การปรับอากาศรถยนต์

ระบบปรับอากาศภายในรถยนต์

ระบบปรับอากาศภายในรถยนต์ เป็นระบบทำความเย็นแบบอัดไอหรือก๊าซ (Vapor Compression System) โดยที่คอมเพรสเซอร์ (Compressor) จะดูดสารทำความเย็นจากอีวาโปเรเตอร์ (Evaporator) หรือเปรียบเสมือนปั้มน้ำภายในบ้านต่างกันเพียงแต่ปั้มน้ำจะดูดน้ำที่เป็นของเหลว แต่คอมเพรสเซอร์แอร์จะดูดสารทำความเย็นซึ่งมีสถานะเป็นไอหรือก๊าซ โดยคอมเพรสเซอร์ (Compressor) จะทำหน้าที่อัดสารทำความเย็นออกไปที่คอนเดนเซอร์ (Condenser) ทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิและความดันเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อมีแรงดันที่เพียงพอคอมเพรสเซอร์จะถูกตัดการทำงานโดยเทอร์โมสตัท (Thermostat) หรือเทอร์มิสเตอร์ (Thermister) เป็นตัวชี้วัดว่าเวลาไหนคอมเพรสเซอร์ต้องทำงานและเมื่ออุณหภูมิในห้องโดยสารต่ำจนได้อุณหภูมิที่อยู่ในระดับพอดี เทอร์โมสตัท (Thermostat) หรือเทอร์มิสเตอร์ (Thermister) จะสั่งให้คอมเพรสเซอร์หยุดการทำงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแรงดันที่สูงจนเกินไป ซึ่งอาจจะเป็นอันตราย อาจเกิดการระเบิดของท่อทางต่าง ๆ ของระบบน้ำยาได้ แต่ในระบบของรถรุ่นใหม่ จะมีเซนเซอร์ที่ตรวจจับแรงดันและมีตัวระบายน้ำยาออกหากเกิดแรงดันที่สูงเกินค่ากำหนด จากนั้นเมื่อสารทำความเย็นไหลผ่านแผงคอนเดนเซอร์ (Condenser) ที่อยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของรถ หรือที่ทางช่างเรียกว่า “แผงรังผึ้ง” ซึ่งจะทำหน้าที่ให้อุณหภูมิของสารทำความเย็นลดต่ำลง จากนั้นสารทำความเย็นจะควบแน่นกลายเป็นของเหลว และไหลต่อไปยังรีซีฟเวอร์ (Receiver) หรือไดร์เออร์ (Drier) เพื่อกรองสิ่งสกปรกและความชื้นที่ปนเปื้อนในสารทำความเย็น หรือตัวกรองสารทำความเย็น ซึ่งตัวกรองนี้จะต้องมีการเปลี่ยนไส้กรองตามระยะทางที่กำหนด หรือเมื่อมีการเปิดระบบของท่อทางน้ำยาแอร์ เพื่อป้องกันการอุดตันของท่อทางน้ำยาแอร์ที่จะต้องไหลไปที่เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve) หรือวาล์วแอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่ฉีดสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ให้เป็นฝอยละอองเข้าไปในอีวาโปเรเตอร์ (Evaporator) หรือตู้แอร์ เพื่อทำให้สารทำความเย็นมีความดันต่ำและเกิดการแลกเปลี่ยนความร้อนภายในห้องโดยสารให้มีอุณหภูมิที่ต่ำลง จากนั้นเมื่อน้ำยาแอร์มีสถานะกลายเป็นก๊าซก็จะถูกดูดเข้าไปในคอมเพรสเซอร์ (Compressor) เพื่อเริ่มต้นการทำงานใหม่อีกครั้ง [1]

เครื่องปรับอากาศรถยนต์มีอยู่ 2 แบบ[2]

  1. แบบเทอร์โมสตัท[3] เทอร์โมสตัทประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ สวิตซ์ปรอท (mercury switch) และขดลวดเทอร์โมมิเตอร์ สวิตซ์ปรอทเป็นหลอดแก้วขนาดเล็กที่มีปรอทบรรจุอยู่เล็กน้อย ภายในหลอดแก้วมีเส้นลวด 3 เส้น เส้นแรกพาดไปตามความยาวที่ก้นหลอด ส่วนอีก 2 เส้นต่ออยู่กับปลายด้านซ้ายและขวาของหลอดแก้ว ส่วนขดลวดเทอร์โมมิเตอร์ประกอบขึ้นจากโลหะ 2 ชนิดซึ่งมีการขยายหรือหดตัว เมื่อได้รับความร้อนแตกต่างกันมาประกบกันและม้วนเป็นก้นหอย โดยปลายข้างหนึ่งจะติดกับสวิตซ์ปรอท เมื่อต้องการให้เครื่องปรับอากาศทำงานจะต้องสับสวิตซ์ทำให้สวิตซ์ไปหมุนขดลวดและสวิตซ์ปรอทและปรอทจะไหลไปในทิศทางตรงกันข้ามกันจนกระทั่งสัมผัสกับเส้นลวด ทำให้กระแสไฟฟ้าครบวงจรและเครื่องปรับอากาศทำงาน ทำให้อุณหภูมิในห้องเย็นลงขดลวดเทอร์โมมิเตอร์ก็จะหดตัวเข้าอย่างช้า ๆ ดึงให้สวิตซ์ปรอทเอียงไปอีกทางจนกระทั่งปรอทไม่สัมผัสกับเส้นลวด วงจรก็จะขาดและเครื่องปรับอากาศก็จะหยุดทำงาน หรือที่เรียกว่า “ตัด” อุณหภูมิในห้องก็จะอุ่นขึ้นเรื่อย ๆ จากนั้นขดลวดเทอร์โมมิเตอร์ก็จะเริ่มคลายตัวออกและวงจรติดเครื่องปรับอากาศก็จะกลับทำงานอีกครั้ง
  2. เทอร์มิสเตอร์ เป็นสารกึ่งตัวนำที่การเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทาน โดยเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นค่าความต้านทานจะลดต่ำลง และเมื่ออุณหภูมิลดลงค่าความต้านทานของเทอร์มิสเตอร์จะสูงขึ้น เทอร์มิสเตอร์จะยึดตัวอยู่กับครีบของอีวาโปเรเตอร์และจะรับอุณหภูมิจากผิวของครีบ อุณหภูมิจะถูกควบคุมโดยการเปรียบเทียบสัญญาณจากเทอร์มิสเตอร์และสัญญาณจากความต้านทานที่ควบคุมอุณหภูมิ จากนั้นแอมพริฟลายเออร์จะส่งผลไปยังคลัทช์แม่เหล็กให้จับและปล่อย ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้สารทำความเย็นไหลจากคอมเพรสเซอร์ไปยังอีวาโปเรเตอร์หรือตัดการไหลของสารทำความเย็น จากผลอันนี้อุณหภูมิของอีวาโปเรเตอร์จึงมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงเป็นการควบคุมอุณหภูมิของอากาศที่ผ่านออกจากอีวาโปเรเตอร์และการทำงานแต่ละส่วนของส่วนประกอบต่างๆดังนี้

ส่วนประกอบของระบบปรับอากาศรถยนต์[4]

  1. คอมเพรสเซอร์ (Compressor)
  2. คอนเดนเซอร์ (Condenser)
  3. เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve)
  4. อีวาโปเรเตอร์ (Evaporator)
  5. รีซีฟเวอร์ไดร์เออร์ (Receive-Dryer)

คอมเพรสเซอร์ [5]

คอมเพรสเซอร์ที่ติดตั้งอยู่กับรถยนต์

คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศติดรถยนต์ จะเป็นแบบเปิด และจะยึดติดอยู่กับเครื่องยนต์โดยใช้กำลังของเครื่องยนต์มาหมุนให้คอมเพรสเซอร์ทำงาน โดยใช้สายพานและจะมีแมกเนติคคลัทช์ในการควบคุมให้คอมเพรสเซอร์ทำงานและหยุดงาน เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สูบฉีดสารทำความเย็นให้ไหลวนในระบบปรับอากาศ โดยดูดสารทำความเย็นสถานะไอความดันต่ำจากตู้แอร์ และเพิ่มความดันเพื่อเปลี่ยนสถานะสารทำความเย็นเป็นไอความดันสูงก่อนที่จะส่งต่อไปที่คอนเดนเซอร์ ในปัจจุบันคอมเพรสเซอร์รุ่นใหม่จะประกอบไปด้วยหลายลูกสูบซึ่งโดยปกติแต่ละลูกสูบก็จะมี 1 suction และ 1 discharge โดย Suction คือวาวล์ด้านดูดซึ่งจะดูดสารทำความเย็นมาจากตู้แอร์ และ Discharge คือวาวล์ด้านปล่อย ซึ่งจะปล่อยสารทำความเย็นไปที่คอนเดนเซอร์

คอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศติดรถยนต์ ออกแบบสร้าง 2 ชนิด คือ

  • แบบลูกสูบ ( Reciprocating Compressor )

เป็นคอมเพรสเซอร์ที่ใช้กันโดยทั่วไป โครงสร้างเหมือนกับคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบของเครื่องทำความเย็นโดยทั่วไป ปกติคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศติดรถยนต์ จะเป็นแบบ 2 กระบอกสูบ (Two Cylinder) หน้าที่และการทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ คือ ดูดและอัดน้ำยาในสถานะที่เป็นแก๊สที่มีความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำเข้ามาอัดตัวให้เป็นแก๊สที่มีความดันสูงและอุณหภูมิสูงขึ้นและส่งไปยังคอนเดนเซอร์ หลักการทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบคือแต่ละกระบอกสูบจะประกอบด้วยชุดของลิ้นทางดูดและลิ้นทางอัด ขณะที่ลูกสูบหนึ่งลงในจังหวะดูดอีกลูกหนึ่งจะเคลื่อนที่ขึ้นในจังหวะอัด ในจังหวะดูดลิ้นทางอัดจะปิดและลิ้นทางดูดจะเปิดให้น้ำยาแก็สจากท่อซักชั่น(ท่อทางดูด)เข้ามา และในจังหวะอัด(ลูกสูบที่เคลื่อนที่ขึ้น)น้ำยาแก็สในกระบอกสูบจะถูกอัดให้มีแรงดันสูงและลิ้นทางอัดจะเปิดให้น้ำยาผ่านออกทางท่อทางอัด(Discharge line) เพื่อส่งไปยังคอนเดนเซอร์ต่อไป

ไฟล์:Compressor แบบลูกสูบ.jpg
Compressor แบบลูกสูบ
  • แบบสวอชเพลต ( Swatch Plate Compressor )

คอมเพรสเซอร์แบบสวอชเพลต จัดอยู่ในชนิดของคอมเพรสเซอร์ที่ใช้ลูกสูบ แต่ลูกสูบของแบบสวอทเพลทอยู่ในแนวนอน ลักษณะการดูดอัดน้ำยาของลูกสูบในแนวนอน การเคลื่อนที่ของลูกสูบเพื่อดูดและอัดน้ำยาของคอมเพรสเซอร์แบบนี้ไม่ต้องใช้เพลาข้อเหวี่ยง และก้านสูบเป็นตัวช่วยให้ลูกสูบเคลื่อนที่แต่ลูกสูบจะเลื่อนเข้าออกในกระบอกสูบได้โดยการหมุนของสวอทเพลทอยู่ในตำแหน่งเอียง 45 องศากล่าวคือขณะที่แกนเพลาที่ต่อมาจากพูลเล่หมุน สวอทเพลทหรือเพลทเอียงก็จะหมุนตามไปด้วย ซึ่งทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่เข้าออกในกระบอกสูบ ทำให้เกิดการดูด-อัดน้ำยาได้ คอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลท จะมีตั้งแต่ 2 สูบขึ้นไป เช่น 5 สูบ และ 6 สูบ เป็นต้น คอมเพรสเซอร์แบบสวอชเพลตเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศรถยนต์เพราะคอมเพรสเซอร์แบบนี้มีขนาดเล็กกะทัดรัด มีประสิทธิภาพการทำงานสูงและฉุดแรงเครื่องน้อยกว่าแบบลูกสูบ ในขนาดของการทำความเย็นจำนวนบีทียูเท่ากัน

คอมเพรสเซอร์แบบสวอชเพลต

ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับ คอมเพรสเซอร์แอร์ Compressor [6]

  1. คอมเพรสเซอร์มีเสียงดัง เราต้องตรวจสอบดูว่าเสียงดังที่เกิดขึ้นมาจากตัวคอมเพรสเซอร์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ถ้าเป็นเสียงที่เกิดจากคอมเพรสเซอร์ก็ต้องดูว่าเป็นที่คลัทช์หรือตัวคอมเพรสเซอร์ ถ้าเป็นที่ตัวคอมเพรสเซอร์ซึ่งอาจจะเกิดจากลูกสูบข้างในชำรุดโดยปกติการซ่อมส่วนใหญ่จะไม่ได้ผลควรถอดเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ตัวใหม่
  2. คอมเพรสเซอร์ไม่มีกำลังอัด ซึ่งจะมีอาการคือเมื่อรถยนต์จอดอยู่กับที่แอร์จะไม่มีความเย็นหรือความเย็นน้อย แต่เมื่อรถวิ่งหรือเร่งเครื่องแอร์จะมีความเย็นมากขึ้น
  3. คอมเพรสเซอร์รั่ว มีน้ำยาแอร์ซึมออกมา สังเกตได้จากมีรอยคราบน้ำมันสีดำ ๆ ที่ตัวคอมเพรสเซอร์ตรงจุดที่รั่วเป็นจำนวนมาก ถ้าหากเป็นการรั่วซึมที่รอบต่อคอมเพรสเซอร์เราสามารถเปลี่ยนซีนหรือชุดแผ่นยางกันการรั่วซึมของคอมเพรสเซอร์ได้ แต่หากเป็นรอยรั่วซึมที่จุดอื่นก็ต้องทำการเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ลูกใหม่

คอนเดนเซอร์ (Condenser)

Condenser

ทำหน้าที่[7] ปรับสารทำความเย็นที่มีความดันสูง อุณหภูมิสูง ในสถานะแก๊ส จากคอมเพรสเซอร์ (Compressor) แล้วจะเข้าคอนเดนเซอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวถ่ายเทความร้อนของสารทำความเย็นที่ได้รับความร้อนมาจากที่อีวาโปเรเตอร์และจากกระบวนการอัดทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิต่ำลง ในสถานะของผสม (แก๊สผสมของเหลว) และส่งต่อไปยังรีซีฟเวอร์ไดร์เออร์ (Receive-Dryer) เนื่องจากคอนเดนเซอร์ติดตั้งอยู่หน้าหม้อน้ำรถยนต์ ขณะวิ่งอากาศจะปะทะคอนเดนเซอร์ก่อน ดังนั้นโอกาสที่จะมีฝุ่นละออง หรือตัวแมลงติดคอนเดนเซอร์จะมีมาก จะทำให้คอนเดนเซอร์ระบายไม่ดี น้ำยาแก๊สจะเปลี่ยนเป็นน้ำยาเหลวไม่หมด ทำให้แอร์ไม่ค่อยเย็น จึงควรทำความสะอาดคอนเดนเซอร์บ่อย ๆ โดยใช้น้ำล้างและใช้แปรงถูตลอดจนใช้ลมเป่าด้วย

ประเภทของคอนเดนเซอร์ตามลักษณะการไหล[8]

มี 3 ประเภท ดังนี้

  • แบบไหลวน

สารทำความเย็นจะไหลในลักษณะวนในตัวของคอนเดนเซอร์ คือสารทำความเย็นจะไหลเข้าที่ท่อทางเข้าด้านบนและไหลออกที่ท่อทางออกด้านล่าง ซึ่งระหว่างการไหลนี้จะมีการระบายความร้อนแก่คอนเดนเซอร์ จะทำให้สารความเย็นมีอุณหภูมิลดลงและเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของผสมที่ท่อทางออก

  • แบบไหลขนาน

คอนเดนเซอร์ชนิดนี้มีท่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างกล่องทั้งสอง เมื่อสารความเย็นไหลเข้าที่ท่อทางเข้า สารความเย็นจะไหลแบบขนานกันและออกที่ท่อทางออก ซึ่งระหว่างการไหลนี้จะมีการระบายความร้อนแก่คอนเดนเซอร์ จะทำให้สารความเย็นมีอุณหภูมิลดลงและเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของผสมที่ท่อทางออก

  • แบบไหลวกวน

คอนเดนเซอร์ชนิดนี้เป็นการรวมคอนเดนเซอร์แบบไหลวนและแบบไหลขนานเข้าด้วยกัน คือท่อทางเข้าและออกจะมีลักษณะการไหลแบบขนาน แต่ในการไหลจะมีลักษณะการไหลแบบวน คือเมื่อสารความเย็นเข้าที่ท่อทางเข้าจะมีการแยกเป็นสองทางและไหลในท่อแบบวน โดยจะไปรวมกันที่ท่อทางออกซึ่งระหว่างการไหลนี้จะมีการระบายความร้อนแก่คอนเดนเซอร์ จะทำให้สารความเย็นมีอุณหภูมิลดลงและเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของผสมที่ท่อทางออก

การระบายความร้อนออกจากคอนเดนเซอร์ในงานปรับอากาศรถยนต์

การระบายความร้อนออกจากคอนเดนเซอร์ในงานปรับอากาศรถยนต์ นั้นขึ้นอยู่กับการวางเครื่องยนต์หรือระบบการขับเคลื่อนของรถยนต์แต่ละแบบ แต่ละชนิด ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

  1. การระบายความร้อนด้วยพัดลมไฟฟ้า ซึ่งจะอยู่ในรถยนต์ที่มีการวางเครื่องยนต์ด้านหลัง หรือรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ขับระบบปรับอากาศโดยตรง เช่น รถโดยสารขนาดใหญ่ (รถทัวร์)
  2. การระบายความร้อนด้วยพัดลมไฟฟ้าและอากาศ ซึ่งจะอยู่ในรถยนต์ที่มีการวางเครื่องยนต์ด้านหน้าและขับเคลื่อนล้อหน้า โดยที่อากาศนั้นจะวิ่งปะทะในกรณีที่รถเคลื่อนที่
  3. การระบายความร้อนด้วยพัดลมเครื่องยนต์และอากาศ ซึ่งจะอยู่ในรถยนต์ที่มีการวางเครื่องยนต์ด้านหน้าและขับเคลื่อนล้อหลัง โดยที่อากาศนั้นจะวิ่งปะทะในกรณีที่รถเคลื่อนที่

เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve)

Expansion valve

เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve) หรือ ตัวควบคุมน้ำยา (Refrigerant Control) ทำหน้าที่ ควบคุมอัตราการไหลของสารทำความเย็นก่อนเข้าอีวาโปเรเตอร์ โดยการลดความดันของสารทำความเย็นที่เป็นของเหลวความดันสูงให้เป็นก๊าซที่มีความดันต่ำ เพื่อรักษาความเย็นให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุดโดยการควบคุมปริมาณน้ำยาเดือดหมดพอดีในอีวาโปเรเตอร์ ตัวควบคุมน้ำยาเครื่องปรับอากาศติดรถยนต์นิยมใช้แบบใช้เทอร์โมสแตติคเอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Thermostatic Expansion Valve) เรียกย่อๆว่า TEV,TXV มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบ Internal Equalizer และ แบบ External Equalizer แต่ที่นิยมใช้มากคือแบบ External Equalizer [9]

ภาพแสดง TEV ทั้ง 2 แบบ

TEV.ที่ใช้ในแอร์รถยนต์ จะประกอบติดกับชุดคอยล์เย็นหรืออีวาโปเรเตอร์ โดยทางเข้าของ TEV. จะต่อกับท่อน้ำยาเหลว(Liquid Line) ที่มาจากรีซีฟเวอร์-ไดร์เออร์ (Receiver Drier) และทางออกของ TEV. จะต่อเข้าทางเข้าของอีวาโปเรเตอร์ในกรณีที่เป็นแบบ Internal แต่ถ้าเป็นแบบ External ก็จะต่อทางเข้าและทางออกของ TEV. เหมือนกัน แต่จะต้องต่อท่อ External ของ TEV. เข้ากับทางดูด (Suction Line) ที่จะเข้าทางดูดคอมเพรสเซอร์ด้วย การใช้ TEV. แบบ External เพื่อทำให้ค่าซุปเปอร์ฮีทคงที่ และจะใช้ TEV.แบบนี้ในกรณีแรงดันตก(Pressure Drop) ในอีวาโปเรเตอร์เกินกว่า 2 psi เท่านั้น

การทำงานโดยทั่วไปของ TEV.

TEV. แบบ External valve

การทำงานของ TEV. เป็นไปแบบวิธีการง่ายๆ คือ เมื่อกระเปาะมีอุณหภูมิสูงขึ้นส่วนหนึ่งของน้ำยาในกระเปาะจะเดือดกลายเป็นแก็สที่มีแรงดัน ซึ่งแรงดันนี้จะวิ่งไปตามท่อแคปทิ้วและแรงดันนี้จะวิ่งไปตามท่อแคปทิ้วแล้วไปดันให้ไดอะเฟรมเคลื่อนที่ต่ำลง แรงนี้จะทำให้เข็มปิด-เปิดวาล์วต่ำลงและน้ำยาจะวิ่งเข้าอีวาโปเรเตอร์จะกระทำเช่นนี้จนกระทั่งน้ำยาเดือดเต็ม และอีวาโปเรเตอร์จะเย็นทั่วหมดและท่อซักชั่น(ท่อทางดูด ซึ่งเป็นทางออกของอีวาโปเรเตอร์)จะเย็น ทำให้กระเปาะที่แนบติดกับท่อทางซักชั่นเย็นด้วย เมื่อกระเปาะเย็นแรงดันของกระเปาะจะลดต่ำลงส่งผลให้แรงดันในแคปทิ้วต่ำลงด้วยเป็นผลให้แรงที่จะกดไดอะเฟรมต่ำมีน้อย เข็มวาล์วจะเคลื่อนที่ขึ้นและวาล์วจะเปิดน้อยลงหรือปิด ถ้า TEV. ฉีดน้ำยาเข้าอีวาโปเรเตอร์ไม่พอจะทำให้แรงดันของอีวาโปเรเตอร์ต่ำลงอีกทั้งอุณหภูมิของกระเปาะก็จะสูงขึ้นด้วย โดยแก็สที่มีอุณหภูมิสูงจากอีวาโปเรเตอร์มากระทบกับกระเปาะทำให้วาล์วเปิดกว้างขึ้น ส่งผลให้น้ำยาที่ฉีดเข้าไปในอีวาโปเรเตอร์มีมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้าฉีดน้ำยาเข้าอีวาโปเรเตอร์มากเกินไปหรือแรงดันของอีวาโปเรเตอร์สูงขึ้น แรงดันก็จะดันให้วาล์วดันขึ้นไปปิดหรือเปิดให้น้อยลง ดังนั้น TEV. จึงทำงานขึ้น-ลงหรือฉีดน้ำยามาก ฉีดน้ำยาน้อยอยู่เรื่อยๆโดยขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงโหลด

การติดตั้ง TEV

การติดตั้ง TEV.ที่จะให้ได้ประสิทธิภาพดีที่สุด จะต้องติดไว้ใกล้กับทางใกล้ของอีวาโปเรเตอร์มากที่สุดที่จะมากได้ การติดตั้ง TEV.ของแอร์รถยนต์โดยปกติจะติดมากับกล่องอีวาโปเรเตอร์ ซึ่งมีขนาดพอเหมาะกับความยาวคอยล์เย็น เราจะนำตัวควบคุมน้ำยาขนาดอื่นมาใส่ก็อาจทำได้ แต่ถ้าไม่ปรับตั้งลิ้นเสียใหม่ก็จะเกิดความยุ่งยากขึ้น เช่นไม่ให้ความเย็นหรือให้น้อย น้ำยาเหลวไหลเข้ามากบางครั้งเป็นผลต่อลิ้นของคอมเพรสเซอร์ได้ โดยปกติถ้าไม่จำเป็นไม่ควรไปปรับหรือตั้งสกรูปรับสปริงโดยเด็ดขาด การติดตั้งกระเปาะ (Remote Bulb Location)จะต้องติดกระเปาะโดยใช้เข็มขัดชนิดโลหะรัดเน้นในแนวระดับกับท่อดูด ใกล้กับทางออกของอีวาโปเรเตอร์ ตามปกติจะอยู่ทางด้านในของชุดตัวให้ความเย็น และให้ตลอดความยาวของกระเปาะสัมผัสทางท่อทางออกของอีวาโปเรเตอร์ให้มากที่สุดที่จะมาได้ และข้อสำคัญตำแหน่งกระเปาะนี้จะต้องไม่มีอุณภูมิอื่นมาเกี่ยวข้องนอกเสียจากว่าอุณหภูมิของท่อออกของอีวาโปเรเตอร์เท่านั้น มิฉะนั้นจะทำให้ลิ้นของ TEV. เปิดกว้างทำให้น้ำยาท่วม และไหลเข้าคอมเพรสเซอร์ในตอนเริ่มเดินเครื่องได้

อีวาโปเรเตอร์ (Evaporator)

ไฟล์:อีวาเปอเรเตอร์.gif
Evaporator

อีวาโปเรเตอร์ (Evaporator)หรือ คอยล์เย็น (Cooling Coil) มีหน้าที่รับน้ำยาที่เป็นของเหลวมีแรงดันต่ำและอุณหภูมิต่ำเข้ามา ซึ่งมีลักษณะเป็นฝอยและน้ำยาจะเดือด(Evaporate) ในตัวคอยล์เย็นนี้ทำให้น้ำยาเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊สและจะดูดความร้อนจากตัวคอยล์เย็นไป เมื่อความร้อนของอากาศโดยรอบอีวาโปเรเตอร์ถูกดูดออกไป ที่เหลือก็คืออากาศเย็นที่พัดออกมาทางช่องลมเย็น ทำให้อีวาโปเรเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของระบบที่น้ำยาเหลวไหลมาระเหยซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น คอยล์เย็น (Cooling Coil)หรืออีวาโปเรเตอร์ (Evaporator) การที่น้ำยาเหลวไหลมาเดือดเป็นไอทำให้พื้นผิวภายนอกที่บรรจุน้ำยาเย็นลงในที่นี้เรียกว่า อีวาโปเรเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอนโซลในห้องผู้โดยสาร มีลักษณะเป็นท่อขดและมีครีบหลายหลายอันเพื่อนำพาความร้อนผ่านครีบและท่อขด ความร้อนจะแพร่ไปที่สารทำความเย็น สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นไอเมื่อได้รับความร้อน และจะถูกดูดออกโดยคอมเพรสเซอร์เพื่อไปผ่านขบวนการทำให้กลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง และการที่จะทำให้อีวาโปเรเตอร์มีความเย็นมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

  1. ต้องมีพื้นที่สำหรับทำความเย็นอย่างเพียงพอ เพื่อดูดความร้อนออกไปตามที่ต้องการ
  2. ต้องมีปริมาณเพียงพอแก่การรับเอาน้ำยาที่เป็นของเหลวไว้สำหรับการระเหยและปริมาณต้องกว้างพอที่จะรับเอาไอที่ระเหยแล้วนั้นได้
  3. ต้องมีการหมุนเวียนสะดวก ปราศจากความดันตกค้างอยู่มากเกินไปในอีวาโปเรเตอร์

อีวาโปเรเตอร์มีความสำคัญในระบบเครื่องทำความเย็นเป็นอย่างมากเพราะหากต้องการความเย็นมากๆก็แค่ใส่อีวาโปเรเตอร์โตๆที่ถูกต้องแล้วอีวาโปเรเตอร์จะให้ความเย็นดี จะต้องมีความสัมพันธ์หมดทั้งระหว่าง คอมเพรสเซอร์ ตัวควบคุมน้ำยา และคอนเดนเซอร์ โดยในการติดตั้งอีวาโปเรเตอร์ไว้ภายในรถยนต์อาจจะวางตำแหน่งได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบของอีวาโปเรเตอร์ จุดประสงค์ที่สำคัญคือ ให้ไอความเย็นออกมาได้ทั่วภายในรถเป็นสำคัญ

ส่วนประกอบของ Evaporator

รูปร่างของ evaporator ในสมัยนี้รูปร่างกะทัดรัด สามารถซ่อนและติดตั้งได้มิดชิด (ช่องเย็นด้านหน้า) ถ้าจะกล่าวถึงจุดของตัวให้ความเย็น (Evaporator Unit) จะมีอุปกรณ์ต่างๆปกติจะมีติดมาเป็นชุด คือ

  1. Cooling Coil (ช่องเย็น)
  2. Thermostat (ตัวควบคุมอุณหภูมิ)
  3. switch and speed motor control (สวิตซ์ปิด-เปิดและควบคุมความเร็วของมอเตอร์)
  4. Motor and Blower (มอเตอร์พัดลมและใบพัด)
  5. Cooling case (โครงยึดชุดช่องเย็น)

ส่วนประกอบทั้ง 5 รายการ ปกติจะจัดไว้เป็นชุดแต่หากเกิดชำรุดขึ้นมาในบางชิ้นก็สามารถแยกชิ้นเพื่อเปลี่ยนได้ ดังนั้น Evaporator เป็นสถานที่ที่ให้น้ำยาเหลวมาเดือดส่วนที่รองรับหรือท่อทางนั้นก็คือ ทองแดงหรืออลูมิเนียมผสม (แข็งกว่าอลูมิเนียม) ช่องเย็นทุกแบบก็สร้างโดยอาศัยท่อทองแดงหรือลูมิเนียม การที่เครื่องจะเย็นจัด ทน ไม่ใช่เพราะช่องเย็นมีปัจจัยมากมาย เช่น ขึ้นอยู่กับการทำงานของเอ็กเพ็นชั่นวาล์ว คอยล์เย็นจะเป็นตัวลดอุณหภูมิของอากาศที่ผ่านและปรับระดับความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศที่ผ่านคอยล์เย็นออกมา อุณหภูมิของอากาศที่ผ่านคอยล์เย็นออกมา ควรอยู่ที่ประมาณ 70 องศาฟาเรนไฮต์ หรือประมาณ 21.11องศาเซลเซียส มีความชื้นสัมพัทธ์ 50% การที่จะให้ได้ตามความต้องการมีการเลือกตัวคอยล์เย็นมักจะฝังอยู่ภายในตู้เย็นแอร์เลย เมื่ออากาศผ่านคอยล์เย็นถ้าอุณหภูมิต่ำลงมากจนถึงจุดน้ำค้าง (ความชื้นสัมพัทธ์ถึง100%) ไอน้ำอากาศจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ดังนั้นตัวตู้แอร์เองจะต้องมีท่อน้ำทิ้งต่อออกไปทิ้งนอกรถและยังต้องยากันรั่วที่บริเวณตู้แอร์เพื่อกันไม่ให้น้ำหยดเข้ามาในรถได้

รีซีฟเวอร์ไดร์เออร์ ( Receive-Drier )[10]

เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อระหว่างคอนเดนเซอร์ (Condensor) กับ เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว( Expension Valve) ที่ติดตั้งทางด้านความดันสูง ทำหน้าที่ เป็นที่พักเก็บน้ำยาเหลว (Receiver)และกรองสิ่งสกปรกที่เจือปนมากับสารทำความเย็นซึ่งสิ่งเจือปนอาจจะเกิดจากการติดตั้งระบบทำความเย็นหรือเกิดการรั่วไหลของสารทำความเย็น ภายในรีซีฟเวอร์ไดร์เออร์มี Silica gel เพื่อดูดซับความชื้นก่อนจะปล่อยให้สารทำความเย็นผ่านเข้าไปยังเอ็กเพ็นชั่นวาล์ว และผู้ใช้งานสามารถดูปริมาณของสารทำความเย็นได้โดยการดูผ่านทางด้านบนของรีซีฟเวอร์ไดร์เออร์ เปลี่ยนสถานะของสารความเย็นจากของผสม (ของเหลวและก๊าซ) ให้เป็นของเหลว 100 % ดักจับความชื่้น

ส่วนประกอบของรีซีฟเวอร์ไดร์เออร์[11]

  1. ท่อทางเข้า ทำหน้าที่ ต่อกับท่อที่มาจากคอนเดนเซอร์
  2. แผ่นกรอง(Filter) ทำหน้าที่ กรองสิ่งสกปรกที่ติดมากับสารความเย็น
  3. สารดูดความชื้น(Desiccant) ทำหน้าที่ ดูดความชื้นออกจากสารความเย็น ซึ่งสารดูดความชื้นอยู่ในสถานะของแข็งทั่วไปทำมาจาก Silica gel หรือ Mobil gel
  4. ท่อรีซีฟเวอร์-ไดร์เออร์ (Receiver tube) หรือท่อส่งสารทำความเย็น (Pickup tube)ทำหน้าที่ ส่งสารความเย็นไปยังท่อทางออก
  5. กระจกมองสารความเย็น (Sight galss)ทำหน้าที่ ให้เราสามารถมองเห็นสารความเย็นไหลผ่านในระบบ (เป็นจุดเดียวที่เราสามารถเห็นสารความเย็นที่อยู่ในระบบ) ซึ่งบอกถึงปริมาณสารทำความเย็นมีมากน้อยเพียงใด
  6. ท่อทางออก ทำหน้าที่ ต่อกับท่อเพื่อส่งสารความเย็นไปยังเอ็กเพ็นชั่นวาล์ว
  7. ปลั๊กหลอมละลาย บางครั้งเรียกว่า “ โบลต์ละลาย ” ตัวโบลต์จะมีรูทะลุจากปลายถึงหัว โดยภายในจะมีตะกั่วพิเศษปิดรูไว้อยู่ ซึ่งปลั๊กหลอมละลายจะทำหน้าที่ปล่อยสารความเย็นออกจากระบบ (ตะกั่วจะละลาย) ในกรณีที่ความดันและอุณหภูมิด้านสูงมากเกินไป ( ความดันสูงถึง 30 bar ,427 psi อุณหภูมิ ที่ 95 -100 oC, 203-212 oF)
    ภาพแสดงส่วนประกอบของรีซีฟเวอร์ไดร์เออร์

จากรูปน้ำยาเหลวจะเข้ามาทางช่องท่อทางเข้า ซึ่งภายในจะประกอบด้วยตัวกรองสิ่งสกปรก และมีตัวดูดความชื้น (Desiccant) ฉะนั้นก่อนที่น้ำยาเหลวจะผ่านไปยังเอ็กเพ็นชั่นวาล์ว ก็จะผ่านตัวกรองสิ่งสกปรกและถูกดูดความชื้นเสียก่อน จากนั้นก็จะไปแสดงภาพของน้ำยาให้เห็นที่ช่องมองน้ำยา(กระจกมองสารความเย็น) ซึ่งในภาษาช่างเรียกว่า ตาแมว ตอนสุดท้ายถึงจะออกไปทางท่อทางออก นอกจากประโยชน์ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ตัวรีซีฟเวอร์-ไดร์เออร์ยังเป็นประโยชน์ต่อช่างในกรณีที่เครื่องทำงานแต่ให้ความเย็นน้อย ซึ่งเจ้าของเครื่องอาจจะตรวจดูก่อนที่จะถึงช่างก็ได้ เช่น ในกรณีเย็นน้อยเราสามารถเปิดช่องตาแมวดูซึ่งปกติจะอยู่ส่วนบนสุดของรีซีฟเวอร์-ไดร์เออร์ สังเกตได้ว่ามีแผ่นกรอบพลาสติกอุดอยู่เมื่อดึงออกจะเห็นเป็นแผ่นแก้วอยู่ภายใน ในกรณีนี้อาจจะมีการรั่วของน้ำยาเหลว ไหลเป็นฟอง(ถ้าเอาไฟฉายส่องจะเห็นได้ง่าย) ถ้าน้ำยารั่วออกไปมากจำนวนฟองก็ไหลมาก ในทางที่ดีเราควรเร่งเครื่องประมาณ 1,000-1,200 รอบ/นาที เพื่อจะได้ทราบแน่ชัดว่าการเป็นฟองของน้ำยาไม่ใช่เพราะเครื่องเดินช้าเกินไป นี่เป็นช่างหรือเจ้าของเครื่องสามารถตรวจความสมบูรณ์ของวงจรน้ำยาได้ไม่ยาก

อ้างอิง

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-13. สืบค้นเมื่อ 2014-11-29.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-11-29.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-27. สืบค้นเมื่อ 2014-11-29.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-11-29.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-07. สืบค้นเมื่อ 2014-11-29.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-07. สืบค้นเมื่อ 2014-11-29.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-22. สืบค้นเมื่อ 2014-11-29.
  8. http://anuchid_ma55.igetweb.com/articles/42061030/igetweb-คอนเดนเซอร์%20(condenser).html
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-23. สืบค้นเมื่อ 2014-11-30.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-07. สืบค้นเมื่อ 2014-12-01.
  11. http://anuchid_ma55.igetweb.com/articles/42061033/igetweb-รีซีฟเวอร์ดรายเออร์%20%28%20Receiver%20drier%20%29.html
  • สนอง อิ่มเอม. “เครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศรถยนต์”,หน้า.439.463,ประวัติเครื่องทำความเย็น

Read other articles:

عبد الله أحمد حسن معلومات شخصية الميلاد 29 يوليو 1981 (42 سنة)  كينيا  الطول 164 سنتيمتر  الجنسية كينيا قطر  الوزن 55 كيلوغرام  الحياة العملية المهنة منافس ألعاب قوى  الرياضة ألعاب القوى  تعديل مصدري - تعديل   عبد الله أحمد حسن واسم الولادة ألبرت تشيبكوروي (با...

 

ترافيس فولتون (بالإنجليزية: Travis Fulton)‏  معلومات شخصية الميلاد 29 مايو 1977  واترلو  الوفاة 10 يوليو 2021 (44 سنة) [1]  سيدار رابيدز  سبب الوفاة شنق[1]  الطول 183 سنتيمتر  الجنسية الولايات المتحدة  الوزن 104.4 كيلوغرام  المدرسة الأم ثانوية سيدر فولز  [لغات

 

px Dalam kalkulus, teorema Rolle pada dasarnya menyatakan fungsi terdiferensialkan dan kontinu, yang memiliki nilai sama pada dua titik, mestilah memiliki titik stasioner yang terletak di antara kedua titik tersebut. Pada titik stasioner ini, gradien garis singgung terhadap fungsi tersebut sama dengan nol. Versi standar Bila sebuah fungsi riil f kontinu pada selang tertutup [a, b], terdiferensialkan pada selang terbuka (a, b), dan f(a) = f(b), maka ada bilangan c dalam selang terbuka (a, b) s...

* الممارسات والمهارات والمعرفة المرتبطة بمجموعات إمزاد عند الطوارق.  التراث الثقافي اللامادي للإنسانية البلد * الجزائر، مالي - النيجر * وصف اليونسكو الرسمي تعديل مصدري - تعديل   شعار (رمز) التراث الثقافي الإنساني غير المادي إمزاد أو الإمزاد هي آلة موسيقية تقليدية عند...

 

Organization H. G. Wells in 1943. There have been two groups called the H. G. Wells Society, both set up to support the ideas of Herbert George Wells (1866–1946). 1930s group The first H. G. Wells Society was set up in 1934 to promote Wells' political ideas. Its members included Gerald Heard, Olaf Stapledon, Sylvia Pankhurst, Eden Paul[1] and Vera Brittain.[2] The group later changed its name to Cosmopolis, then the Open Conspiracy. In 1936, it merged with the Federation...

 

امتدت العلاقات بين فرنسا وأفريقيا لعدة قرون، إذ بدأت في العصور الوسطى، وكانت ذات تأثير كبير في كلا البلدين. الاستكشافات الفرنسية الأولى (القرن الرابع عشر-الخامس عشر) قال بعض المؤرخين إن التجار الفرنسيون من مدينتي دييب وروان النورمانديين تاجروا مع سواحل غامبيا والسنغال، و...

1927 film Children of DivorceTheatrical release posterDirected by Frank Lloyd Uncredited: Josef von Sternberg Written by Louis D. Lighton Hope Loring Alfred Hustwick (titles) Story byAdela Rogers St. JohnsBased onChildren of Divorceby Owen JohnsonProduced by Jesse L. Lasky E. Lloyd Sheldon Adolph Zukor Starring Clara Bow Esther Ralston Gary Cooper Einar Hanson Norman Trevor Cinematography Norbert Brodine Victor Milner Uncredited: James Wong Howe Edited byE. Lloyd SheldonProductioncompanyFamou...

 

ПамятникПамятник дюку де Ришельё 46°29′17″ с. ш. 30°44′28″ в. д.HGЯO Страна  Украина Местоположение Одесса и Приморский район Строитель В. П. Екимов Скульптор И. П. Мартос Архитектор А. И. Мельников и Ф. К. Боффо Строительство 30 июня 1827 — ...

 

قرية لج المكرمي  - قرية -  تقسيم إداري البلد  اليمن المحافظة محافظة حجة المديرية مديرية أفلح اليمن العزلة عزلة بني يوس السكان التعداد السكاني 2004 السكان 48   • الذكور 24   • الإناث 24   • عدد الأسر 4   • عدد المساكن 4 معلومات أخرى التوقيت توقيت اليمن (+3 غريني...

Species of snake Naja ashei Conservation status Least Concern (IUCN 3.1)[1] Scientific classification Domain: Eukaryota Kingdom: Animalia Phylum: Chordata Class: Reptilia Order: Squamata Suborder: Serpentes Family: Elapidae Genus: Naja Subgenus: Afronaja Species: N. ashei Binomial name Naja asheiWüster & Broadley, 2007[2] Naja ashei, commonly known as Ashe's spitting cobra or the giant spitting cobra, is a species of venomous snake in the family Elapidae. The sp...

 

Vehicular combat video game 2001 video gameThe Simpsons: Road RageNorth American PlayStation 2 cover artDeveloper(s)Radical Entertainment[a]Publisher(s)Electronic Arts[b]Director(s)James Vlad CeraldiProducer(s)John MelchiorCam WeberMatt McKnightDesigner(s)Carey Du GrayProgrammer(s)Joel DeYoungDarren EsauArtist(s)Yayoi MarunoGlen SchulzWriter(s)Tim LongMatt SelmanComposer(s)Christopher Tyng Tomoyoshi Sato (GBA)SeriesThe SimpsonsPlatform(s)PlayStation 2XboxGameCubeGame Boy Advan...

 

2019 film The Tomorrow ManTheatrical release posterDirected byNoble JonesWritten byNoble JonesProduced by Nicholas Bertelsen Tony Lipp James Schamus Luke Rivett Starring John Lithgow Blythe Danner Derek Cecil Katie Aselton Sophie Thatcher Eve Harlow CinematographyNoble JonesEdited byZimo HuangMusic byPaul Leonard-MorganProductioncompanies Symbolic Exchange Anonymous Content Distributed byBleecker StreetRelease dates January 30, 2019 (2019-01-30) (Sundance) May 22, ...

American air racer Steve HintonHinton in 2013Born1 April 1952China Lake, CaliforniaKnown forAir RacingSpouse Karen Hinton (née Maloney) ​ ​(m. 1980)​[1] Steve Hinton is an American aviator who held a world speed record from 1979 to 1989 and won six Unlimited-class air races, including two national championships.[2] He won four consecutive Unlimited races in one year.[3] He retired from racing in 1990. Biography On August 14, 197...

 

For other ships with the same name, see USS Belmont. USS Belmont underway in the late 1960s History NameSS Iran Victory NamesakeIran OwnerWar Shipping Administration OperatorPacific-Atlantic Steamship Company Port of registry Portland, Oregon BuilderOregon Shipbuilding Company, Portland, Oregon Yard number1010 Laid down25 January 1944 Launched24 March 1944 Completed4 May 1944 FateTransferred to U.S. Navy February 1963, as USS Belmont United States NameUSS Belmont AcquiredFebruary 1963 Commiss...

 

Artikel ini sebatang kara, artinya tidak ada artikel lain yang memiliki pranala balik ke halaman ini.Bantulah menambah pranala ke artikel ini dari artikel yang berhubungan atau coba peralatan pencari pranala.Tag ini diberikan pada Desember 2022. Cintaku AbadiAlbum studio karya Ermy KullitDirilis1983GenrePopLabelGranada RecordsKronologi Ermy Kullit Aku Jatuh Cinta (1983)Aku Jatuh Cinta1983 Cintaku Abadi (1983) Pesona (1984)Pesona1984 Cintaku Abadi merupakan album musik utama karya Ermy Kul...

Pour les articles homonymes, voir Chauffeur. Chauffeurs de pâturons Les chauffeurs « au travail », gravure de 1862 Nombre de membres plusieurs bandes indépendantes Activités criminelles effraction, vol, torture, meurtre modifier  « Les « chauffeurs » d’aujourd’hui.Comment procédaient les bandits de la Drôme. »Le Petit Journal. 15 novembre 1908. Les « chauffeurs de pâturons » (en argot, « brûleurs de pieds ») ou simpl...

 

Полово́е созрева́ние, также пуберта́тный период или пуберта́т (от лат. pubertas — «возмужалость, половая зрелость») — процесс изменений в организме подростка, вследствие которых он становится взрослым и способным к продолжению рода. Период полового созревания у че...

 

Hugh HuntLahir(1902-03-08)8 Maret 1902Memphis, TennesseeMeninggal1 September 1988(1988-09-01) (umur 86)Nama lainHugh B. HuntPekerjaanDekorator setTahun aktif1935 - 1970 Hugh Hunt (8 Maret 1902 – 1 September 1988)[1] adalah seorang dekorator set Amerika. Ia memenangkan dua Academy Award dan dinominasikan sebanyak sebelas kali dalam kategori Pengarahan Seni Terbaik.[2] Filmografi pilihan Hunt memenangkan dua Academy Awards untuk Pengarahan Seni Te...

Open source modular construction model This article has multiple issues. Please help improve it or discuss these issues on the talk page. (Learn how and when to remove these template messages) This article needs additional citations for verification. Please help improve this article by adding citations to reliable sources. Unsourced material may be challenged and removed.Find sources: OpenStructures – news · newspapers · books · scholar · JSTOR (Decemb...

 

Pay toof JalilKawasan di IranNegara IranZon waktuUTC+3:30 (IRST) • Musim panas (DST)UTC+4:30 (IRDT) Pay Toof Jalil merupakan sebuah kawasan yang terletak di Iran. Rujukan Rencana ini ialah rencana tunas. Anda boleh membantu Wikipedia dengan mengembangkannya.lbs Jika anda melihat rencana yang menggunakan templat {{tunas}} ini, gantikanlah ia dengan templat tunas yang lebih spesifik.

 

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!