตของพวกเขา เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป" และสกอตแลนด์มี "คำพูดเด็ดขาด" ด้วย "ความแข็งแกร่งที่ชัดเจน" ในการลงคะแนนให้คงอยู่ในสหภาพยุโรป[9] ขณะที่อเล็กซ์ ซัลมอนด์ อดีตมุขมนตรีกล่าวว่าการลงคะแนนครั้งนี้ "มีนัยสำคัญและการเปลี่ยนแปลงความคิด" ในจุดยืนของสก็อตแลนด์ภายในสหราชอาณาจักร[10]
โทนี แบลร์ กล่าวว่าเขาคิดว่าสกอตแลนด์จะถอนตัวจากสหราชอาณาจักร ถ้าสหราชอาณาจักรถอนตัวจากสหภาพยุโรป[11]
แมนเฟรด เวเบอร์ ผู้นำกลุ่มพรรคประชาชนยุโรป และพันธมิตรสำคัญของอังเกลา แมร์เคิล กล่าวว่าสกอตแลนด์ต้องการการต้อนรับที่จะคงอยู่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป[12]
การสร้างเอกภาพไอร์แลนด์
การลงประชามติในเอกราชได้รับการสนับสนุนโดยพรรคซีนน์ไฟน์ของไอร์แลนด์เหนือ[13] มาร์ติน แมกกินเนสส์ รองมุขมนตรีไอร์แลนด์เหนือ เรียกร้องการลงประชามติบนเอกภาพของไอริช ตามที่สหราชอาณาจักรลงคะแนนเพื่อถอนตัวจากสหภาพยุโรป[14]
การพิพาทเหนือยิบรอลตาร์ของสเปน–สหราชอาณาจักร
โคเซ-การ์ซีอา มาร์กาโย อี มาร์ฟิล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสเปนกล่าวว่า "มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สมบูรณ์ของภาพรวมที่เปิดขึ้นความเป็นไปได้ใหม่ในยิบรอลตาร์ ซึ่งไม่ได้เห็นมานานมากแล้ว ฉันหวังว่าวิธีการการร่วมอำนาจอธิปไตยจะชัดเจนยิ่งขึ้น ธงชาติสเปนบนเดอะร็อก (ยิบรอลตาร์) จะเป็นไปได้มากกว่าแต่ก่อน"[15]
อย่างไรก็ตาม เฟเบียน ปิการ์โด มุขมนตรีของยิบรอลตาร์เมินเฉยต่อความคิดเห็นของการ์ซีอา มาร์กาโยทันที โดยระบุว่า "จะไม่มีการพูดคุย รวมทั้งการพูดคุยเกี่ยวกับการพูดคุยใด ๆ ที่เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของยิบรอลตาร์" และขอให้พลเมืองยิบรอลตาร์ "ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นต่อเสียงรบกวนเหล่านั้น"[16]
สถานะของลอนดอน
ลอนดอนลงคะแนนให้คงอยู่ในสหภาพยุโรป และนิโคลา สเตอร์เจียน มุขมนตรีของสก็อตแลนด์ กล่าวว่าเธอได้พูดคุยกับซาดิค ข่าน นายกเทศมนตรีเมืองลอนดอน เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการคงอยู่ในสหภาพยุโรปและกล่าวว่าเขาได้แบ่งปันความยุติธรรมนั้นสำหรับลอนดอน คำร้องให้ข่านประกาศให้ลอนดอนเป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักร ได้รับลายเซ็นนับหมื่น[17][18][19][20][21][22]
ผู้สนับสนุนเอกราชของลอนดอนอ้างว่าจำนวนประชากรของลอนดอน วัฒนธรรม และค่าความแตกต่างจากส่วนที่เหลือของอังกฤษ และนั่นควรให้เป็นนครรัฐ คล้ายสิงคโปร์ ขณะที่ยังคงอยู่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป[23][24][25][26][27]
สเปนเซอร์ลิเวอร์มอร์ บารอนลิเวอร์มอร์ กล่าวว่าเอกราชของลอนดอน "ควรถึงจุดมุ่งหมาย" ด้วยเหตุผลที่นครรัฐลอนดอนจะมีจีดีพีเป็นสองเท่าของสิงคโปร์[28]
ผู้นำทางการเมือง
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน เดวิด แคเมอรอน ผู้นำพรรคอนุรักษนิยมและนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งในเดือนตุลาคม แม้ว่าฝ่ายสนับสนุนพรรคอนุรักษนิยมทั้งสองข้างของการโต้วาทีการลงประชามติ กระตุ้นให้เขาอยู่ในตำแหน่งต่อไป อย่างไรก็ตามไนเจล เฟเรจ ผู้นำพรรคชาตินิยม เรียกร้องให้แคเมอรอนออกจากตำแหน่ง "ในทันที"[29]
เจเรมี คอร์บิน ผู้นำพรรคแรงงาน ต้องเผชิญกับคำวิจารณ์ที่เพิ่มขึ้นจากภายในพรรค ซึ่งมีการสนับสนุนให้คงอยู่ภายในสหภาพยุโรปสำหรับการรณรงค์พูร์แคมเปญ[30] และมีสองสมาชิกพรรคแรงงานลงคะแนนไม่ไว้วางใจคอร์บินในวันที่ 24 มิถุนายน[31]
อ้างอิง
- ↑ แปลจากต้นฉบับ: Should the United Kingdom remain a member of the European Union or leave the European Union?
- ↑ "European Union Referendum Act 2015". legislation.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 14 May 2016.
- ↑ Rowena Mason; Nicholas Watt; Ian Traynor; Jennifer Rankin (20 February 2016). "EU referendum to take place on 23 June, David Cameron confirms". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2 February 2016.
- ↑ Adrian Williamson, The Case for Brexit: Lessons from the 1960s and 1970s, History and Policy (2015).
- ↑ 5.0 5.1 European Referendum Act 2015 Section 11.
- ↑ "EU Referendum Results - BBC News". BBC News.
- ↑ "EU Referendum Results". election.news.sky.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-24. สืบค้นเมื่อ 2016-06-24.
- ↑ "'Brexit' Triggers New Bid for Scottish Independence".
- ↑ Dickie, Mure (24 June 2016). "Scots' backing for Remain raises threat of union's demise" – โดยทาง Financial Times.
- ↑ Carrell, Severin (24 June 2016). "Nicola Sturgeon prepares for second Scottish independence poll".
- ↑ "Tony Blair: 'Brexit will lead to Scottish independence' - BBC News".
- ↑ Membership, FT. "Fast FT".
- ↑ "Brexit after EU referendum: UK to leave EU and David Cameron quits".
- ↑ "EU referendum result: Sinn Fein's Martin McGuinness calls for border poll on united Ireland after Brexit". The Independent. 24 June 2016.
- ↑ "Spain to seek co-sovereignty on Gibraltar after Brexit". Reuters. 24 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-28. สืบค้นเมื่อ 2016-06-24.
- ↑ "Gibraltar stands defiant against Spain after Brexit vote". The Local. 24 June 2016. สืบค้นเมื่อ 24 June 2016.
- ↑ "Petition for London independence signed by thousands after Brexit vote".
- ↑ "Second Scotland Referendum 'Highly Likely'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-24. สืบค้นเมื่อ 2016-06-24.
- ↑ Hedges-Stocks, Zoah. "Londoners call for independence from UK". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-25. สืบค้นเมื่อ 2016-06-24.
- ↑ "It's time for London to leave the UK". 24 June 2016.
- ↑ "Thousands call on Sadiq Khan to declare London's independence". 24 June 2016.
- ↑ "'Londependence' petition calls for London to join the EU on its own". 24 June 2016.
- ↑ "Londoners want their own independence after Brexit result".
- ↑ Metro.co.uk, Nicole Morley for (24 June 2016). "70,000 sign petition for London to become independent and rejoin the EU".
- ↑ "One expert argues that following Brexit, London needs to take back control".
- ↑ Sullivan, Conor (24 June 2016). "Londoners dismayed at UK's European divorce" – โดยทาง Financial Times.
- ↑ "Petition organiser could stage 'Londependence' rally after Brexit vote". 24 June 2016.
- ↑ "London Independence Goes Beyond A Twitter Joke With Politicians Seriously Discussing It". 24 June 2016.
- ↑ "Brexit: David Cameron to quit after UK votes to leave EU". BBC New. 24 June 2015. สืบค้นเมื่อ 24 June 2016.
- ↑ "Labour 'Out' Votes Heap Pressure On Corbyn". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-27. สืบค้นเมื่อ 2016-06-24.
- ↑ http://www.bbc.com/news/live/uk-politics-36570120 at 13:00